วัดช่องลม
ตั้งอยู่ตรงปากอ่าวสมุทรสาคร ตำบลท่าฉลอม ตรงข้ามกับตัวเมือง
เดินทางโดยทางหลวงหมายเลข 35 เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 35
เข้าถนนสุทธิวาตวิถีประมาณ 3 กิโลเมตร
วัดช่องลมเป็นพระอารามหลวงได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม
และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
ด้านหน้าวัดมีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่
ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินท่าฉลอม
และทรงตั้งเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย
นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีพระโพธิสัตว์กวนอิม
ที่ชาวสมุทรสาครสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวโรกาสที่ฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี หลวงปู่แก้ว (
พระเทพสาครมุนี ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร
และเจ้าอาวาสวัดสุทธิวาตวราราม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร
จังหวัดสมุทรสาครประวัติ พระเทพสาครมุนี เดิมชื่อ แก้ว ชนสุวรรณ
เกิดวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๖๖ ณ ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดพระตะบอง
ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณาจักรประเทศไทย
และได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดใกล้บ้านคือ วัดจำบกมาศ ตำบลกระสัง
อำเภอกระสัง จังหวัดพระตะบอง เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๘
เพื่อศึกษาเล่าเรียนชั้นสามัญจนมีความรู้ความสามารถเขียนภาษาไทยได้คล่องแคล่ว
ทั้งยังแตกฉานในภาษาขอมเป็นพิเศษ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี
ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุวัดเดิมระยะหนึ่ง แล้วจึงย้ายมาจำพรรษา
ที่วัดชำนิหัตถการ กรุงเทพมหานคร
เพื่อศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรมกับภาษาบาลีควบคู่กับไปอย่างจริงจังพร้อมกับรับหน้าที่ครูสอนธรรมและบาลี
ที่วัดชำนิหัตถการต่อไปอีกหลายปี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ วัดหลักสองราษฎร์บำรุง
ตำบลหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ขาดครูสอนธรรม
ท่านจึงมาช่วยสอนให้เป็นเวลา ๑ ปี
การปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดของท่านทำให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทรา
แก่ประชาชนในละแวกนั้นเป็นอันมาก ด้วยท่านเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย
มีระเบียบ อัธยาศัยและมนุษย์สัมพันธ์อันดีเลื่องลือไปทั่ว
ประชาชนตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
ได้พร้อมใจกันอาราธนามาเป็นครูสอนบาลี ณ วัดใหม่บ้านบ่อ ตั้งแต่ปี พ.ศ.
๒๔๗๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๖ พอดีทางวัดคลองตันราษฎร์บำรุง ตำบลคลองตัน
อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ขาดเจ้าอาวาสชั่วคราว
ประชาชนกับพระภิกษุ สามเณร จึงร่วมใจกันอาราธนาท่านมาดำรงตำแหน่ง
เจ้าอาวาสวัดคลองตันราษฎร์บำรุงสืบแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๖
เป็นต้นมาและหลังจากที่ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคลองตันแล้ว
ท่านจัดระเบียบวินัยในการปฏิบัติพระภิกษุสามเณรภายในวัด
พร้อมกับจัดระเบียบการปฏิบัติของประชาชนต่อวัดควบคู่กันไปด้วย
ท่านจึงเป็นที่เคารพรักของชาวตำบลคลองตันทั้งปวง
เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่มีธรรมสูงเปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม
มีความมุมานะแรงกล้า ประกอบกับจิตใจเด็ดเดี่ยวมั่นคงในการทำงาน
ขยันหมั่นเพียรหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยและกติกาของวัด
อบรมสั่งสอนศิษย์กับพระลูกวัดให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
เป็นครูสอนนักธรรมและบาลีเองโดยตลอด ดังนั้นในปี ๒๔๙๕
ทางคณะสงฆ์จึงอาราธนาท่านมาดำรงตำแหน่งที่วัดช่องลม
ผลงาน / เกียรติคุณที่ได้รับ
หลวงปู่แก้วได้บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนในจังหวัดสมุทรสาครมากมาย
เช่น สร้างสะพานสาครบุรี สร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างตำบลท่าจีน
ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลมหาชัย พร้อมทั้งอุปถัมภ์ปรับปรุงวัดใหญ่บ้านบ่อ
วางผังก่อสร้างวัดบางหญ้าแพรก อุปการะโรงเรียนวัดช่องลม
รวมทั้งร่วมทำพิธีนั่งปรก พิธีพุทธาภิเษกของวัดต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก
ผลจากความเพียรพยายามพัฒนาวัดช่องลมจนเจริญรุ่งเรืองดังกล่าวนั้น
จนได้รับพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดิษฐานหน้าบันอุโบสถ
พระราชทานฉัตร ๙
ชั้นทั้งสองข้างของพระประธานและพระราชทานนามวัดช่องลมใหม่ว่า วัดสุทธิวาตวราราม
หลังจากนั้นได้เลื่อนสมณะศักดิ์ท่านเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ
ในราชทินนามว่า พระเทพสาครมุนี
ถึงแม้หลวงปู่แก้วจะมรณภาพจากไปด้วยโรคชรา รวมอายุได้ ๗๙ ปี ๘ เดือนเศษ
รวมพรรษา ๕๙ พรรษา แต่คุณงามความดีของท่านไม่เสื่อมคลาย
ยังมีประชาชนมาสักการบูชา ณ วิหารพระเทพสาครมุนี ( หลวงปู่แก้ว )
ของวัดสุทธิวาตวราราม ตราบจนปัจจุบัน |