|
หมู่บ้านร่องฟอง |
เป็นหมู่บ้านผลิตเครื่องมือเกษตรที่ทำจากเหล็ก
เช่น จอบ เสียม มีด พร้า เคียว ชมวิธีการตีเหล็ก
และการทำผลิตภัณฑ์จากผ้าร่ม การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 101 (สายแพร่-น่าน)
ประมาณ 4 กม.แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 1101
จะพบป้ายบอกทางเข้าหมู่บ้าน
ดั่งเดิมหมู่บ้านร่องฟองเป็นชาวไทยใหญ่
ชาวบ้านตั้งหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ที่
ที่มีห้วยน้ำไหลผ่านหมู่บ้าน
ห้วยน้ำนั้นถูกเรียกชื่อว่าห้วยฮ่องฟอง ซึ่งคำว่า ฮ่องฟอง
เป็นภาษาพื้นเมือง
ที่บรรพบุรุษได้ตั้งชื่อไว้เนื่องมาจากเมื่อถึงฤดูฝน
จะมีน้ำไหลลงมาจากภูเขาด้านตะวันออก
น้ำที่ไหลลงมาจะกระทบกับโขดหินตามลำห้วย
แตกกระเซ็นเป็นฟองเต็มลำห้วยทุก ๆ ปี จึงเรียกชื่อลำห้วยนี้ว่า
ห้วยร่องฟอง และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของลำห้วยแห่งนี้
บรรพบุรุษจึงตั้งรกรากตามแนวลำห้วย
และเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ตามชื่อของลำห้วยว่า หมู่บ้านร่องฟอง
ตั้งแต่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2401 จนถึงปัจจุบัน
ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่ที่ 3 ของตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่
จังหวัดแพร่ มีประชากรประมาณ 30 กว่าหลังคาเรือน
โดยมีบ่หลักเสนา เสนาธรรม
เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านร่องฟอง (ผู้ใหญ่บ้านแต่เดิมเรียก
บ่หลัก)อาชีพหลักคือการเกษตร
อาชีพเสริมคือรับจ้างเย็บผ้าที่ตำบลทุ่งโฮ้ง
นอกจากนี้ยังมีอาชีพทำล้อเกวียนจำหน่าย
เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนในขณะนั้น
ต่อมามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้น
จึงหันมาเปลี่ยนจากการรับจ้างเย็บผ้าและรับจ้างตีเหล็กจากตำบลทุ่งโฮ้ง
มาทำโรงงานตีเหล็กและเย็บผ้ากันเองที่หมู่บ้านร่องฟอง
ในสมัยก่อนยังมีในการประกอบอาชีพตีเหล็กและเย็บผ้าน้อย
บางครัวเรือนจึงรวมทุนกันทำโดยใช้แรงงานในครัวเรือนและบรรดาญาติพี่น้องเป็นหลัก
ยังไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยจึงใช้แรงงานคนในการทำงาน เช่น
การตีหุ่นมีด , การสูบลมเป่าไฟ ,
การลับและขัดมีดให้มีความขาวคม
และทำการเผาถ่านเองเพื่อเป็นวัตถุดิบในการเผาเหล็ก
ต่อมาการบริหารงานของฝ่ายปกครองมีความสามัคคี
ประชากรมีความเข้มแข็ง
ประกอบกัปเพื่อการได้มาซึ่งงบประมาณมาพัฒนาชุมชนอย่างเป็นเอกเทศ
เพื่อความเจริญในหลาย ๆ ด้าน จึงมีการแยกหมู่บ้าน
ออกเป็นห้าหมู่บ้าน และสถาปนาตนเองตั้งเป็นตำบลร่องฟองขึ้น
ตำบลร่องฟอง เป็นตำบลเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือน
มีอาชีพหลักตีเหล็กและเย็บผ้า ส่วนด้านการเกษตรเป็นอาชีพเสริม
โดยรวมแล้วประชาชนภายในตำบลร่องฟองผู้ชายจะตีเหล็ก
ผู้หญิงจะเย็บผ้า สามารถสร้างรายได้ภายในครอบครัวตลอดทั้งปี
จึงมีสโลแกนด์ว่า ชายตีเหล็ก หญิงเย็บผ้า นำหน้าเศรษฐกิจ
พิชิตความจน ชุมชนให้ความร่วมมือ
ตำบลร่องฟองอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2547 มีประกาศจากกระทรวงมหาดไทย
เรื่องการยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล
สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีประชากรไม่ถึงเกณฑ์
ให้ยุบรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลใกล้เคียงที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกันตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตตำบลนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 จัตวา
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5)
พ.ศ.2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จึงประกาศยุบองค์การบริหารส่วนตำบลโดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบล
ดังนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำชำ รวมกับ
องค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
และเรียกชื่อว่าองค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง ประกาศ ณ วันที่
6 เดือนกันยายน พ.ศ.2547
ดังนั้นตำบลน้ำชำจึงอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง
ตำบลน้ำชำมี 4 หมู่บ้าน อาชีพหลักทำการเกษตร
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์คือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
ยี่ห้อ อิ่มทิพย์
เกิดจากภูมิปัญญาและการรวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้านตำบลน้ำชำ
โดยมีตลาดรองรับอยู่ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดแพร่ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลน้ำชำคือวนอุทยานแพะเมืองผี
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีตำนานอันลึกลับมาเป็นเวลายาวนาน
มีนักท่องเที่ยวมาแวะเยี่ยมชมความสวยงามตลอดทั้งปี
สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้ชาวบ้านได้
|
|
|
|
|
|
|