ดูนก  แนะนำสถานที่ดูนก

การดูนกนับเป็นกิจกรรมศึกษาธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่ง ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะไม่เพียงช่วยให้ได้รับความเพลิดเพลินจากการชมความงาม ความน่ารักของนกเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้รับอากาศบริสุทธิ์และได้ออกกำลัง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ทำกิจกรรมมีสุขภาพแข็งแรง และการดูนก ยังนำไปสู่การรู้จักและเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของนกต่อสิ่งแวดล้อม อันจะช่วยให้เกิดความตระหนักถึง คุณค่าและหันมาร่วมกันอนุรักษ์นกและธรรมชาติไว้

อุปกรณ์ดูนก

การดูนกเป็นกิจกรรมที่ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่มีอุปกรณ์บางอย่าง ก็สามารถออกไปเพลิดเพลินกับนกในธรรมชาติได้แล้ว สำหรับอุปกรณ์ดูนกที่สำคัญ คือ กล้องส่องทางไกล เป็นอุปกรณ์จำเป็นที่ช่วยขยายภาพของนกที่อยู่ในระยะไกลให้เห็นได้ชัดเจน คู่มือดูนก เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลและภาพประกอบของนกแต่ละชนิด ช่วยให้จำแนกนกที่พบได้ถูกต้อง สมุดบันทึก สำหรับเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับนกและธรรมชาติที่พบเห็น เพื่อนำมาศึกษาทบทวนในภายหลัง

เตรียมตัวดูนก

การเตรียมตัวที่ดีจะช่วยให้พบเห็นนกได้ง่ายขึ้น เมื่อออกไปดูนกควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่มาสีสันกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เช่น สีเขียว เทา หรือน้ำตาล ซึ่งจะไม่ทำให้นกตื่นกลัวหรือสังเกตเห็นได้ง่าย ทำให้มีโอกาสเข้าใกล้นกได้มากขึ้น เสื้อผ้าควรมีแขนขายาเพื่อป้องกันแสงแดดและหนามขีดข่วน รองเท้าควรเป็นชนิดที่กระชับใส่สบาย อย่าลืมสวมถุงเท้าเพื่อป้องกันการเสียดสีจากการเดิน ถ้าไปดูนกบนเขาสูงควรเตรียมเสื้อกันหนาวไปด้วย ถ้าเป็นหน้าฝน เสื้อกันฝนก็เป็นสิ่งที่ขาดมิได้

ช่วงเวลาการดูนก

ควรเริ่มต้นตั้งแต่เช้าตรู่ทันทีที่นกออกหากิน ช่วงนี้นกค่อนข้างกระฉับกระเฉง ไม่ค่อยหลบซ่อนทำให้พบเห็นนกได้ไม่ยาก จนกระทั่งสายเมื่ออากาศร้อนขึ้น นกจึงหลบพักผ่อนตามต้นไม้ ช่วงเวลานี้จะพบนกได้ยาก พอถึงยามบ่ายคล้อยแดดร่มลมตกนกจึงออกหากินอีกครั้ง เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่เหมาะสำหรับการดูนก

วิธีการดูนก

การดูนกในป่าควรไปเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพียง 2-3 คน จะช่วยให้มีโอกาสเห็นนกมากกว่าการไปเป็นกลุ่มใหญ่ เมื่อพบเห็นนกแล้วต้องทำตัวให้เงียบที่สุด งดการส่งเสียงโดยไม่จำเป็น และหลีกเลี่ยงการยืนในตำแหน่งที่เป็นจุดเด่น ซึ่งอาจใช้วิธีซุ่มดูนกหลังที่กำบัง เช่น ต้นไม้

แนะนำสถานที่ดูนก

ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

          ดอยอินทนนท์เป็นแหล่งดูนกที่สามารถดูนกได้ตลอดทั้งปี ฤดูหนาวมาเยือนทีป่าจะคึกคักไปด้วยนกอพยพ คนที่รักความหนาวควบคู่กับการดูนก ก็มักจะเดินทางมา เยื่ยมเยือน ถึงไม่ใช่ฤดูหนาวก็มีนกประจำถิ่นพวกนกศิวะหางสีน้ำตาล นกกินปลีหางยาวเขียว และสัญลักษณ์ของหน้าร้อนคือ นกเด้าลม การดูนกก็ง่าย ๆ เงียบ ๆ นิ่ง นกก็จะบินมารายล้อมให้จ้องมองกันใกล ้ๆ สำหรับต้องการที่พักสวย ๆ ใกล้ที่ดูนกนี่เลย

