Thai Tour
สถานที่ท่องเที่ยว
หัวหิน เกาะเสม็ด เกาะช้าง บ้านพักพัทยา ปาย เขาค้อ ที่พักหัวหิน   
   
ประเพณีรับบัว โยนบัว บางพลี, สมุทรปราการ
 

ประเพณีรับบัว โยนบัว
เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวบางพลี จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11

การจัดงานประกอบด้วยการนมัสการและขบวนแห่หลวงพ่อโต ทั้งทางบกและทางน้ำ การแข่งขันกิจกรรมพื้นบ้าน อาทิ การจัดพานดอกบัว มีการประกวดเรือประเภทต่างๆ และการแสดงการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เพลงเรือ

ในช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 จะเป็นงานประเพณีการรับบัวหรือโยนบัว โดยประชาชนจะโยนดอกบัวลงในเรือขบวนแห่พระพุทธรูปจำลองของหลวงพ่อโต ในขณะเดียวกันชาวบางพลีก็จะโยนบัวให้กับคนต่างบ้านที่พายเรือมาเที่ยวด้วย เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน

ในปี 2551 นี้ จัดวันที่ 10-13 ตุลาคม ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลี และวัดบางพลีใหญ่ใน (วัดหลวงพ่อโต) จ.สมุทรปราการ

โยนบัว ปี 51

ความเห็นที่ 1 โพสเมื่อ : 2008-10-13 00:24:34 โดย : ธธ


10 ต.ค. 51 นมัสการหลวงพ่อ ณ วัดบางพลีใหญ่ รวมงานย้อนรอยตลาดโบราณบางพลี 151 ปี
11 ต.ค. 51 ชมการตอบปัญหาพะหมี, การแสดงหมากรุกคน
12 ต.ค. 51 ตักบาตรพระทางเรือ, ชมการแข่งขันเรือมาด, การประกวดนวดมือทอง, ประกวดปลาสลิด และอาหารแปรรูปจากปลาสลิด, ประกวดหนุ่ม-สาวรับบัว ประกวดขวัญใจแม่ค้า
13 ต.ค. 51 พิธีเปิดประเพณีรับบัว ประจำปี 51 ชมการแสดงรำกลองยาว ประกวดเรือประเภทสวยงามความคิด ตลกขบขัน แข่งกินข้าวต้มมัด เกมส์กลางแจ้ง

ความเห็นที่ 2 โพสเมื่อ : 2008-10-13 00:33:22 โดย : TT


วันที่เป็นวันสำคัญที่ไม่ควรพลาด จริงๆ คือ 2 วันสุดท้ายของงาน คือ
วันขึ้น 13 ค่ำ และ 14 ค่ำ เดือน 11
วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่มีงานมโหสพ การประกวดต่างๆ ดนตรี เฮฮาตลอดคืน ก่อนจะมีพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการโดยผู้ใหญ่ อาจเป็นรัฐมนตรี และผู้ว่าจังหวัด

ตั้งแต่ตอนเย็นวันขึ้น 13 ค่ำ ชาวอำเภอบางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ ชาวพระประแดง และชาวต่างถิ่นจะชักชวนพวกเพื่อนฝูงลงเรือพร้อมด้วยเครื่องดนตรีนานาชนิดเช่น ซอ ปี่ กระจับ โทน รำมะนาโหม่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น พายกันไปร้องรำทำเพลงกันไปซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำน้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่นๆเข้าคลองสำโรงและมุ่งหน้ามายังหมู่บ้านบางพลีใหญ่สำหรับชาวบางพลีนั้นจะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็จะต้องเตรียมหาดอกบัวหลวง สำหรับมอบให้แก่ชาวบ้านที่ต้องการและมิตรต่างถิ่นมาเยือนในโอกาสเช่นนี้ ก็คงแสดงมิตรจิตออกต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกันตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ส่วนพวกที่มารับบัวคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพาขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้ และต่างก็สนุกสนานร้องรำทำเพลงและร่วมรับประทานอาหารสุรากันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านต่างก็นำเรือของตนออกไปตามลำคลองสำโรงเพื่อไปขอรับบัวจากชาวบ้านบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และการรับดอกบัวก็จะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับกันมือต่อมือ หรือก่อนให้จะยกมือพนมอธิษฐาน เสียก่อนระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวต่างถิ่นที่สนิทสนมคุ้นเคยกันป็นพิเศษ บางทีชาวบางพลีก็จะโยนดอกบัวลงไปให้กันโดยไม่มีพิธีรีตอง เหตุที่มีการโยนบัวให้กัน แบบมือต่อมือจึงเลือนไปจนมีการนำไปพูดกันตอนหลังว่า รับบัว โยนบัว การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. หรือ 09.00 น. และชาวบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับจะมีการแข่งเรือกันไปด้วยแต่เป็นการแข่งขันโดยมีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภทหรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใครเมื่อไหร่ที่ใดก็แข่งกันไปหรือจะเปลี่ยนคู่เปลี่ยนคู่แข่งกันไปเรื่อยๆตามแต่จะตกลงกันดอกบัวที่ชาวต่างถิ่นรับจากชาวบางพลีไปนั้นจะนำไปบูชาในเทศกาลออกพรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน
ประเพณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ครั้นนานมาชาวต่างถิ่นที่นำเรือมารับดอกบัวจากชาวบางพลีมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เสียงกระจับ ปี่ สีซอ กลองรำมะนา เสียงเพลงเสียงเฮฮาที่เคยเซ็งแซ่ตามลำคลองสำโรงในคืนวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็ค่อยๆเงียบหายไป

