|
วัดเบญจมบพิตร
กรุงเทพมหานคร
วัดเบญจมบพิตร |
|
อยู่ที่ถนนศรีอยุธยา ด้านหน้าของวัดสุทัศน์ เดิมเป็นวัดร้าง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างวัดเบญจมบพิตรขึ้นแทนวัดเก่า 2 วัด คือ วัดแหลม
และวัดไทรทอง
โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นนายช่างออกแบบ
และพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง
สิ่งที่น่าชมภายในวัดได้แก่ พระอุโบสถ
สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี
ซึ่งเหลือมาจากการสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม
ที่ระเบียงวัดเบญจมบพิตรสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงรวบรวมพระพุทธรูปปางต่างๆ
ที่ได้นำมาจากหัวเมือง 25 องค์ ไว้โดยรอบ
นอกจากนี้พระประธานของวัดได้จำลองพระพุทธชินราชจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
เมืองพิษณุโลกมาประดิษฐานไว้ด้วย ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
โทร.281-2501
|
|
ประวัติ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์
ชื่อ วัดแหลม เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมที่สวนต่อกับทุ่งนา หรือ
มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดไทรทอง เนื่องจากอาจมีต้นไทรอยู่ภายในวัด
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด เมื่อ พ.ศ. 2369
ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ขึ้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ
ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา
ทรงเป็นแม่ทัพรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการทัพที่วัดแหลม
หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์
พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์
(ต้นราชสกุลกุญชร)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
(ต้นราชสกุลทินกร)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล และ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวงศ์
มีพระประสงค์ที่จะร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแหลม
พร้อมทั้งทรงสร้างพระเจดีย์เรียงรายไว้หน้าวัด 5 องค์ ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า
วัดเบญจบพิตร หมายความว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์
พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อแรกสร้างในปี พ.ศ. 2441
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ซื้อที่ดินระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสนเพื่อสร้างที่ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถส่วนพระองค์
โดยพระราชทานนามว่า "สวนดุสิต" (พระราชวังดุสิต ในปัจจุบัน)
ซึ่งบริเวณที่ดินที่ทรงซื้อนั้นมีวัดโบราณ 2 แห่ง คือ
วัดดุสิตซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมโดยถูกใช้เป็นที่สร้างพลับพลา
และวัดร้างอีกแห่งซึ่งจำเป็นต้องใช้ที่ดินของวัดสำหรับตัดเป็นถนน
พระองค์จึงทรงกระทำผาติกรรม สร้างวัดแห่งใหม่เพื่อเป็นการทดแทนตามประเพณี
โดยทรงเลือกวัดเบญจมบพิตรเป็นวัดที่ทรงสถาปนาตามพระราชดำริว่า
การสร้างวัดใหม่หลายวัดยากต่อการบำรุงรักษา
ถ้ารวมเงินสร้างวัดเดียวให้เป็นวัดใหญ่ และทำโดยฝีมือประณีตจะดีกว่า
จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรวัตถุอื่น ๆ และมีพระยาราชสงคราม
(กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2441
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมายังวัด
ในการนี้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศพระบรมราชูทิศถวายที่ดินให้เป็นเขตวิสุงคามสีมาของวัด
พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดเบญจมบพิตร อันหมายถึง
วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5
และเพื่อแสดงลำดับรัชกาลในมหาจักรีบรมราชวงศ์ ต่อมา
พระองค์ได้ถวายที่ดินซึ่งพระองค์ขนานนามว่า ดุสิตวนาราม
ให้เป็นที่วิสุงคามสีมาเพิ่มเติมแก่วัดเบญจมบพิตร และโปรดฯ
ให้เรียกนามรวมกันว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
เมื่อมีการจัดระเบียบพระอารามหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี
พ.ศ. 2458 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามจัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิดราชวรวิหารดังนั้น ชื่อวัดจึงมีสร้อยนามต่อท้ายด้วย "ราชวรวิหาร"
ดังเช่นในปัจจุบัน |
|
|
รอบบริเวณวัดเบญจมบพิตร
|
|
|
ระฆังโบราณ
|
|
|
สะพานวัดเบญจมบพิตร
|
|
|
ตรงกลางสะพาน
|
|
|
|
อีกมุมของวัดเบญจมบพิตร
|
|
|
ลานบนพระอุโบสถ
|
|
|
ลานบนพระอุโบสถ
|
|
|
ประตูทางเข้า
|
|
|
|
ด้านหน้า
|
|
|
ศาลา ลานบนพระอุโบสถ
|
|
|
ด้านหน้าลานบนพระอุโบสถ
|
|
|
พระประทาน
|
|
|
|
เครื่องโบราณ
|
|
|
|
----------------------------------------------------------------------
แนะนำที่พักราคาประหยัด ในกรุงเทพฯ |
|
The Chaleena
|
1,300
บาท |
ลาดพร้าว |
|
|
The Egypt Boutique
|
1,300
บาท |
ลาดพร้าว |
|
|
Siam Place Airport
|
790 -1,100 บาท |
สุวรรณภูมิ |
|
|
Hope Land
|
1,610-2,415
บาท |
ถนน สุขุมวิท |
|
|
Vaboir Lodge
|
850 - 1,200 บาท |
ใกล้เดอะมอลล์ บางกะปิ |
|
|
Lamphu
Tree House |
1,200-1,600 บาท |
ใกล้ถนนข้าวสาร |
|
|
Shanghai Inn |
2,310-3,350 บาท |
ถนน
เยาวราช |
|
|
Bhiman Inn |
1,100-1,400
บาท |
พระสุเมรุ
บางลำพู |
|
|
Diamond House |
1,200 - 2,100 Bht |
บางลำพู ถนนข้าวสาร |
|
|
Vieng
Tai |
1,500 -
4,000 บ. + อาหารเช้า |
ถนนข้าวสาร
บางลำพู |
|
|
นันทรา เดอ คอมฟอร์ท |
155-290 USD |
สุขุมวิท สปา |
|
----------------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
River
Sun Cruise: 1-day trip, Bangkok to Ayutthaya |
|
|