|
วัดพระธรรมกาย,ปทุมธานี
วัดพระธรรมกาย |
วัดพระธรรมกาย
เป็นวัดในประเทศไทยก่อตั้งเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513
สังกัดมหานิกายแห่งคณะสงฆ์ไทย ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองสาม
อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานีปัจจุบันมีพระราชภาวนาวิสุทธิ์ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสและอธิบดีสงฆ์ของวัด
ประวัติ
วัดนี้ได้ประกาศเป็นวัดโดยกระทรวงศึกษาธิการตามกฎหมาย
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ในชื่อ
"ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น
"วัดวรณีธรรมกายาราม" ซึ่งมาจากชื่อของ วรณี สุนทรเวช
ผู้บริจาคสถานที่ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น
"วัดพระธรรมกาย" เหมือนในปัจจุบัน |
|
วัดพระธรรมกายเป็นวัดในพระพุทธศาสนา
ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัดโดยสมบูรณ์
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2522
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96 ตอนที่ 15 เมื่อวันที่ 6
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 โดยมีพระอธิการไชยบูลย์ ธมฺมชโย
(ปัจจุบันเป็น พระราชภาวนาวิสุทธิ์) เป็นเจ้าอาวาส
และมีพระเผด็จ ทตฺตชีโว (ปัจจุบันเป็นพระภาวนาวิริยคุณ)
เป็นรองเจ้าอาวาส
มูลนิธิธรรมกาย
จัดตั้งขึ้นขึ้นก่อนที่วัดจะก่อตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513
เดิมใช้ชื่อว่า "มูลนิธิธรรมประสิทธิ์"
โดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ณ กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 6
สิงหาคม พ.ศ. 2513
เมื่อสร้างวัดพระธรรมกายเสร็จได้ขอแก้ไขเอกสาร เปลี่ยนชื่อเป็น
"มูลนิธิพระธรรมกาย" เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2525 ณ
ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี และเพื่อไม่ให้สับสนกับชื่อวัด
จึงจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจาก มูลนิธิพระธรรมกาย เป็น
"มูลนิธิธรรมกาย"
โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ตามหนังสือที่ ศธ 1304/6088 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2528
สถาปัตยกรรมในวัดพระธรรมกาย
มหาธรรมกายเจดีย์ เจดีย์รูปโดมทรงกลมแบบสาญจิเจดีย์
ประกอบด้วย 3 ส่วน ซึ่งสื่อถึง พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ
และสังฆรัตนะ
ภายนอกของมหาธรรมกายเจดีย์ส่วนพุทธรัตนะมีการเรียงต่อองค์พระธรรมกายประจำตัวที่สลักชื่อเจ้าของไว้จำนวน
300,000 องค์
ส่วนภายในมหาธรรมกายเจดีย์บรรจุพระธรรมกายประจำตัว จำนวน
700,000
องค์ฐานขององค์พระจารึกนามของผู้บริจาคเพื่อสร้างองค์พระธรรมกายประจำตัวเช่นเดียวกัน
ซึ่งมหาธรรมกายเจดีย์ออกแบบด้วยหลักวิศวกรรมให้คงอยู่ได้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันปี
และเป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีกลางแจ้ง
ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะมีสาธุชนจากทั่วโลกเดินทางมาร่วมบุญหลาย
แสนคน และในทุกวัน เวลา 06.00 น. และ 18.00 น.