 จุดดูนกที่น่าสนใจ

  •      บริเวณ กม. ๑๓ เป็นจุดดูนกกางเขนน้ำหลังดำ นกพญาไฟคอเทา นกนางแอ่นตะโพกแดง
  •       กม. ๒๐ บริเวณน้ำตกวชิรธารอาจพบนกเขนหัวขาวท้ายแดง นกเขนเทาหางแดงซึ่งหาดูได้ยาก
  •       บริเวณที่ทำการฯมักพบฝูงนกแว่นตาขาวหลังเขียว   นกอัญชันหางดำ นกที่พบได้ยาก
  •       กม.๓๑ ยังเป็นที่ดูนกนิลตวา
  •       กม.๓๔.๕ มีโอกาสพบเหยี่ยวหลายชนิดเช่นเหยี่ยวหน้าเทา
  •        บริเวณ กม.๓๗ นกติ๊ดแก้มเหลือง นกนิลตวาใหญ่ นกปรอดดำ นกจับแมลงสีฟ้า นกหัวขวานเล็กหงอนเหลือง    โชคดีอาจเห็นนกปีกแพรสีม่วง และนกปีกแพรสีเขียว                                            
  •        แม่ปาน กม. ๔๒ และอ่างกาบนยอดดอยก็เป็นจุดดูนกที่สำคัญ

มุมร้านของที่ระลึก
          นี่เลยร้านลุงแดงอยู่บริเวณ กม. ๓๑ เยื้องกับที่ทำการอุทยานฯ เป็นจุดรวมของข้อมูลนก เส้นทางดูนก ภาพถ่ายนก และบันทึกวันเวลาที่พบเห็น นกจากนักดูนก ทั่วโลก ร้าน เล็ก ๆ แห่งนี้เป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องนกของนักดูนกกลุ่มต่าง ๆ อีกทั้งเรื่องราวธรรมชาติอื่น ๆ ลุงแดงเจ้าของร้านโดยส่วนตัวก็เป็นนักดูนก ผู้สนใจจึงสามารถสอบถามข้อมูลเรื่องนกจากลุงได้ นอกจากนี้ที่ร้านยังมีอาหารตามสั่ง เครื่องดื่ม และของชำรวย หลังร้านยังมีลานโล่งกางเต็นท์ได้ ......

การเดินทาง
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะรู้จักในนามของอุทยานฯ ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง สันป่าตอง และแม่แจ่ม มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 530 ตารางกิโลเมตร ระยะทางจากเชียงใหม่ถึงดอยอินทนนท์ ประมาณ 106 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1.5 - 2 ชั่วโมง จากตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถ เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้ 3 เส้นทางคือ

เส้นทางที่ 1 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางโดยใช้เส้นทางถนนสายเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอ หางดงและอำเภอสันป่าตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามถนนสายจอมทอง- อินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และ ตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด49.8 กม.

เส้นทางที่ 2 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางตามเส้นทางถนนสานเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทองและอำเภอฮอด จากอำเภอฮอดเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง ฮอด (ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอุทยานแห่งชาติออบหลวง แล้วเลี้ยวขวาต่อไปยังอำเภอแม่แจ่มโดยเส้นทางสาย ออบหลวง-แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1088) จากอำเภอแม่แจ่มใช้เส้นทางสายแม่แจ่ม-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) ขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ที่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 กิโลเมตรที่ 38-39) ...

เส้นทางที่ 3 ซึ่งเป็นเส้นทางสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ค่อนข้างจะลำบาก โดยทางจากจังหวัดเชียงใหม่ตามเส้นทางถนนสาย เชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง จากอำเภอสันป่าตอง เลี้ยวขวา ตามถนน สายสันป่าตอง - บ้านกาด-แม่วิน (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1013) แล้วต่อด้วยเส้นทาง ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1284 หรือ เส้นทาง ร.พ.ช. ผ่านบ้านขุนวาง และขึ้นสู่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ที่กิโลเมตรที่ 31 ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ...

