เสาเฉลียง ตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยไผ่
อำเภอโขงเจียม
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 217 จากจังหวัดอุบลราชธานี
ไปอำเภอพิบูลมังสาหาร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 2222 ไปอำเภอโขงเจียม
จากอำเภอโขงเจียมใช้เส้นทางสาย 2134 (โขงเจียม - ศรีเมืองใหม่)
ประมาณ 5 กิโลเมตร แยกขวา เข้าเส้นทางสาย 2112 อีกประมาณ 9
กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปผาแต้ม จะถึงเสาเฉลียงประมาณ 1.5
กิโลเมตรก่อนถึงผาแต้ม
ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุบลราชธานี
เสาเฉลียงเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
สืบเนื่องมาจากกระบวนการกัดเซาะและกัดกร่อนด้วยอิทธิพลของน้ำและลม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการสึกกร่อนโดยแม่น้ำหรือธารน้ำไหลกัดเซาะเป็นเวลาชั่วนาตาปี
เกิดขึ้นในชั้นหินที่วางตัวอยู่ในแนวราบหรือเกือบราบและในแต่ละชั้นมีส่วนประกอบของแร่ที่แตกต่างกัน
จึงทำให้มีความแข็งและทนทานที่ไม่เหมือนกัน
ประติมากรรมชิ้นเอกร่วมกันของหินทราย
2 ยุค คือ หินทรายยุค ครีเตเซียส ซึ่งมีอายุประมาณ 130 ล้านปี
เป็นส่วนดอกเห็ดอยู่ท่อนบน และหินทราย ยุคไดโนเสาร์ มีอายุประมาณ
180 ล้านปี เป็นส่วนต้น
เสาหินท่อนล่างโดยผ่านการถูกชะล้างพังทลายอันเกิดจากสภาพอากาศ
ฝนและลมพายุเป็นเวลาหลายล้านปี
ซึ่งคุณสมบัติทางธรณีวิทยาของหินทรายนั้นง่ายต่อการสึกกร่อนกว่าหินชนิดอื่นที่จัดอยู่ในกลุ่มหินชึ้นเดียวกัน
และเมื่อผ่านการสึกกร่อนไปได้ระยะหนึ่งก็มีสิ่งที่เรียกว่า
กระบวนการต้านทานทางธรรมชาติ
และแรงกดทับของเม็ดฝนทำให้หินทรายแข็งยิ่งขึ้น
เป็นผลให้สามารถรักษาสภาพให้คงรูปได้ดังที่เห็นอยู่ในรูปข้างๆนี้
"เสาเฉลียง"
แผลงมาจาก "สะเลียง"
แปลว่า "เสาหิน" |