เปิด 08.00-16.30 น.
ไทยทัวร์แนะนำให้นักท่องเที่ยวพักเหนื่อยพร้อมเรียนรู้ข้อมูลอุทยานฯก่อนเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ
ศูนย์บริการฯอยู่ใกล้ลานจอดรถ และลานผาแต้ม
เป็นอาคารปูนชั้นเดียว มีห้องโถงจัดแสดงภูมิประเทศของ อุทยานฯ
และสัตว์ป่า มีรูปภาพสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง เช่น น้ำตก
ลานดอกไม้ จำหน่ายของที่ระลึก
ด้านหลังเป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขงที่สวยงาม
เราสามารถของแผนที่เดินเท้าไปชมภาพเขียนสีโบราณได้
อย่างน้อยก็รู้ว่าเราเองสามารถเดินไปชมได้มากน้อยแค่ไหน
เพราะภาพเขียนสีโบราณแต่ละจุดไม่ใกล้กันเลย
เราควรศึกษาแผนที่ก่อนเดินทาง
แผนที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
|
|
-----------------------------------------
|
|
ระวังผึ้ง ขณะที่กำลังเดินเพลิน
|
|
|
|
ช่องเบี่ยดสาว
|
|
|
ต้นมะนาวผี
|
|
|
|
กล้วยไม้ป่า สกุลเอื้อง
|
|
|
|
|
ทางไปผาหมอน
|
|
|
|
|
ทางเดินไปชมภาพเขียนกลุ่มต่างๆ
|
|
|
ทางเดิน
|
|
|
ต้องระวังหินหล่น เนื่องจากนักท่องเที่ยวที่อยู่ข้างบน ชอบปาหินตรงหน้าผาขามและผาแต้ม จึงมีป้ายเตือนนักท่องเที่ยวที่เดินอยู่ข้างล่าง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
จุดชมวิวหน้าผาขาม
|
|
|
|
ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ กลุ่มที่
1(ผาขาม)
หรือ ศิลปะถ้ำ คือ
ศิลปะหรือภาพที่เกิดจากการวาด/เขียนเป็นสี และทำรูปรอยลงบนพื้นหิน
มักพบตามถ้ำเพิงผา ผนังหิน ก้อนหิน ที่มักเรียกรวมๆ กันไปว่าถ้ำ
จึงมักเรียกงาน ภาพเขียนถ้ำนี้ว่าศิลปะถ้ำ
ศิลปะถ้ำที่สร้างขึ้นด้วย 2 เทคนิคใหญ่ๆ คือ 1. การลงสี
หรือการสร้างภาพด้วยสีในวิธีต่างๆ เช่น วาดด้วยสีแห้ง เขียน
หรือระบายเป็นรูป พ่นสี สะบัดสี การทาบหรือทับ 2.
การทำรูปรอยลงในหิน มีวิธีต่างๆ เช่น ฝน จาร ขูดขีด แกะหรือ ตอก
ฯลฯ การใช้สีที่พบในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป้นสีแดง
จะสัมพันธ์กับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตาย
เพราะตามแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในประเทศไทยมักจะเป็นสีแดง
หรือสิ่งของสีแดง
ในหลุมฝังศพงานศิลปะที่ผาแต้มจึงอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตายของผู้ตายในสมัยนั้น
ภาพเขียนสีในอุทยานแห่งชาติผาแต้มที่พบ และเป็นที่รู้จัก
มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีกลุ่มภาพเขียน ทั้งหมด 4 กลุ่ม
ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชื่อว่า "ศิลปะถ้ำ" สีที่คนในยุคนั้นใช้