----------------------------------------------------------------

ดอยผ้าห่มปก จ.เชียงใหม่ 

            อยู่ห่างจากดอยอ่างขางไปไม่ไกลนัก มีความสูงเป็นที่สองรองจากดอยอินทนนท์ คือสูง 2,285 เมตร เป็นยอด เขาที่มีนกสำคัญ ๆ หลายชนิดที่เคยพบ หรือพบได้เฉพาะที่ดอยแห่งนี้เท่านั้น เช่น นกติ๊ดหัวแดง  และนกไต่ไม้สีสวย นอกจากนั้น ยังพบนกปากนกแก้วคิ้วดำ  นกภูหงอนวงตาขาว ละนกพิราบป่าอกลาย ) ซึ่งเป็นนกที่หาดูได้ยากในแหล่งดูนกแห่งอื่น 
การเดินทาง
                จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ระยะทาง 150 กิโลเมตร แล้วมุ่งขึ้นมา ทางท่าตอน หรือแม่อายอีกราว 10 กิโลเมตร จะถึงบ้านป่าซาง แยกซ้ายเข้าสู่ที่ทำการหน่วยพัฒนาต้นน้ำลุ่มแม่น้ำ สาว ระยะทาง 14 กิโลเมตร และมีเส้นทางต่อไปหน่วยย่อยอีก 5 กิโลเมตร ต่อจากนั้นเป็นเส้นทางเดินเท้าสู่ยอดดอย ผ้าห่มปกราว 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 4 ชั่วโมง แนะนำที่พัก


----------------------------------------------------------------

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวงเชียงดาว จ.เชียงใหม่

               สภาพป่าของดอยเชียงดาวเป็นป่าเบญจพรรณในพื้นล่าง มีป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ ป่าสนผสม ป่าเต็งรัง และป่าดิบ เขา ส่วนใหญ่จะขึ้นไปดูนกในป่าสนและป่าดิบเขา ซึ่งมีหน่วยพิทักษ์ป่า เด่นหญ้าขัด การดูนกดูได้ตลอดเส้นทางที่ขึ้น ไปสู่หน่วยเด่นหญ้าขัด นกที่น่าสนใจเห็นจะ เป็นนกไต่ไม้ใหญ่  ไก่ฟ้าหางลายขวาง และนกจับแมลงหัวสีฟ้า  และสามารถหาดูนกปากกบลายดำ  ได้ค่อนข้างง่ายกว่าที่อื่น สำหรับนกกินแมลง ซึ่งพบได้ที่นี่เพียงแห่งเดียวในโลกนั้น ไม่มีรายงานการพบมาหลายสิบปีแล้ว 

การเดินทาง
               จากทางหลวงหมายเลข 107 เชียงใหม่-ฝาง ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 71-72 จะถึงบ้านแม่นะ ซึ่งมีทาง ลำลองแยกซ้ายขึ้นไป ผ่านบ้านปางโฮ่ง บ้านปางฮ่าง จนถึงทางแยกไปบ้านแม้วสันป่าเกี๊ยะ ระยะทาง 21 กิโลเมตร จะเป็นที่ตั้งหน่วยโครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูงหน่วยที่ 1 แม่ตะมาน จากทางแยกบ้านสันป่าเกี๊ยะไปทางทิศเหนือมี ทางรถไปสู่หน่วยดอยหลวงเชียงดาวที่เด่นหญ้าขัด จากเด่นหญ้าขัด มีทางเดินเท้าผ่านสันเขา ข้ามเข้าสู่หุบดอย เชียงดาว ฤดูกาลที่เหมาะต่อการมาดอยเชียงดาว คือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เพราะจะเป็นช่วงที่นกเริ่ม ย้ายถิ่นมากันแล้ว  การติดต่อขออนุญาตขึ้นยอดดอย ติดต่อที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ โทร. 561-4292 ต่อ 706-7 และหาก ต้องการลูกหาบ คนนำทางในการเดินขึ้นยอดดอยในเส้นทางสายบ้านแม่นะ ติดต่อได้ที่ร้านค้าบริเวณถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว 
 

----------------------------------------------------------------

 

ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่ 
ตามหุบห้วยในที่ชัน ๆ และตามป่าหญ้า ป่าละเมาะ มีนกที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น นอก ปากนกแก้วอกลาย  นกกะรางอกลาย  นกหัวขวานอกแดง  นกกระทาป่าไผ่  นกปรอด หงอนปากหนา ส่วนนกชนิดอื่น ๆ นั้น มีไม่ต่ำกว่า 250 ชนิด เส้นทางจาก สถานีเกษตรอ่าง ขางไปหมู่บ้านมูเซอ ขอบด้ง บ้านนอแล บ้านจีนฮ่อบ้านหลวง เป็นที่พักของ บรรดานกย้ายถิ่นหลายชนิด และบริเวณ หลังหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ สภาพป่ายังสมบูรณ์ ไม่ควรพลาดในการ 

การเดินทาง
               จากตัวเมืองเชียงใหม่ 180 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ถึงกิโลเมตรที่ 137 มีทาง แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1249 ขึ้นดอยอ่างขางอีกประมาณ 25 กิโลเมตร บนดอยอ่างขางมีรีสอร์ท ธรรมชาติอ่างขาง ซึ่งเป็นรีสอร์ทที่อยู่ในบริเวณโครงการหลวง 
 