ความเห็นที่ 3 โพสเมื่อ : 2008-10-13 00:35:58 โดย : TT


ต่อมาสมัยนายชื้น วรศิริ (เพชรบูรณะ วรศิริ) เป็นนายอำเภอบางพลี ระหว่าง พ.ศ. 2473-2481 ประเพณีรับบัวมีทีท่าว่าจะเสื่อมสูญไปนั้น ได้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง เมื่อได้หารือกับพ่อค้าคหบดีตลอดจนข้าราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางอำเภอบางพลีจึงได้ตกลงกันดำเนินการจัดงานประเพณีรับบัวขึ้นคือ เริ่มงานวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และรุ่งขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันรับบัวอันเป็นครั้งแรกที่ทางราชการเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีรับบัวของชาวบางพลี
ในการจัดงานประเพณีรับบัวของทางราชการอำเภอบางพลี มีการแต่งเรือประกวด เริ่มมีมาเมื่อ พ.ศ. 2480 (แต่ก่อนชาวต่างถิ่นจะตกแต่งเรือมาเพียงเพื่อความสวยงามแต่ไม่มีการประกวด) ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ช่วยกันหาดอกบัวแจกข้าวต้มมัดแก่แขกต่างบ้านและผู้จัดเรือประกวดในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ประชาชนต่างถิ่นและชาวอำเภอบางพลีจะลงเรือล่องไปตามลำคลองสำโรง ร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานร่วมกัน ชาวบางพลีจะจัดสุราอาหารไว้ต้อนรับแขกต่างบ้าน ชาวต่างถิ่นคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวอำเภอบางพลีคนใดบ้านใดก็จะพากันไปเยี่ยมเยือน สนุกสนานกับชาวบางพลีบ้านนั้นจนรุ่งเช้า วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ต่างก็จะพากันไปดูการประกวดที่คลองสำโรงหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี

ความเห็นที่ 4 โพสเมื่อ : 2008-10-13 00:39:04 โดย : TT


ในการจัดงานประเพณีรับบัวมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ มีการแห่หลวงพ่อโต ซึ่งแต่เดิมยังมิได้มีการแห่ดังเช่นสมัยนี้ ในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๗ นางจั่นกับพวกได้พร้อมใจกันสร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้น ในวัดบางพลีใหญ่ใน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็จัดให้มีการฉลองโดยแห่องค์พระปฐมเจดีย์นี้ตามลำคลอง แล้วกลับมาห่มองค์พระปฐมเจดีย์กลางคืนก็จัดให้มีมหรสพสมโภช แห่ไปได้ 2-3 ปี ก็หยุดไปด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ซึ่งเชื่อว่าการแห่ผ้าห่อองค์พระปฐมเจดีย์นี้ได้รับแบบอย่างมาจากการแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ของอำเภอเมืองสมุทรปราการ ต่อมาก็มีการแห่รูปหลวงพ่อโตแทน โดยความเห็นชอบของท่านสมภารกุ่ย และนายฉลวย งามขำ แห่รูปภาพของหลวงพ่อโตมาหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2485 ก็มีการทำหุ่นจำลองหลวงพ่อโต สานด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาสีทอง แล้วนำแห่แทนรูปภาพของหลวงพ่อโต ซึ่งสร้างโดยนายไสว โตเจริญ ตกกลางคืนก็มีงานมหรสพฉลองกันอย่างครึกครื้นจนถึงสมัยพระครูพิศาลสมณวัตต์เป็นเจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ในก็ได้จัดให้ทำการหล่อรูปหลวงพ่อจำลองขึ้น สำหรับแห่ตามลำคลองด้วยอลูมิเนียมใน พ.ศ. 2497 และปัจจุบันแห่โดยรูปหล่อจำลองหลวงพ่อโต (รูปปั้น) โดยจัดเป็นขบวนแห่ไปตามลำคลองสำโรงในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 เป็นการประกาศข่าวงานรับบัวให้ประชาชนทราบและวิธีนี้กลายเป็นประเพณีแห่หลวงพ่อโตก่อนวันงานรับบัว คือ วัน 13 ค่ำ เดือน 11 ตลอดจนถึงปัจจุบัน การแห่หลวงพ่อโตจึงเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีรับบัว ประชาชนที่อยู่สองฝั่งคลองสำโรงที่ขบวนแห่หลวงพ่อโตผ่านจัดประดับธงทิว ตกแต่งบ้านเรือนและตั้งโต๊ะหมู่บูชา พอเช้าวันรุ่งขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 มีการประกวดเรือประเภทต่างๆของตำบลใกล้เคียงและโรงเรียนส่งเข้าประกวด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2500 มีการจัดประกวด ปัจจุบันการประกวดเรือมี 3 ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทสวยงาม ประเภทความคิด และประเภทขบขันหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น.และงานจะสิ้นสุดลงเวลา 11.00 น. ของวันเดียวกัน ในบางปีจัดให้มีการประกวดเทพีการแข่งเรือ หรืออย่างอื่นแล้วแต่คณะกรรมการ จัดงานรับบัวแต่ละปีจะพิจารณาเห็นสมควร ส่วนการร้องรำทำเพลงไปตามลำน้ำดูหายๆไปจนปัจจุบันไม่มีแล้ว คงเที่ยวสนุกสนานกันตามบริเวณที่จัดให้มีมหรสพเท่านั้น
-------------------
ภาพ องค์หลวงพ่อโตในขบวนเรือแห่รับบัว

