|
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
กรุงเทพมหานคร
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ |
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
สร้างขึ้นในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี
เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่บูรพมหากษัตริย์และวีระชนไทยผู้เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ
ตั้งอยู่บริเวณสามแยกดอนเมือง ช่วงถนนวิภาวดีรังสิต
บรรจบกับถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ในพื้นที่ 38 ไร่ 1 งาน 97 ตารางวา
ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย |
|
ประวัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2526อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เกิดขึ้นจากดำริของ
พลเอก สายหยุด เกิดผล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ว่าที่ผ่านมารัฐบาลได้จัดสร้างอนุสาวรีย์เพื่อบรรจุอัฐิของผู้เสียชีวิตในสงครามต่างๆ
เช่น อนุสาวรีย์ทหารอาสา
เป็นที่ระลึกสำหรับผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1,
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สำหรับเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช,
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สำหรับกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่ 2
แต่ยังมีการสู้รบเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง เช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม
การปราบปรามผู้ก่อการร้าย มีผู้เสียชีวิตทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน
ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพเป็นประจำทุกปี
แต่อัฐิของผู้พลีชีพเพื่อชาติเหล่านี้ยังคงเก็บรวบรวมไว้
และยังมิได้จัดสร้างถาวรวัตถุขึ้นเป็นอนุสรณ์อย่างสมเกียรติ
กระทรวงกลาโหมจึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างอาคารอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติเป็นส่วนรวม
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 เวลา 16.30 น เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
และพระราชทานนามสถานที่นี้ว่า "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ"
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ
และจารึกนามผู้กล้าหาญเหล่านี้ไว้ให้สถิตสถาวรสืบไป
2. เพื่อเป็นสถานที่แสดงประวัติวีรกรรม และเหตุการณ์รบครั้งสำคัญต่างๆ
3.
เพื่อเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงภัยที่เกิดขึ้นในอดีต
อันเป็นผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
4. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ และ พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป |
----------------------------------------------------------------------
แนะนำที่พักราคาประหยัด ในกรุงเทพฯ |
|
The Chaleena
|
1,300
บาท |
ลาดพร้าว |
|
|
The Egypt Boutique
|
1,300
บาท |
ลาดพร้าว |
|
|
Siam Place Airport
|
790 -1,100 บาท |
สุวรรณภูมิ |
|
|
Hope Land
|
1,610-2,415
บาท |
ถนน สุขุมวิท |
|
|
Vaboir Lodge
|
850 - 1,200 บาท |
ใกล้เดอะมอลล์ บางกะปิ |
|
|
Lamphu
Tree House |
1,200-1,600 บาท |
ใกล้ถนนข้าวสาร |
|
|
Shanghai Inn |
2,310-3,350 บาท |
ถนน
เยาวราช |
|
|
Bhiman Inn |
1,100-1,400
บาท |
พระสุเมรุ
บางลำพู |
|
|
Diamond House |
1,200 - 2,100 Bht |
บางลำพู ถนนข้าวสาร |
|
|
Vieng
Tai |
1,500 -
4,000 บ. + อาหารเช้า |
ถนนข้าวสาร
บางลำพู |
|
|
นันทรา เดอ คอมฟอร์ท |
155-290 USD |
สุขุมวิท สปา |
|
----------------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
River
Sun Cruise: 1-day trip, Bangkok to Ayutthaya |
|
|