ในอดีตกว่า 170 ปี
บริเวณที่เรียกว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เป็นดินแดนแห่งภูเขาและป่าทึบ
อุดมไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่านานาชนิดเป็นบริเวณกว้างใหญ่ ติดต่อกับประเทศเมียนม่าร์
และได้มีกลุ่มชนที่เรียกว่า "ชาวไต"
ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในดินแดนทางตอนเหนือของประเทศเมียนม่าร์ในเขตรัฐฉาน
ได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาสู่ดินแดนของประเทศไทย
ประมาณ พ.ศ.2374
ในแผ่นดินรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดี เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้โปรดให้
"เจ้าแก้วเมืองมา"
เดินทางไปสำรวจและจับช้างป่าในบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน "
เจ้าแก้วเมืองมา" ได้พบชัยภูมิแห่งหนึ่ง ทางทิศใต้ริมฝั่งแม่น้ำปาย ซึ่งทำเลดี
มีน้ำท่าบริบูรณ์ มีหมูป่ามากินดินโป่งชุกชุม จึงหยุดพักไพร่พล
แล้วรวบรวมชาวไทยใหญ่ที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณนั้นเข้ามาตั้งหลักแหล่งเป็นหมู่บ้านขึ้น
แล้วตั้งชื่อว่า "บ้านโป่งหมู" (ในปัจจุบันคือบ้านปางหมู)
โดยแต่งตั้งชาวไทยใหญ่ ชื่อ "ผะกาหม่อง" เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน
จากนั้น เจ้าแก้วเมืองมา
จึงได้เคลื่อนขบวนลงมาทางใต้จนถึงลำห้วยแห่งหนึ่งพบรอยเท้าช้างป่ามากมาย
จึงได้หยุดตั้งค่ายไพร่พลเพื่อคล้องช้างป่า
และสร้างคอกพักช้างอยู่บริเวณลำห้วยนี้
ขณะเดียวกันก็ได้รวบรวมผู้คนเข้ามาตั้งเป็นหมู่บ้านและให้ชื่อว่า
"บ้านแม่ร่องสอน"
ต่อมาคำว่า"ร่อง" มีการออกเสียงเพี้ยนไปตามสำเนียงไทยใหญ่
เป็น"ฮ่อง" จึงเรียกกันต่อๆมาตามสำเนียงชาวไทยใหญ่ว่า
"บ้านแม่ฮ่องสอน" แล้วตั้งบุตรเขยของ "นายผะกาหม่อง" ชื่อ "นายแสนโกม"
เป็นหัวหน้าปกครองดูแลผู้คนสืบมา
ต่อมานายผะกาหม่องและนายแสนโกม คิดจะหาเงินมาทำนุบำรุงบ้านเมือง
จึงขออนุญาตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เพื่อตัดไม้สักไปขาย ยังประเทศเมียนม่าร์
นำเงินมาทำนุบำรุงบ้านเมือง และส่งไปให้เจ้านครเชียงใหม่ทุกปี
ตั้งแต่นั้นมาหมู่บ้านโป่งหมูและบ้านแม่ฮ่องสอน ก็ค่อยๆ
เจริญมั่งคั่งขึ้นตามลำดับ ประจวบกับเกิดจราจลขึ้นในเมืองไทยใหญ่ฝั่งพม่า
ทำให้ราษฏรไทยใหญ่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยที่หมู่บ้านแม่ฮ่องสอนเป็นจำนวนมาก
ในจำนวนนี้มีชายหนุ่มชื่อ "ชานกะเล" อยู่ด้วย
ในปี พ.ศ.2409
ได้เกิดจราจลในเมืองไทยใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
เมื่อเจ้าฟ้าเมืองนาย ได้เกิดวิวาทกับ เจ้าฟ้าโกหล่าน
ผู้ครองเมืองหมอกใหม่และเจ้าฟ้าโกหล่าน
ได้อพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านแม่ฮ่องสอน
ต่อมาเจ้ากาวีโรรสสุรีย์วงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
สั่งให้นายแสนโกมนำตัวเจ้าฟ้าโกหล่านไปเข้าเฝ้า
แต่เจ้าฟ้าโกหล่านได้ส่งบุตรชายชื่อ"บุนหลวง"ไปแทน
และต่อมา"บุนหลวง" ผู้นี้ได้เป็นบุตรเขยเจ้าฟ้ากาวีโรรส
ส่วนเจ้าฟ้าโกหล่านก็ได้อาศัยอยู่กับนายแสนโกมที่บ้านแม่ฮ่องสอนเช่นเดิม
และต่อมาเจ้าฟ้าโกหล่าน ได้ยกหลานสาวชื่อ"นางเมี๊ยะ" ให้แก่
ชานกะเล และยก"นางนุ" หลานสาวคนโตให้กับ "นายปู่โท" คนสนิท
ซึ่งต่อมานายปู่โท ได้อพยพผู้คนไปตั้งบ้านเมืองแห่งใหม่ ชื่อบ้าน "กุ๋นยวม"
หมายถึง "บ้านที่มีต้นไม้ยมมาก" ปัจจุบันคืออำเภอขุนยวม คำว่า "ขุน" หมายถึง
"ต้นแม่น้ำ" ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำยวมอีกความหมายหนึ่ง
ต่อมา บุนหลวง
บุตรชายเจ้าฟ้าโกหล่าน ซึ่งได้เจ้าอุบลวรรณธิดาเจ้ากาวีโรรสสุรีย์วงศ์
