|
วัดไชโยวรวิหาร,
อ่างทอง
วัดไชโยวรวิหาร |
เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นโท
อยู่บนเส้นทางสายอ่างทอง-สิงห์บุรี
ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองประมาณ 18 กม.
เดิมเป็นวัดราษฏร์โบราณสร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ
มีความสำคัญขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4
เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี
ได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลางแจ้ง
ณ วัดแห่งนี้ ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จฯ
มานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย ในปี
พ.ศ. 2430 แต่แรงสั่นสะเทือน
ระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต
วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 16.10 เมตร สูง
22.65 เมตร แล้วพระราชทานนามว่า "พระมหาพุทธพิมพ์"
มีการจัดงานฉลองนับ
|
|
เป็นงานใหญ่ที่สุดของจังหวัดอ่างทองในสมัยนั้น
องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในพระวิหารที่มีความสูงใหญ่สง่างามแปลกตากว่าวิหารแห่งอื่น
ๆ พุทธศาสนิกชนจากที่ต่าง ๆ
มานมัสการอย่างไม่ขาดสายติดกับด้านหน้าพระวิหาร
มีพระอุโบสถ หันด้านหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยอันงดงามเช่นกัน
ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ
ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5
ปัจจุบันวัดไชโยวรวิหารได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่จนมีความงามอย่างสมบูรณ์ยิ่ง |
|
|
|
|