ความเห็นที่ 5 โพสเมื่อ : 2008-10-13 00:41:42 โดย : TT


คำสั่งเจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ใน
กำหนดกฎระเบียบต่างๆ

ความเห็นที่ 6 โพสเมื่อ : 2008-10-13 00:45:59 โดย : TT


ข้อ 6 ห้ามดื่ม รหือจำหน่ายสุราเมรัย
ปัจจุบัน ผมเองก็ไม่เห็นมีในงานและนอกงานเลย ต่างจากในสมัยก่อน
หรืออาจเป็นเพราะ แคมเปญ "งดเหล้าเข้าพรรษา" ด้วยกระมัง
------------------------
ภาพ ผู้คนที่มาไหว้หลวงพ่อโต ในงาน

ความเห็นที่ 7 โพสเมื่อ : 2008-10-13 00:53:57 โดย : TT


ชาวบ้านในตลาดน้ำบางพลีเล่าให้ผมฟังว่า
หลวงพ่อโตนี่ ศักดิ์สิทธิ์มาก
หากได้มาในพิธีโยนบัว ขออะไร ก็ได้ทั้งนั้น ควรบนด้วยไข่ต้มถึงจะดี

อันนี้เป็นความเชื่อที่ช่วยจรรโลงวัฒนธรรมอันดีของชาวพุทธ(มอญ)ไว้ตลอดขนบธรรมเนียมต่างๆ ไทยทัวร์ขอร่วมอนุรัษณ์ประเพณีงามอันนี้ไว้ด้วย
--------------
ภาพ หลวงพ่อโตในขบวนเรือ วันที่ 13 ค่ำเดือน 11 ก่อนพีธีแห่ 1 วัน

ความเห็นที่ 8 โพสเมื่อ : 2008-10-13 01:03:06 โดย : TT


ความเป็นมาของประเพณีรับบัว(โยนบัว)
ในสมัยก่อนในแถบอำเภอบางพลี มีประชากรอาศัยอยู่ 3 พวกคือ คนไทย รามัญ และลาว แต่ละพวกจะมีหัวหน้าคอยควบคุมดูแลและทำมาหากินในอาชีพต่างๆกัน ซึ่งชาวรามัญในสมัยนั้นจะขุดบ่อเลี้ยงปลาเป็นอาชีพต่อมาทั้งคนไทย รามัญและลาว ทั้ง 3 พวกก็ปรึกษาหารือกันว่าสมควรจะช่วยกันหักล้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่ทำสวนต่อไป บริเวณนี้แต่ก่อนเต็มไปด้วยป่าพงอ้อ พงแขมและไม้นานาชนิดขึ้นเต็มไปหมด ฝั่งทางตอนใต้ของลำคลองสำโรงก็เต็มไปด้วยป่าแสม น้ำก็เป็นน้ำเค็ม ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้ายนานาชนิดทางฝั่งตอนเหนือก็เต็มไปด้วยบึงขนาดใหญ่ ภายในบึงแต่ละบึงก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยบัวหลวงมากมาย พวกคนไทย รามัญและลาว ก็พยายามหักล้างถางพงเรื่อยมาจนถึงทางแยก 3 ทางคือ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นคลองสลุด ทางเหนือเป็นคลองชวดลากข้าว และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคลองลาดกระบัง คนทั้ง 3 พวกก็ตกลงกันว่าควรจะแยกย้ายกันทำมาหากินคนละทางจะดีกว่าเพื่อที่จะได้รู้ภูมิประเทศว่าด้านไหนจะทำมาหากินได้คล่องดีกว่ากัน เมื่อตกลงดังนั้นแล้วจึงแยกทางกันไปทำมาหากิน โดยพวกลาวไปทางคลองสลุด ไทยไปทางคลองชวดลากข้าว พวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง พวกรามัญทำมาหากินอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผลเพราะนก หนู ชุกชุมรบกวนพืชผลต่างๆจนเสียหายมากมาย เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผลพวกรามัญก็ปรึกษาเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมที่ปากลัด (พระประแดง) เริ่มอพยพกันในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปก็ได้ไปเก็บดอกบัวในบึงบริเวณนี้มากมาย คนไทยที่คุ้นเคยกับพวกรามัญก็ไต่ถามว่าเก็บดอกบัวไปทำไมมากมายเพียงนี้พวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ) ที่ปากลัด และได้สั่งเสียกับคนไทยที่รักและสนิทสนมชิดชอบว่าในปีต่อมาเมื่อถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้ช่วยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตนี้ด้วยพวกตนจะมารับ ด้วยนิสัยคนไทยนั้นชอบโอบอ้อมอารีรักพวกพ้องจึงตอบตกลง จากนั้นพวกชาวรามัญก็นมัสการหลวงพ่อโตพร้อมทั้งขอน้ำมนต์หลวงพ่อโตไปเพื่อเป็นศิริมงคลและลากลับถิ่นฐานเดิมที่ปากลัดและนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพันปีต่อมาพอถึงกำหนดเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยบางพลีก็รวบรวมดอกบัวไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ตามคำขอร้องของชาวรามัญ พวกชาวรามัญก็จะมารับดอกบัวทุกปี การมาจะมาในเวลากลางคืน มาโดยเรือขนาดจุ 50-60 คน จะมาถึงวัดประมาณตี 1-4 ของทุกครั้งที่มาและมีการตีฆ้องร้องเพลงตลอดทางอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งมีการละเล่นต่างๆในเรือ ผู้ที่คอยต้อนรับก็พลอยสนุกสนานไปด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง คนไทยได้ทำอาหารคาวหวานต่างๆเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกันเมื่ออิ่มหนำสำราญแล้วก็นำดอกบัวไปมนัสการหลวงพ่อโต จากนั้นก็นำดอกบัวกลับไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด
-------------------------------
ภาพ การเตรียมเรือขบวนแห่หลวงพ่อโต