  ----------------------------------------------------------------

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จังหวัดเชียงราย 

                มีลักษณะเป็นหนองน้ำธรรมชาติที่ล้อมรอบด้วยเนินเขา เป็นแหล่งรวมของนกเป็ดน้ำที่ย้ายถิ่นเข้ามาในฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมีนาคม เช่น เป็ดเปียหน้าเขียว  เป็ดเปีย และเป็ดปากพลั่ว  บริเวณหลังฝายกักน้ำ จะมีเป็ดน้ำมารวมกันอยู่ในตอน กลางวัน ซึ่งถ้าสังเกตให้ดี อาจพบเป็ดหายากหลายชนิด 

การเดินทาง
                จากตัวเมืองเชียงรายไปตามเส้นทางพหลโยธินถึงอำเภอแม่จัน ระยะทาง 30 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าสู่ทาง หลวงหมายเลข 1016 (แม่จัน-เชียงแสน) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 27 บ้านกู่เต้า แยกขวามือเข้าสู่บริเวณเขตห้ามล่าสัตว ์ป่าหนองบงคาย ระยะทาง 1 กิโลเมตร ติดต่อขออนุญาตได้ที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่ากรมป่าไม้ โทร. 561-4292 ต่อ 706-7 หรือติดต่อโดยตรงที่สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย บ้านกู่เต้า ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 57150  
แนะนำที่พัก

----------------------------------------------------------------

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก    
           
                 เป็นแหล่งดูนกที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง สามารถดูนกตามป่าริมถนนสายแม่สอด-อุ้มผาง แหล่งที่ดูนกได้ดีเริ่ม จากบริเวณกิโลเมตรที่ 106 เป็นต้นไปถึงกิโลเมตรที่ 130 แต่ช่วงที่ดีมากอยู่ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 115-125 ในช่วงนี้มีนกที่น่าสนใจดังนี้ คือ นกภูหงอนพม่า  นกปรอดโอ่งหน้าผากเทา นกปรอดเล็กสีไพลตาแดง  นกระวังไพรปากแดงสั้น  นกเขาเปล้าหางเข็ม  และนกหัวขวานจิ๋วคิ้วขาว  เป็นต้น
 
การเดินทาง 
                ใช้เส้นทางตาก-แม่สอด ทางหลวงหมายเลข 105 ประมาณกิโลเมตรที่ 70 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางแม่สอด-อุ้ม ผาง ทางหลวงหมายเลข 1090 ซึ่งควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากถนนมีความคดเลี้ยวมาก ระหว่าง ทางจะมีจุดแวะพักที่บริเวณกิโลเมตรที่ 84 มีร้านขายอาหารและเครื่องดื่มสำหรับที่พักนั้น

----------------------------------------------------------------

 

ขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี

                 มีลักษณะของป่าหลายชนิด เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ซึ่งเป็นป่าที่สามารถพบนกหัว ขวานได้หลายชนิด นก ที่น่าสนใจมีดังนี้ นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง  เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว  นกเงือกคอแดง นกยูง  นกติ๊ดสุลต่าน ไก่ฟ้าหลังเทา  นกจาบคาเคราน้ำเงิน นกแว่นสีเทา  และนกชนิดอื่น ๆ รวมกันกว่า 370 ชนิด สามารถเดินดู นกได้ตามทางเดินศึกษาธรรมชาติเขาหินแดง ซึ่งเป็นเส้นทางวงแหวน มีจุดเริ่มต้นอยู่ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 300 เมตร ระยะทางประมาณ 4.5 กิโลเมตร 

การเดินทาง 
                 ที่ทำการเขตฯ อยู่ห่างจากตัวเมืองอุทัยธานีประมาณ 102 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอุทัยธานี-หนองฉาง-ลาน สัก ทางหลวงหมายเลข 3438 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 53-54 เลี้ยวซ้ายเข้าไปตามทางลูกรังประมาณ 14 กิโลเมตร การ เดินทางไปดูนกในห้วยขาแข้งจึงควรติดต่อขออนุญาตจากส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ โทร. (02) 561-4292 ต่อ 706-7 หรือขอจากทางเขตฯ โดยตรง โดยติดต่อที่ตู้ ปณ.7 อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี 61160 (ยกเว้นการ เดินดูนกตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาหินแดง) รีสอร์ทใกล้นี่เลย
 

----------------------------------------------------------------

 