มีพิธีบูชามหาธรรมกายเจดีย์
สาเหตุที่มหาธรรมกายเจดีย์มีรูปทรงที่ไม่เหมือนกับเจดีย์ทั่วไป
ทั้งนี้การบอกเล่าของพระสงฆ์ และหมู่คณะวัดพระธรรมกายคือ
มหาธรรมกายเจดีย์ เป็นรูปทรงของ "อายตนนิพพาน"
ที่ค้นพบด้วยธรรมปฏิบัติชั้นสูงด้วยวิชชาธรรมกาย
ส่วนลักษณะขององค์พระธรรมกาย ได้ถอดแบบจากกายมหาบุรุษ
ที่ได้เห็นแจ้งด้วยธรรมปฏิบัิติชั้นสูงตามแนววิชชาธรรมกายเช่นกัน
- มหารัตนวิหารคด
อาคารสองชั้นในรูปแบบคล้ายสเตเดียม ความยาวด้านละ 1 กิโลเมตร
รอบมหาธรรมกายเจดีย์
ทั้งสี่ด้านคาดว่าสามารถจุคนได้หนึ่งล้านคน
เป็นสถานที่รวมพุทธบุตรและพุทธบริษัท 4
ทั่วโลกนับล้านให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
เพื่อพบปะสนทนาธรรมและร่วมกันสร้างสันติสุข
ให้บังเกิดขึ้นบนโลกของเรา
- มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี
อาคารรูปทรงกลมแบบสาญจิเจดีย์คล้ายจานคว่ำเหมือนมหาธรรมกายเจดีย์
เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
เพื่อสักการบูชาและระลึกถึงพระคุณของท่าน
ภายในมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี
บรรจุเรื่องราวอัตชีวประวัติของท่าน
เพื่อให้สาธุชนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า
- อุโบสถวัดพระธรรมกาย มีรูปลักษณ์แบบศิลปไทยประุยุกต์
ออกแบบโดยยึดหลักความเรียบง่ายและมีความสง่า
โดยได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2541 จาก
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
- สภาธรรมกายสากล อาคารปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ พื้นที่กว่า 150 ไร่
ประกอบด้วยชั้นที่ 1 เป็นชั้นจอดรถ และ ชั้นที่ 2
ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
ซึ่่งใช้ในงานบุัญทุกวันอาทิตย์ และงานบุญใหญ่ของวัดตลอดทั้งปี
สามารถจุคนได้ประมาณ 300,000 คน
วิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
วิหารทรงพีระมิดหกเหลี่ยมทองคำ
ภายในเป็นห้องหยกประดิษฐานรูปหล่อทองคำ
คุณยายอาจารย์มหาอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
- หอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
อาคารชั้นล่างโปร่ง มีส่วนสำนักงาน 4 ชั้น
ส่วนของหลังคาสร้างเป็นยอดรูปทรงกลมคล้ายมหาธรรมกายเจดีย์
ภายในรูปทรงกลมเป็นภาพของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกา จันทร์
ขนนกยูง หอฉันฯ ถูกใช้เป็นที่ฉันภัตตาหารของภิกษุ สามเณร
เป็นโรงทานแก่ญาติโยมที่มาถวายภัตตาหาร
รวมถึงประยุกต์ใช้ในการประกอบพิธีกรรมของวัด เช่น
การถวายกองทุนโคมมาฆประทีป การถวายกองทุนผ้าไตรจีวร
การถวายกองทุนผ้าอาบน้ำฝน การถวายกองทุนคิลานเภสัช
การถวายกองทุนเครื่องกันหนาว
รวมถึงใช้เป็นสถานที่เตรียมงานบุญใหญ่ของวัด เช่น
การพับผ้าไตรจีวรจำนวนมากที่ใช้ประกอบพิธีอุปสมบทหมู่รุ่นต่างๆ
การพับและเตรียมกระดาษชำระและช้อนส้อม
เพื่อใช้ในงานวันคุ้มครองโลกซึ่งตรงกับวันเกิดของ
พระราชภาวนาวิสุทธิ์ คือ 22 เมษายน ของทุกปี
- อาคารภาวนา 60 ปีพระราชภาวนาวิสุทธิ์
- อาคารรูปทรงกลมคล้ายมหาธรรมกายเจดีย์
เป็นสถานที่ปฏิบัติวิชชาธรรมกายชั้นสูง
มิได้ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าออก
- อาคาร 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
อาคารรูปทรงกลม เริ่มก่อสร้างปลายปี 2552(ยังไม่แล้วเสร็จ)
เพื่อให้เป็นสำนักงานใหญ่ของวัด
ห้องประชุมด้านวิชาการด้านพระปริยัติธรรมขนาดใหญ่
ห้องปฏิบัติธรรมสำหรับบรรพชิต อุบาสก อุบาสิกา ขนาดใหญ่
พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมหาปูชนียาจารย์ |
----------------------------------------------------------------
|
|
|
|