ความเห็นที่ 9 โพสเมื่อ : 2008-10-13 01:07:52 โดย : TT


ความเป็นไปได้อีก กรณีที่ 2 คือ
ชาวรามัญที่ปากลัด (พระประแดง) มาทำนาอยู่ที่อำเภอบางพลี (ตำบลบางแก้ว) ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่าเป็นชาวรามัญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนีย์) ในสมัยกรุงธนบุรี การอพยพของชาวรามัญครั้งนี้เนื่องจากพระเจ้ามังระ คิดจะมาตีกรุงธนบุรี จึงเกณฑ์พวกรามัญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาช่วยรบ ชาวรามัญนั้นได้รับการกดขี่ข่มเหงจิตใจถูกฆ่าลูกเมีย ชาวรามัญจึงกบฏต่อพม่าโดยรวมตัวกันไปตีพม่าแต่สู้พม่าไม่ได้ ก็หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบารมีต่อพระเจ้าตากสินมหาราชและได้นำเอาปี่พาทย์มอญเข้ามาด้วยเมื่อปี พ.ศ. 2317 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พวกรามัญไปตั้งภูมิลำเนาที่ปากเกล็ด แขวงนนทบุรี และปากโคก แขวงปทุมธานี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงโปรดเกล้าฯให้ย้ายครอบครัวชาวรามัญและพระยาเจ่ง มาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์(พระประแดง) ในปี พ.ศ. 2367 และต่อมาชาวรามัญได้ทำความดีความชอบได้รับพระราชทานที่นาที่บางพลี จึงเป็นเหตุให้ชาวรามัญมาทำนาที่บางพลี ชาวรามัญนั้นจะมาเฉพาะฤดูทำนา เมื่อเสร็จสิ้นการทำนาก็จะกลับที่ปากลัด เมื่อออกพรรษาชาวปากลัดที่มีเชื้อสายรามัญส่วนใหญ่เป็นผู้เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาก็จะกลับไปทำบุญที่วัดบ้านของตน เมื่อกลับก็จะไปเก็บดอกบัวที่ตำบลบางพลีใหญ่ซึ่งมีมากมายในสมัยนั้นไปประกอบเป็น "ดอกไม้ธูปเทียน" ในการทำบุญที่มีการเทศน์คาถาพันส่งท้ายพรรษา ครั้งแรกก็เก็บกันเองต่อมาชาวอำเภอบางพลีเห็นว่าชาวรามัญมาเก็บดอกบัวทุกปี ในปีต่อๆมาจึงเก็บดอกบัวเตรียมไว้ให้ตามนิสัยคนไทยที่ชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ระยะแรกก็ส่งให้กับมือมีการไหว้ขอบคุณ ต่อมาเกิดความคุ้นเคยถ้าใกล้ก็ส่งมือต่อมือ ถ้าไกลก็โยนให้จึง เรียกว่า "รับบัว โยนบัว"
---------------------
ภาพ การเตรียมงานสองฝั่งคลอง