จะเป็นสีจากแร่ชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า เฮมาไทด์ หรือ หินเทศ
ภาษาพื้นบ้านเรียกชหินชนิดนี้ว่า ดินลูกรัง
ที่จริงแล้วก็คือหินทรายชนิดหนึ่ง มีชื่อหลักว่า หินทรายแดง
จะพบได้ทั่วไปในพื้นที่ประเทศไทย และจะพบมากในพื้นที่ภาคอีสาน
ซึ่งเต็มไปด้วยภูเขาหินทราย หินทรายแดง
ประกอบด้วยอนุภาคดินทรายแป้งที่มีความละเอียดมา มีสีเทาปนแดง
แร่ที่เป็น องค์ประกอบหลักคือแร่ควอตร์ และแร่เหล็กที่เรียกว่า
เฮมาไทด์ (HEMATITE) ภาพเขียนกลุ่มที่ 1
นี้เป้นกลุ่มภาพเขียนสีจุดแรกที่อยู่ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติศิลปะถ้ำ
อยู่ด้านใต้หน้าผาของผาขามมีความสูงจากยอดเขาถึงทางราบแนวหน้าผา
260 เมตร ภาพเขียนสีกลุ่มที่ 1 นี้
อาจจะมองเห็นไม่ชัดเจนมากนักต้องสังเกตตามผนังหิน
จะปรากฏภาพที่ระบายด้วยสีแดงออกคล้ำคล้ายสีน้ำหมาก ภาพที่ปรากฏคือ
ภาพปลา ภาพสัตว์ 4 เท้า ที่ค่อนข้างเลือน จำนวน 1 ตัว คือ ภาพช้าง
โดยมีเส้นตั้ง เส้นเฉียง และเส้นนอน วาดทับบนรูปภาพเหล่านั้น
ลักษณะของภาพปลา จะเป็นการแสดงภาพแบบโครงสร้างภายใน
หรือเรียกว่าภาพเอกซเรย์ ขนาดของภาพ จะแตกต่างกันไป |
|
ภาพเขียนสีกลุ่มที่ 2 ผาแต้ม
เป็นภาพเขียนสีกลุ่มที่ใหญ่อยู่ห่างจากเขียนกลุ่มผาขาม 300 เมตร
ภาพเขียนสีในจุดนี้ เป็นกลุ่มภาพเขียนสีที่มีขนาดใหญ่ และ ยาวถึง
180 เมตรมีหลากหลายแบบทั้งภาพคน สัตว์ และอื่นๆ กว่า 300 ภาพ
ปะปนกัน บางภาพก็ซ้อนทับกันอยู่ ภาพที่พบในจุดนี้จะมีลักษณะ
สามารถแยกประเภทได้ชัดเจนใช้สีแดงเป็นส่วนใหญ่
มีการใช้เทคนิคทั้งการลงสี
และการทำรูปรอยลงในเนื้อหินลักษณะเด่นของกลุ่มภาพเขียนสีที่ผาแต้มนี้จะเป็นภาพของฝ่ามือมนุษย์
แบบทึบ และแบบโปร่ง ภาพสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เห็นได้ชัดเจนว่า
เป็นทั้งสัตว์บก และสัตว์น้ำ ภาพเขียนที่เป็นสัตว์บก เช่น ช้าง วัว
หมา และภาพเขียนสีที่เป็นสัตว์น้ำ เช่น เต่าหรือตะพาบ
ปลาบึก(ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่พบในลำน้ำโขง)
ลักษณะของการวาดภาพมีทั้งการวาดโครงร่าง และการระบายสีทึบ
ภาพสัตว์ต่างๆ
ที่ปรากฏอยู่นี้ควรเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในยุคนั้น
การสร้างภาพเขียนสีสร้างโดย 2 เทคนิคใหญ่ๆ คือ
1. การลงสี (Pictograph)
หรือการสร้างภาพด้วยสี ในวิธีต่างๆ เช่นวาดด้วยสีแห้ง(Drawing
Withdraw Pigment) เขียนหรือ ระบายเป็นรูป (Painting) พ่นสี
(Stenciling) สะบัดสี (Paint Splattering) การทาบหรือทับ
(Imprinting)
2. การทำรูปรอยลงในหิน มีวิธีต่างๆ เช่นฝน จารขูดขีด แกะหรือ ตอก
ฯลฯ
การใช้สีที่พบจะเป็นสีแดงจะสัมพันธ์กับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตาย
เพราะตามแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในประเทศไทย มักจะพบสีแดงหรือสิ่งของ
สีแดงในหลุมฝังศพงานศิลปะที่ผาแต้ม
จึงอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตายของผู้ตายในสมัยนั้นภาพเขียนสีในอุทยานแห่งชาติผาแต้มที่พบและมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทยมีทั้งหมด
4 กลุ่มตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติชื่อว่าศิลปะถ้ำ
สีที่คนในยุคโบราณมักใช้ในการวาดคือ หินเทศ ที่จริงแล้วก็คือ
หินทราย ชนิดหนึ่ง มีชื่อหลักว่าหินทรายแดง
จะพบได้ทั่วไปในพื้นที่ประเทศไทย
และจะพบมากในพื้นที่ภาคอีสานซึ่งเต็มไปด้วยภูเขาหินทราย
หินทรายแดงจะประกอบด้วยอนุภาคดินทรายแป้งที่ความละเอียดมาก
สีเทาปนแดง
แร่ที่เป็นองค์ประกอบหลักคือแร่ควอตร์และแร่เหล็กที่เรียกว่า
hematite คนในยุดก่อนรู้จักนำเอาหินทรายแดงมาใช้
ประโยชน์โดยเฉพาะตามแหล่งภาพเขียนสีโบราณจะพบว่ามีการนำเอาหินทรายแดงหรือหินเทศมาใช้เป็นวัตถุดิบในการวาดภาพตามผนังถ้ำ
ตามหน้าผา หรือวาดลงบนเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ |
ภาพเขียนชุดที่ 2
|
ภาพเขียนสีกลุ่มที่ 3
ผาหมอนล่าง
ห่างจากจุดที่ 2 ประมาณ 700 เมตร
หรือเราอาจเดินกลับทางเดิม แล้วนั่งรถย้อนมาทางเสาเฉียง
สู่ผาหมอนก็ได้ รถจอดได้ใกล้ศาลาแล้วเดินลงสู่ กลุ่มภาพเขียนที่ 4
และ 3 ตามลำดับ คำว่าผาหมอน
เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกเพิงผาหินแห่งนี้
เนื่องจากว่ามีหินขนาดใหญ่ 2 ก้อน เรียงคู่กัน
อยู่บริเวณหน้าผาชั้นบน (ถ้ำผาหมอน)
ซึ่งถ้ามองจากด้านล่างขึ้นมาจะเห็นก้อนหินทั้งสองคล้ายหมอนหิน 2 ใบ
วางเรียงอยู่ จากลักษณะของหินที่คล้ายหมอนหินดังกล่าว
จึงเป็นที่มาของชื่อ "ผาหมอน"
ที่ชาวบ้านใช้เรียกขานมาหลายชั่วอายุคนตราบจนทุกวันนี้
ภาพเขียนในกลุ่มที่ 3 และ 4 นี้ได้แก่ ภาพคน
ภาพสัตว์ ภาพวาดลายเส้น และภาพฝ่ามือ เป็นต้น |
ภาพเขียนชุดที่ 3
|
ภาพเขียนสีกลุ่มที่
4 ผาหมอนบน
ห่างจากภาพเขียนกลุ่มที่ 3 ประมาณ
300 เมตรระยะทางเดิน
แต่ทางเดินแคบและชันไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่จะเดินตามไปด้วย
ค่อนข้างอันตราย
แต่เป็นระยะที่เราสามารถเห็นภาพเขียนแค่เอื้อมมือถึง
ภาพเขียนกลุ่มนี้อยู่บนแนวก้อนหินเดียวกับกลุ่มี่ 3 แต่อยู่ด้านบน
ต้องเดินผ่านช่องเบียดสาว (ช่องทางเดินแคบระหว่างหิน 2 ก้อน)
ภาพเขียนชุดที่ 4
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภาพเขียนอยู่แค่เอื้อม
|
|
|
|
|
บางช่วงต้องมีมุดหรือปีนป่ายบ้าง
|
|
|
ทางเดินแคบและอันตรายมาก
|
|
|
|
|
|