|
หมู่บ้านรักไทย
หมู่บ้านรักไทย เป็นอีกหมู่บ้านชายแดนที่บรรยากาศดี
น่าไปเที่ยว เป็นหู่บ้าน บ้านสุดท้ายบนเขาชายแดนไทย-พม่า
ชาวบ้านเป็นจีนฮ่อ อดีตทหารจีนกองพล93 กลุ่มเดียวกับดอยแม่สลอง
อยู่ห่างจากแม่ฮ่องสอนไป 44 กิโลเมตร
ผ่านน้ำตกผาเสือขึ้นเขาทางราดยาง ที่นี่วิวสวย อาหารจีนยูนานอร่อย
และมีรสชาติเยี่ยม
ที่ตั้ง : หมู่บ้านรักไทยตั้งอยู่บนเขาเป็นหมู่บ้านชายแดนไทยทางทิศเหนือ
เขตอำเภอเมือง
|
|
การเดินทาง : จากน้ำตกผาเสือขับรถขึ้นเขาต่อไปอีก เส้นทาง
"สายหมอก จำแป๋-นาป่าแปก-บ้านรักไทย (แม่ออ)" ถนนราดยาง
แต่ทางแคบและสูงชันระยะทางจากหมู่บ้านรักไทยไปแม่ฮ่องสอน 44
กิโลเมตร
รายการเที่ยวหมู่บ้านรักไทยนี้
น่าจะรวมกับการเที่ยวน้ำตกผาเสื่อเพราะอยู่ทางเดียวกัน
หลังจากชมน้ำตกเสร็จแล้ว
เดินทางขึ้นเขาต่อไปและตำหนักปางตองสักครู่แล้วมุ่งหน้าขึ้นเขาไปหมู่บ้านรักไทยต่อ
เส้นทางสายนี้ค่อนข้างเงียบบรรยากาศดี ลมเย็นอากาศสดชื่น
สองข้างทาง เป็นป่าร่มรื่นไม่มีบ้านคน ไม่มีร้านค้า
และไม่มีปั๊มน้ำมัน หมู่บ้านรักไทยนี้เป็นหมู่บ้านบนเขา
เป็นหมู่บ้านสุดท้ายก่อนเข้าชายแดนพม่า และประชากรเป็นชาวจีนฮ่อ
ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับดอยแม่สลองต่างล้วนเป็นอดีตทหารจีนกองพล 93
ที่อพยพหนีภัยการเมือง
ทางตอนใต้ของจีนช่วงจีนเปลี่ยนระบบการปกครองเป็น คอมมิวนิสต์
ชาวจีนฮ่อบางส่วนอยู่ที่ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย
บางส่วนอพยพพม่าแม่ฮ่องสอนอยู่ที่อำเภอปายบ้าง อำเภอปางมะผ้าบ้าง
และที่อำเภอเมือง ดังนั้นรูปแบบการท่องเที่ยวหมู่บ้านรักไทย
จึงคล้าย ๆ กับการท่องเที่ยวดอยแม่สลอง คือ
ชมทิวทัศน์และชิมอาหารอร่อย ดื่มชารสเยี่ยม
จุดเด่นของหมู่บ้านนี้มีทั้งทิวทัศน์และอาหาร เอาอย่างนี้
ท้องอิ่มก่อนค่อยเที่ยว
-อาหารจีนตำรับยูนาน หลายร้านจะมีป้ายเชิญชิม เมนูที่ขึ้นชื่อเช่น
ขาหมูกินกับหมั่วโถว อากาศหนาว ๆ
ได้ไขมันจากขาหมูจิ้มน้ำส้มเปรี้ยว ๆ ตามด้วยหมั่นโถวอร่อยไม่หยอก
นอกนั้นยังมีไข่ม้วน, ซูหลู่, ชิงจังและยังมีเห็ดหอม ผักต่าง ๆ
ที่ปลูกกันเองในบริเวณหมู่บ้าน
-ชิมชารสเยี่ยม ชาวจีนฮ่อหมู่บ้านรักไทย มีอาชีพหลักคือ ปลูกชา
และเพื่อสร้างชื่อจึงปลูกแต่ชาพันธ์ดี คัดเลือกมาจากประเทศใต้หวัน
เช่น พันธุ์ชิงชิง อู่หลง ฯลฯ
ชิมรสไหนชอบรสนั้นซื้อหากลับบ้านได้ขายทั้งแบบถุงเล็ก ถุงใหญ่
หรือจะซื้อเป็นกิโลกรัมก็ได้ การชิมชาตามร้านค้าต่าง ๆ
จะอร่อยยิ่งขึ้นเพราะบรรยากาศให้จากความหนาวเย็นของอากาศ
และนั่งชิมบนเก้าอี้หน้าโรงเตี้ยม ที่ทำจากดินเหนียวผสมฟาง
ชาวบ้านบอกว่ากันลมหนาวได้ดีนัก แถมแข็งแรงดีด้วย |
|
|
|
|
|
|
|
|