ความเห็นที่ 10 โพสเมื่อ : 2008-10-13 01:10:52 โดย : TT


ความเป็นไปได้กรณีที่ 3 คือ
ตำบลบางพลีใหญ่ในเดิมเป็นตำบลที่มีดอกบัวมาก อำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงเช่น อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง และอำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อถึงวาระต้องบำเพ็ญกุศลในเทศกาลออกพรรษาก็มาเก็บดอกบัวที่นี่ เพราะถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธเจ้าเวลาประทับนั่งยืน เดิน จะมีดอกบัวรองรับเสมอ อีกประการหนึ่งในเรื่องพระมาลัยได้กล่าวว่ามีชายเข็ญใจคนหนึ่งได้ถวายดอกบัวแก่พระมาลัย ยังไปเกิดเป็นเทพบุตรได้ ดังนั้นในสมัยโบราณคนจึงนิยมถวายดอกบัวแก่พระในวันออกพรรษาถือว่าได้บุญกุศลแรงมาก ถึงกับลงทุนนอนค้างอ้างแรมยังตำบลนี้เพื่อเก็บดอกบัว ในสมัยแรกๆ คงเที่ยวหาเก็บกันเองแต่ในสมัยต่อมาชาวบางพลีก็จะเตรียมเก็บไว้เพื่อเป็นการทำกุศลร่วมกันเท่านั้น
----------------------------------
ภาพ นาคที่หัวขบวนเรือของหลวงพ่อโต

ความเห็นที่ 11 โพสเมื่อ : 2008-10-13 01:17:42 โดย : TT


มีกิจกรรมมากมายในงานโดยเฉพาะวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11
ที่ไม่ควรพลาดคือ
การแข่งเรือ
การชมการประกวด สาวงาม-หนุ่มหล่อชาวรามัญ
--------------------
ภาพการแข่งเรือ

ความเห็นที่ 12 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:00:37 โดย : TT


การแข่งเรือ แข่งทีละ 2 ทีม ขนาดไปตามลำคลอง
กำหนดเส้นชัยหน้าวัด
ผู้ชนะได้รางวัลพร้อมถ้วยพระราชทาน

ความเห็นที่ 13 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:01:41 โดย : TT


ประมวลภาพการแข่งเรือ เมื่อเข้าเส้นชัย

ความเห็นที่ 14 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:03:51 โดย : TT


เมื่อมีผู้ชนะย่อมมีผู้แพ้
เพียงเสี้ยววินาทีขณะเข้าเส้นชัย
ความรู้สักต่างกันเยอะ

ความเห็นที่ 15 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:05:14 โดย : TT


ชื่อเรือ และการบูชาแม่ย่านาง(หัวเรือ)ที่แตกต่างกัน

ความเห็นที่ 16 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:11:32 โดย : TT


วันที่หลากสีสัน

ความเห็นที่ 17 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:12:32 โดย : TT


วินาที่แห่งชัยชนะ

ความเห็นที่ 18 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:14:02 โดย : TT


ใช่ว่าจะมีแต่เรือแข่ง

ความเห็นที่ 19 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:17:40 โดย : TT


มุมที่ผมยืนอยู่บนสะพานนี้เป็นมุมที่ดีที่สุดสำหรับถ่ายภาพ
เรือแข่ง วัด เจดีย์ บรรยายกาศริมน้ำ มุมกว้างของตลาดน้ำบางพลี ฯลฯ
สะพานนี้อยู่หน้าวัดหลวงพ่อโต

ความเห็นที่ 20 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:21:23 โดย : TT


ชมกิจกรรมต่างๆ แล้วอย่างลืมนมัสการหลวงพ่อโตในวัดด้วยเพื่อเป็นสิริมงคล ในวัดนี้องค์จริงครับ องค์ในเรือเป็นองค์ที่จำลองขึ้นมาสำหรับแห่

ความเห็นที่ 21 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:22:33 โดย : TT


หลวงพ่อโตในอุโบสถ

ความเห็นที่ 22 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:25:43 โดย : TT


วันนี้มากมายด้วยผู้คน และงานประเพณีรับบัว

ความเห็นที่ 23 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:27:03 โดย : TT


หรือจะเลือกห่มจีวร องค์เล็กหน้าอุโบสถ

ความเห็นที่ 24 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:28:41 โดย : TT


ไหว้พระจุดธูปเทียนด้านนอก ปิดทองด้านใน

ความเห็นที่ 25 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:30:07 โดย : TT


หรือไหว้พระในโบสถ์หลังเก่า อยู่ข้างๆ
พร้อมให้ประชาชนทำสังฆทาน กรวดน้ำให้ผู้ล่วงลับ

ความเห็นที่ 26 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:31:29 โดย : TT


งานพิธีรับบัว อยู่หน้าทางเข้าวัด

ความเห็นที่ 27 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:32:19 โดย : TT


เครื่องสักการะบูชาดอกไม้พวงมาลัย

ความเห็นที่ 28 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:33:54 โดย : TT


เสร็จจากการไหว้พระ....
ของขายในงานเพียบ
ข้าวหลาม มีไม่น้อย
ไม้ไผ่ขนกันมาเป็นต้นๆ ปลอกและเผากันเห็นๆ

ความเห็นที่ 29 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:34:46 โดย : TT


ไก่ย่าง ตามมาติดๆ

ความเห็นที่ 30 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:35:28 โดย : TT


ขนมครกสูตรโบราณ ใส่ไข่ด้วย
ของโปรดผมเลย

ความเห็นที่ 31 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:36:52 โดย : TT


