|
วัดอรุณราชวราราม
กรุงเทพมหานคร
วัดอรุณราชวราราม
|
เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า
วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา
เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน
แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน
(วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า
วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310
ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง
แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน
วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี
ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น
ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง
แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง
เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา
และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322
ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327
|
|
ในสมัยรัตนโกสินทร์
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม
และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด
แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ
เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา
และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม”
ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น
แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน
จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ
ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ
และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย
เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า
“วัดอรุณราชวราราม” ปัจจุบันเจ้าอาวาสคือพระเทพมงคลรังษี
นามเดิม เฉลียว ฉายา ฐิตปุญฺโญ นามสกุล ปัญจมะวัต อายุ ๘๔
พรรษา ๖๕ วุฒิการศึกษา ชั้น ป.๖, น.ธ.เอก, พธ.ม.(กิตติมศักดิ์)
เกิดเมื่อวันพุธที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ
เดือน ๕ ปีฉลู ณ ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
โยมบิดาชื่อ นายเหรียญ ปัญจมะวัต โยมมารดาชื่อ นางลูกอิน
ปัญจมะวัต |
|
----------------------------------------------------------------------
แนะนำที่พักราคาประหยัด ในกรุงเทพฯ |
|
The Chaleena
|
1,300
บาท |
ลาดพร้าว |
|
|
The Egypt Boutique
|
1,300
บาท |
ลาดพร้าว |
|
|
Siam Place Airport
|
790 -1,100 บาท |
สุวรรณภูมิ |
|
|
Hope Land
|
1,610-2,415
บาท |
ถนน สุขุมวิท |
|
|
Vaboir Lodge
|
850 - 1,200 บาท |
ใกล้เดอะมอลล์ บางกะปิ |
|
|
Lamphu
Tree House |
1,200-1,600 บาท |
ใกล้ถนนข้าวสาร |
|
|
Shanghai Inn |
2,310-3,350 บาท |
ถนน
เยาวราช |
|
|
Bhiman Inn |
1,100-1,400
บาท |
พระสุเมรุ
บางลำพู |
|
|
Diamond House |
1,200 - 2,100 Bht |
บางลำพู ถนนข้าวสาร |
|
|
Vieng
Tai |
1,500 -
4,000 บ. + อาหารเช้า |
ถนนข้าวสาร
บางลำพู |
|
|
นันทรา เดอ คอมฟอร์ท |
155-290 USD |
สุขุมวิท สปา |
|
----------------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
River
Sun Cruise: 1-day trip, Bangkok to Ayutthaya |
|
|