เป็นภรรยา ได้ลาเจ้ากาวีโรรสกลับไปเยี่ยมบิดาและ
ญาติที่บ้านแม่ฮ่องสอน ระหว่างทางได้เกิดวิวาทกับผู้รักษาเมืองปาย ชื่อ
"อูกีสิริ" อูกูสิริ จึงหาเรื่องทูลเจ้ากาวีโรรสว่า
เจ้าฟ้าโกหล่านคบคิดกับบุนหลวงและชานกะเล ขบถจะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่
เจ้ากาวีโรรสจึงยกทัพไปปราบปรามถึงบ้านแม่ฮ่องสอน เจ้าฟ้าโกหล่านและบุนหลวง
จึงหลบหนีข้ามแม่น้ำสาละวินไปอยู่ยังเมืองหมอกใหม่ ประเทศเมียนม่าร์
ส่วนชานกะเลกับขุนโท้ได้ออกมาสวามิภักดิ์
และถูกนำตัวไปกักขังไว้ที่เมืองเชียงใหม่ เป็นเวลา 2 ปี
ส่วนเจ้าฟ้าโกหล่าน
มีความโกรธแค้น อูกีสิริ ผู้รักษาเมืองปายเป็นอันมาก
จึงยกกองทัพมาตีเมืองปายและฆ่าผู้คนตายเป็นจำนวนมาก
อูกีสิริ ได้หลบหนีเข้าป่าหายไป
เมื่อได้เมืองปายแล้วเจ้าฟ้าโกหล่านได้ยกทัพจะไปตีเมืองเชียงใหม่
แต่ถูกเจ้าบุรีรัตน์หรือเจ้าอินทร์วิชยานนท์แห่งเมือง เชียงใหม่
ตีแตกสลายไปไม่ได้กลับมาที่แม่ฮ่องสอนอีกเลย
เมื่อเจ้าอินทร์วิชยานนท์
ได้ครองเมืองเชียงใหม่แล้ว
ทรงดำริว่าบ้านแม่ฮ่องสอนอยู่ไกล้ชิดกับชายแดนประเทศเมียนม่าร์ มีผู้คนหลาย
เชื้อชาติ เข้ามาตั้งหลักแหล่ง สมควรจะตั้งเป็นเมืองได้แล้ว
จึงโปรดให้ตั้งเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นเมืองหน้าด่าน และยกเมืองปายและเมืองยวม
เป็นเมืองรอง แล้วทรงตั้งชานกะเล
ซึ่งมีเชื้อสายไทยใหญ่เป็นเจ้าครองเมือง พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พญาสิงหนาทราชา"
ต่อมาเมื่อ พญาสิงหนาทราชาถึงแก่กรรม "พระนางเมี๊ยะ"
(ภริยาพญาสิงหนาทราชา) ก็ได้ครองเมืองต่อมาอีก 7 ปี
จากนั้นก็มีผู้ครองเมืองต่ออีก 2 คน
คือ"พญาพิทักษ์สยามเขต" และ เจ้าเมืองคนสุดท้ายคือ
"พญาพิศาลฮ่องสอนบุรี"
ใน พ.ศ.2443
ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยาศรีสหเทพ
ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ขึ้นมาตรวจราชการในหัวเมืองมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ
ได้ปรึกษากับพระยานริศราชกิจ
ข้าหลวงใหญ่ผู้ครองเมืองและเมืองในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ
จัดระเบียบ การปกครองใหม่ คือ รวมเมืองแม่ฮ่องสอน เมืองยวม (แม่สะเรียง)
และเมืองปาย เข้าเป็นหน่วยปกครองเดียวกัน เรียกว่า "บริเวณเชียงใหม่ตะวันตก"
ตั้งที่ว่าการแขวง (เทียบเท่าเมือง) ที่เมืองยวม โดยตั้งนายโหมดเป็นนายแขวง
(แจ้งความเสนาบดีกระทรวง
มหาดไทย ลงวันที่ 11 กรกฎาคม ร.ศ.119)
ในปี พ.ศ.2453
โปรดเกล้าฯให้รวมเมืองแม่ฮ่องสอน เมืองยวมและเมืองปาย ตั้งเป็นเมืองจัตวา
ขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพ และย้าย
ที่ว่าการเมืองมาตั้งที่เมืองแม่ฮ่องสอน
พร้อมกับโปรดเกล้าให้พระยาศรสุรราช(เปลื้อง) เป็นเจ้าเมือง
(ผู้ว่าราชการจังหวัด)คนแรก และ
ในปี พ.ศ.2476 เลิกการปกครองที่เป็นมณฑลและตั้งเป็น "จังหวัดแม่ฮ่องสอน"
ขอขอบคุณ
ข้อมูล จาก cddweb.cdd.go.th
---------------------------------------------------------------------------
ที่พักแม่ฮ่องสอน |
โกลเด้น ปาย
|
285 หมู่ 1, บ้านปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 58000
ราคา 1,400 - 2,500 บาท |
เม้าท์เทน อินน์ & รีสอร์ท
|
122/2 ถ.ขุนลุมประพาส โทร 02-1641001 to 7 ราคา 950-3,950 บาท |
สวัสดี เพลส
|
29 หมู่ 8 ต.ปางหมู อ.เมือง โทร
02-1641001 to 7 ราคา 450-550 |
อิมพีเรียลธารา แม่ฮ่องสอน
|
149 หมู่ 8 ต.ปางหมู โทร
02-1641001 to 7 จำนวน 104 ห้อง ราคา 1,677-4,000 บาท |
---------------------------------------------------------------------------