ถังแตก...ก็เพียบเลย

ความเห็นที่ 32 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:38:20 โดย : TT


เกาลัค ก็มี

ความเห็นที่ 33 โพสเมื่อ : 2008-10-13 14:38:56 โดย : TT


ฯลฯ

ความเห็นที่ 34 โพสเมื่อ : 2008-10-13 15:27:51 โดย : ไทยทัวร์


ตลาดนัดภายในงาน
จะซื้อหรือทานอาหารอะไรในงาน
ไทยทัวร์แนะนำให้สอบถามราคาให้ชัดเจนก่อนนะครับ

ความเห็นที่ 35 โพสเมื่อ : 2008-10-13 15:34:18 โดย : คนกันเอง


ร้านก๋วยเตี๋ยเรือนี้ฟันราคากระจุย
ผมหลวมตัวไปทาน (ไม่ได้ถามราคาก่อน)
ชามละ 40 บาท (ปริมาณปกติทั่วๆไป)
เรื่องราคาดูเหมือนสูงหน่อย แต่พอรับได้
แป๊บซี่ (ขวดปกติ) + น้ำแข็ง ราคาชุดละ 20 บาท
เออ...ราคาสูงดี คงเป็นอย่างนี้ทุกร้านมั้ง...ไม่เป็นไร
อันนี้ผมไม่ได้ทะเลาะกับเขาหรอก...แค่รู้สึกแปลกๆ

ความเห็นที่ 36 โพสเมื่อ : 2008-10-13 15:37:25 โดย : คนกันเอง


ไม่เป็นไร...กำลังเดินออกจากร้าน
ปรากฏไปเจอร้านก๋วยเตี๋ยวเรืออีกร้านตรงกันข้ามกันเลย
ขนาดชามก๋วยเตี๋ยวเท่ากัน (ดูแล้วลูกค้าเยอะกว่า)

ติดป้ายราคาชามละ 20 บาท....
อ้อ....ขายถูกก็เลยกล้าติดป้ายราคา
ส่วนร้านแพงไม่ติดหรือแสดงราคา หากติดไปก็ไม่มีคนเข้าร้านแน่

ความเห็นที่ 37 โพสเมื่อ : 2008-10-13 18:02:22 โดย : TT


หากมางานรับบัวแล้ว ไม่ควรพลาดกับ
ตลาดน้ำโบราณบางพลี ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน
http://www.thai-tour.com/attraction/index.php?id=20

ความเห็นที่ 38 โพสเมื่อ : 2008-10-13 18:05:05 โดย : TT


อันที่จริงเทศกาลและกิจกรรมงานรับบัวยังไม่จบ
ไฮไล้ท์อยู่ที่การประกวดต่างๆ ยามเย็นริมคลองสำโรง ณ ที่ทำการอำเภอ

ความเห็นที่ 39 โพสเมื่อ : 2008-10-13 18:08:54 โดย : TT


ประกวดหนูน้อย

ความเห็นที่ 40 โพสเมื่อ : 2008-10-13 18:09:55 โดย : TT


หนุ่มสาวชาวรามัญ ประกวดในคืน วันที่ 13 ค่ำเดือน 11

ความเห็นที่ 41 โพสเมื่อ : 2008-10-13 18:13:31 โดย : TT


ตารางวันและกิจกรรม งานรับบัว โยนบัว บางพลี 10-13 ต.ค. 2551

ความเห็นที่ 42 โพสเมื่อ : 2009-01-12 12:27:20 โดย : แจกัน

น่าไปเที่ยว จังเลย ได้เข้ามาดูแล้ว เจอประเพณีดีๆที่ควรรักษาไว้ เดี๋ยวจะเอาไปเล่าต่อให้เพื่อนฟัง

ความเห็นที่ 43 โพสเมื่อ : 2009-02-02 16:30:01 โดย : ฟลุกกู๊

ความเห็นที่ 44 โพสเมื่อ : 2009-02-26 03:09:24 โดย : สุธีร์

ผมเป็นพายเรือแข่งที่นีด้วยสนุกมากครับแถมยังได้แชมป์อีกต่างหาก

ความเห็นที่ 45 โพสเมื่อ : 2009-04-08 15:34:51 โดย : *-*

ความเห็นที่ 46 โพสเมื่อ : 2009-05-02 15:55:44 โดย : note

ลานจอดรถยนต์เพียงพอหรือไม่ครับ

ความเห็นที่ 47 โพสเมื่อ : 2009-06-12 10:52:47 โดย : คนกันเอง

จอดรถแถวลานวัดได้

ความเห็นที่ 48 โพสเมื่อ : 2009-07-03 22:01:43 โดย : แจ๊ค (บ.พ 93)

เป็นสิ่งที่ชาวบางพลีไม่ควรลืม

ความเห็นที่ 49 โพสเมื่อ : 2009-07-24 10:03:12 โดย : เด็ก ส.ว

ผมดีใจมากที่ผมได้ไปเที่ยวการเที่ยวครั้งนี้ผมจะไม่ลืมเลย

ความเห็นที่ 50 โพสเมื่อ : 2009-09-02 20:08:16 โดย : vespafin

ปีที่แล้วไปโยนข้าวต้มมัด เรียกว่าข้าวต้มลูกโยน มันมั๊ก..มาก

ความเห็นที่ 51 โพสเมื่อ : 2009-09-18 10:20:33 โดย : เมฆขาว

แจ่มไปเลยงานประเพณีรับบัวของชาวบางพลี สวยงามและรักษาประเพณีของชาวบางพลีเอาไว้อย่างดีเยี่ยม

