|
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
กรุงเทพมหานคร
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร |
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร[1]
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า
ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ
วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐาน เช่นที่สุโขทัย สวรรคโลก
พิษณุโลก และพระนครศรีอยุธยา แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาวัดสลัก เป็นวัดนิพพานาราม
และเปลี่ยนเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ |
|
แต่ต่อมามีพระราชดำริว่า ในกรุงเทพฯ ยังไม่มีวัดมหาธาตุ
จึงเปลี่ยนชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นวัดมหาธาตุ และพระสัมพันธวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณะวัดเลียบ
ต่อมา ได้นามว่า วัดราชบูรณะ ยังคงขาดแต่วัดราชประดิษฐ์เท่านั้น
จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี
และเพื่อพระอุทิศถวายแก่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเพื่อที่พระองค์เองและเจ้านาย
ข้าราชการ
ที่จะไปทำบุญที่วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายใกล้พระบรมมหาราชวังได้สะดวก
วัดราชประดิษฐ์จึงเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดแรกที่สร้างขึ้น
เพื่อพระสงฆ์ในนิกายนี้ เพราะวัดอื่น ๆ
ของฝ่ายธรรมยุติเป็นวัดที่แปลงมาจากวัดของมหานิกาย
วัดราชประดิษฐ์สร้างขึ้นในที่ดินที่เคยเป็นสวนกาแฟของหลวงโดยก่อสร้างใน
พ.ศ. 2407 เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า
“วัดราชประดิษฐสถิตธรรมยุติการาม” เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เปลี่ยนเป็น
“วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม”
เพื่อให้เหมาะสมกับเป็นที่ประดิษฐานหลักศิลา ซึ่งเป็นสีมามีจารึกคาถาบาลี
และภาษาไทย ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์รวม 10 หลัก ปรากฏในประกาศเมื่อ พ.ศ.
2411 เรื่องประกาศให้เรียกนามวัดราชประดิษฐ์ให้ถูกว่า
มีผู้เรียกวัดราชประดิษฐ์ว่า วัดราชบัณฑิต วัดทรงประดิษฐ์
ไม่ถูกต้องกับที่พระราชทานนามไว้ จึงทรงกำชับว่า ให้เรียกชื่อวัดว่า
“วัดราชประดิษฐ์” หรือ “วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม”
หลังจากทรงสร้างเสร็จแล้ว ได้ทรงอาราธนาพระสาสนโสภณ (สา ปุสฺสเทโว ป.๙)
หรือสามเณรสา ผู้สอบเปรียญ ๙ ประโยคได้ขณะเป็นสามเณร เป็นสามเณรนาคหลวง
สายเปรียญธรรม รูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ จากวัดบวรนิเวศวิหาร
มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อพ.ศ. 2408 ปีฉลู
ทรงกระทำการสมโภชทั้งเจ้าอาวาสและวัดใหม่เป็นเวลา 3 วัน
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นโรงเรือนที่อยู่อาศัยของข้าราชการ รัชกาลที่ 4
ทรงขอซื้อที่เพื่อสร้างวัดธรรมยุติกนิกาย เมื่อ พ.ศ. 2407
เพื่อสำหรับเจ้านาย ข้าราชการ ฝ่ายหน้า-ใน ได้บำเพ็ญกุศลสะดวกขึ้น
เพราะใกล้พระบรมมหาราชวัง
ในพระวิหารหลวงมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระราชพิธี 12 เดือน ที่รัชกาลที่
5 ทรงโปรดฯ ให้วาดไว้ มีสถาปัตยกรรมที่น่าชม เช่น ปาสาณเจดีย์, ปรางค์ขอม,
หอพระจอม, หอไตร ฯลฯ
และเพราะด้วยธรรมยุติกนิกายนั้นเคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก
เขตสังฆาวาสนั้นจึงห้ามสตรีผ่านเข้าออกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4
จนถึงปัจจุบัน
|
|
|
วัดราชประดิษฐ์
|
|
|
พระวิหารหลวง
|
|
|
พระวิหารหลวง
|
|
|
พระวิหารหลวง
|
|
|
|
ทางเข้าพระวิหาร
|
|
|
กำลังทำการบูรณะ
|
|
|
บริเวณโดยรอบข้างวิหาร
|
|
|
ทางเข้า กำลังบูรณะ
|
|
|
|
ประตูทางเข้า
|
|
|
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
|
|
|
|
----------------------------------------------------------------------
แนะนำที่พักราคาประหยัด ในกรุงเทพฯ |
|
The Chaleena
|
1,300
บาท |
ลาดพร้าว |
|
|
The Egypt Boutique
|
1,300
บาท |
ลาดพร้าว |
|
|
Siam Place Airport
|
790 -1,100 บาท |
สุวรรณภูมิ |
|
|
Hope Land
|
1,610-2,415
บาท |
ถนน สุขุมวิท |
|
|
Vaboir Lodge
|
850 - 1,200 บาท |
ใกล้เดอะมอลล์ บางกะปิ |
|
|
Lamphu
Tree House |
1,200-1,600 บาท |
ใกล้ถนนข้าวสาร |
|
|
Shanghai Inn |
2,310-3,350 บาท |
ถนน
เยาวราช |
|
|
Bhiman Inn |
1,100-1,400
บาท |
พระสุเมรุ
บางลำพู |
|
|
Diamond House |
1,200 - 2,100 Bht |
บางลำพู ถนนข้าวสาร |
|
|
Vieng
Tai |
1,500 -
4,000 บ. + อาหารเช้า |
ถนนข้าวสาร
บางลำพู |
|
|
นันทรา เดอ คอมฟอร์ท |
155-290 USD |
สุขุมวิท สปา |
|
----------------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
River
Sun Cruise: 1-day trip, Bangkok to Ayutthaya |
|
|