พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่
๕๐ ไร่ ๓๘
ตารางวาอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง
ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง
ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย
ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ
ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช
มีถนนเชตุพน
ขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสชัดเจน
มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว
ทรงพระราชดำริว่า
มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง
๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก
(วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ
วัดโพธาราม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ขุนนางเจ้าทรงกรม
ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์
เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑
ใช้เวลา ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘
วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ
ให้มีการฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๔
พระราชทานนามใหม่ว่า
“วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ”
"วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม"
ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่
นานถึง ๑๖ ปี ๗ เดือน
ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตกคือ
ส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาสสวนมิสกวัน
สถาปนาขึ้นใหม่ พระมณฑป
ศาลาการเปรียญ
และสระจระเข้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นโบราณสถานในพระอารามหลวงที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้
แม้การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อฉลองกรุงเทพฯ
๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕
เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น
มิได้สร้างเสริมสิ่งใด ๆ
เกร็ดประวัติศาสตร์ของการสถาปนาและการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์แห่งนี้
บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ ๑
และที่ ๓ ขุนนาง
เจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่
ได้ระดมช่างในราชสำนัก
ช่างวังหลวง ช่างวังหน้า
และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ
ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ
ได้ทุ่มเทผลงานสร้างสรรค์พุทธสถานและสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ในวัดพระอารามหลวง
ด้วยพลังศรัทธาตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์
สรรพศาสตร์
เปรียบเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย
(มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรก)
ที่รวมเอาภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้กับอย่างไม่รู้จบสิ้น |