ความเห็นที่ 52 โพสเมื่อ : 2009-09-19 11:28:23 โดย : `o'

อยากไปมั่งจัง เป็นคนสมุทรปราการแท้ยังไม่เคยไปเลบ ปีนี้ต้องไปบ้างแล้ว

ความเห็นที่ 53 โพสเมื่อ : 2009-09-22 12:17:20 โดย : เเอ๋ว

อยากไปอะ

ความเห็นที่ 54 โพสเมื่อ : 2009-09-22 12:20:14 โดย : สมพล

อยากไป

ความเห็นที่ 55 โพสเมื่อ : 2010-06-02 15:39:05 โดย : Gob

ที่นี้ของขายเยอะดี หลากหลาย และมีประเพณีที่สืบทอดกันมาให้เราได้เห็นด้วย >>แต่เวลาจะไปทานอาหารต้องระวังตอนลงบันไดนะ ตะไคร่มันเยอะจะลื่นเอาได้คะ<<

ความเห็นที่ 56 โพสเมื่อ : 2010-06-04 19:29:26 โดย : QQ

ดีจัง

ความเห็นที่ 57 โพสเมื่อ : 2010-06-09 17:54:09 โดย : อัญ

อยากไปมั่งอ่า เกิดสมุทรปราการยังมั้ยเคยปัยเรย

บ้านก้ออยู่ใกล้ๆๆแค่นี้เอง (ตำหรุ)

คนคงเยอะน่าดู

ความเห็นที่ 58 โพสเมื่อ : 2010-06-14 13:29:02 โดย : น้ำซัง

คนเชียงใหม่อยากไปมั่งจัง

ความเห็นที่ 59 โพสเมื่อ : 2010-06-23 20:12:20 โดย : ยศชคัทพล

555+ เยื้อมยอดมากครับพี่น้อง แต่ผมอยากไปแต่ก็งงทำไมพ่อแม่ไม่พาผมไปบ้าง

ความเห็นที่ 60 โพสเมื่อ : 2010-08-01 17:40:14 โดย : พลอย

สนุกหมือนกัน

แต่คลเยอะ

ปีนี้ไปนะจ๊

อิอิ......

ความเห็นที่ 61 โพสเมื่อ : 2010-08-02 15:04:18 โดย : พรอย

แล้วปีนี้มีวันที่เท่ารัยค่ะ

ความเห็นที่ 62 โพสเมื่อ : 2010-08-24 18:20:33 โดย : ฟ้า

จากเด็กพุทธ

ความเห็นที่ 63 โพสเมื่อ : 2010-09-05 00:59:19 โดย : yo

ปีนี้จะเอาเรือไปเล่น

ความเห็นที่ 64 โพสเมื่อ : 2010-09-15 00:36:52 โดย : รัล บางพลี


ใกล่งานแล้วชาวเรือสองตอนพร้อมหรือยังครับ รัลบางพลี

ความเห็นที่ 65 โพสเมื่อ : 2010-10-04 13:15:34 โดย : jT

ความเห็นที่ 66 โพสเมื่อ : 2010-10-10 21:41:14 โดย : คนกันเอง

ปี 53 นี้ ไม่พลาด
19-22 ต.ค. 2553
ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลี

ความเห็นที่ 67 โพสเมื่อ : 2010-10-10 22:20:17 โดย : คนกันเอง

งานปีนี้ 19-22 ต.ค. 2553

http://ไปไหนดี.com/blog-season-งานประเพณีรับบัว-ประจำปี-2553

ความเห็นที่ 68 โพสเมื่อ : 2010-10-14 06:49:08 โดย : รัล บางพลี


ชาวเรือซิ้งมาเที้ยวงานโยนบัวกันนะครับ

ความเห็นที่ 69 โพสเมื่อ : 2010-10-18 10:18:40 โดย : ลูกลุงแดง

ปีนี้อย่าลืมมากันเยอะๆนะค่ะ เริ่ม วันที่ 19-22 ตุลาคม 2553 ค่ะ
วันที่ 22 เวลา 9.00 น ก็เริ่มโยนบัวกันแล้ว มันสุดๆๆ ด้วยความหวังดีจากชาวบางพลี ค่ะ

ความเห็นที่ 70 โพสเมื่อ : 2010-10-20 07:00:54 โดย : บุรุษไร้นาม

กุ ประเสริฐสิน ครับ

เจอกันได้ ที่งาน ครับ ^.^ <รถบั้ม>



ความเห็นที่ 71 โพสเมื่อ : 2010-10-21 17:01:22 โดย : ศิษย์เก่า บพ.

มันส์จริงๆค่ะ โดยเฉพาะพวกนักซิ่งเรือหางยาวทั้งหลาย
น้องชายเทสต์เครื่องเรือ อยู่เป็นเดือน เมื่อวานก็ขับไปซ่อมไป
เฮ่อออออมันจะไปถึงบางพลีหรือเปล่าฟร๊ะ
ปีก่อนก็ให้พ่อเอาเรือไปลากกลับ 555

ความเห็นที่ 72 โพสเมื่อ : 2010-10-26 15:33:53 โดย : PAN

ดีมากเลย น่าสนใจดีค่ะ

ความเห็นที่ 73 โพสเมื่อ : 2010-10-28 22:42:55 โดย : eyes

ขอโทษครับ กุ ประเสริฐสิน คือชื่อหมู่บ้านที่บางพลีหรือครับ ผมเคยมีเพื่อนที่ ประเสริฐสิน ชื่อกุ แต่เป็นผูหญิงครับ

ความเห็นที่ 74 โพสเมื่อ : 2010-11-18 15:36:21 โดย : ก็อต

ภาพสวยดีนะ เบอเราเอง 0802119470

ความเห็นที่ 75 โพสเมื่อ : 2011-02-19 10:42:10 โดย : cool

<i>cool</i>

ความเห็นที่ 76 โพสเมื่อ : 2011-05-28 11:30:27 โดย : เอิ๊ด


ไปงานกันไป

ความเห็นที่ 77 โพสเมื่อ : 2011-06-06 15:36:08 โดย : วัยเด็ก

สุดยอด

ความเห็นที่ 78 โพสเมื่อ : 2011-06-07 13:20:24 โดย : มินมิน

ปีนี้ต้องไปให้ได้

ความเห็นที่ 79 โพสเมื่อ : 2011-08-05 16:28:30 โดย : อุ้ม

อยากไปง่ะ แต่ไปไงง่ะ

ความเห็นที่ 80 โพสเมื่อ : 2011-08-19 10:09:15 โดย : momo

น่าเที่ยวดีน่ะอิอิอิ

ความเห็นที่ 81 โพสเมื่อ : 2011-09-07 17:45:10 โดย : ....

5555
ขอคุมากกกกก

ค่ะง

ความเห็นที่ 82 โพสเมื่อ : 2011-10-01 22:02:10 โดย : เม บางพลี

อยากไปแล้วอ่ะ สนุกมากเลย

ความเห็นที่ 83 โพสเมื่อ : 2011-10-08 06:39:11 โดย : รัล บางพลี


ชาวเรือพร้อมหรือยังครับซิ้ง

ความเห็นที่ 84 โพสเมื่อ : 2011-10-08 06:41:48 โดย : รัล บางพลี


เจอกันวันโยนบัว

ความเห็นที่ 85 โพสเมื่อ : 2011-10-08 06:46:45 โดย : รัล บางพลี


มาเที้ยวกันนะครับ

ความเห็นที่ 86 โพสเมื่อ : 2011-10-13 19:43:35 โดย : เย้เย้

งานโยนบัว หนู ไปแข่งขันพายเรือสวย งาม มาคร๊ โอ้ยเหนื่อยมากเลย แต่ก้อสนุด ดีคร๊ ถึงจะโดนบัว ปาใส่หัวก้อเถอะ

ความเห็นที่ 87 โพสเมื่อ : 2011-11-24 21:38:42 โดย : +6+6+6

....................
แท้ดีประเพณีเนี้ย
- - *

ความเห็นที่ 88 โพสเมื่อ : 2012-01-29 12:25:02 โดย : pui ปุ้ย

สวยมาก และสนุก คนเยอะมาก แต่โอเค ชอบไปถ่ายรูปคับ ประเพณีรับบัว โยนบัว สาวสวยในเรือ แห่มาสวยมากคับ ไปเที่ยวกันเยอะๆนะคับ

ความเห็นที่ 89 โพสเมื่อ : 2012-08-11 11:15:54 โดย : ใต้ร่มผาเกิ้ง

ชอบข้าวหลามและขนมครกที่นี่มากเลย....ขอบอก

ความเห็นที่ 90 โพสเมื่อ : 2013-09-24 09:13:56 โดย : หมวยลี่

น่าสนุกดีนะค๊ะ ถ้ามีเวลาจะพาคุณพ่อคุนแม่ไปเที่ยวบ้างค่ะ

ความเห็นที่ 91 โพสเมื่อ : 2013-10-06 16:55:09 โดย : Sasiwimol Khoonsri

น่าไปมากเลยค่ะ อยากดูการแข่งเรือ และกินของอร่อยๆ
ปีนี้ 56 แล้ว ทางโรงเรียนส่งให้ไปตอบคำถามประเพณีรับบัว โยนบัว ค่ะ น่าตื่นเต้นมาก โดยเฉพาะหลวงพ่อโต และ ห้องน้ำของวัดบางพลีใหญ่ใน อยากรู้มากว่าจะเป็นยังไง ตื่นเต้น ใกล้จะได้ไปแล้วค่ะ

[1]  

ตอบกระทู้
แสดงความคิดเห็น

ชื่อ
รูปภาพ
Code :
*กรุณาใส่ Code ตามด้านบน


 
ท่องเที่ยว