บึงบอระเพ็ด นครสวรรค์

คงไม่มีนักดูนกคนใดปฏิเสธได้ว่าบึงบอระเพ็ดมิใช่แหล่งดูนกน้ำชั้นยอดของเมืองไทย ที่นี่ในอดีตคือแหล่งน้ำ ที่ชุกชุมไปด้วยจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย พรรณปลานานาชนิด เช่น ปลาเสือต่อ ปลาชะโด ฯลฯ แหล่งนกเป็ดน้ำ นานาชนิดรวมทั้งนกน้ำขนาดใหญ่ ๆ วันเวลา เปลี่ยนแปลงไป วันนี้บึงบอระเพ็ดไม่มีจระเข้ให้เราต้องกลัว ปลาเสือตอสูญหายไป นกน้ำขนาดใหญ่ ๆ ก็หายไป แต่นักดูนกยังจำบึงบอระเพ็ดได้แม่นยำ ก็เพราะมันคือ ถิ่นของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือเรียกสั้น ๆ ว่านกเจ้าฟ้าฯ  

             การดูนกในบึงบอระเพ็ด ส่วนใหญ่ต้องใช้เรือเป็นพาหนะ สามารถกระทำได้ตลอดปี ปกตินิยมไปดูนกกัน ช่วงปลายเดือนตุลาคม ถึงต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ปลอดฝน และมีนกย้ายถิ่น เช่น นกเป็ดน้ำเข้ามาหากิน เป็นจำนวนมาก ช่วงเวลาที่ดีที่สุด สำหรับการดูนกเป็ดน้ำ จะอยู่ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ หากพ้นช่วงดังกล่าวไปแล้ว นกเป็ดน้ำหลายชนิดจะบินกลับถิ่นเดิม เหลืออยู่แต่นกประจำถิ่น เช่น นกอีโก้ง นกอีแจว นกอีล้ำ และนกพริก เป็นต้น

การเดินทาง

 จากตัวเมือง นครสวรรค์ ไปบึงบอระเพ็ด สามารถเข้าถึง บึงบอระเพ็ด ได้ 2 ด้าน คือ

 1. ทางด้านเหนือ เดินทาง ไปตามเส้นทาง สายนครสวรรค์-ชุมแสง ประมาณ 9 กิโลเมตร จะมี ทางแยกขวา อีก 2 กิโลเมตร เข้าไปยัง "สถานีประมง บึงบอระเพ็ด" ภายใน บริเวณ สถานี มีบ่อ เพาะพันธุ์ปลา และจระเข้ มีเรือหางยาว นำชมบึง

 2. ทางด้านใต้ ของบึงบอระเพ็ด จากตัวเมือง ใช้เส้นทาง สายนครสวรรค์-ท่าตะโก ประมาณ 20 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้าย ตามป้ายอีก 4 กิโลเมตร ถึง "อุทยานนกน้ำ" หรือ "เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า บึงบอระเพ็ด"

----------------------------------------------------------------
 

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

 "อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน" อุทยานฯใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เพชรบุรี ผ่านป่าละอูที่หัวหิน ไปจนถึงเขาพะเนินทุ่งใกล้ประจวบฯ

          ที่นี่คือสวรรค์ของนักดูนกทั้งหลาย ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีปักษามากสุดในเมืองไทย ประมาณว่านก 400 ชนิดอาศัยอยู่ในป่าแห่งนี้ ที่เด่นดังเป็นดารานก ได้แก่ "กะลิงเขียดหางหนาม" เจ้านี้ใครเห็นเข้าไปควรชื่นชม เพราะไม่ชมที่นี่ก็ไม่มีที่ไหนให้ชมอีกแล้ว แถวนี้ยังมี "นกพญาปากกว้าง" ครบทุกชนิดเท่าที่เจอในเมืองไทย (7 ชนิด) ประมาณ กม.ที่15-18 นกที่พบ เจ้าเหยี่ยวออสเปร ะหว่างทางที่ผ่านไป ก็เจอพวกนกกระแตแต้แว้ด ไก่ป่า เจ้านกจับแมลงอกสีฟ้าพญาปากกว้างสีดำ  และเจ้านกกระจิบคอดำ นกจาบคาเคราแดง ( นกขุนแผนหัวแดง และ นกพญาปากว้างหางยาว

  การเดินทาง
          เดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงเพชรบุรี ในระยะทางประมาณ 115 กิโลเมตร และจากเพชรบุรีสามารถเดินทาง เข้าสู่ที่ทำการอุทยานฯได้หลายทางคือ โดยทางรถยนต์ไปตามเส้นทางเพชรเกษม มุ่งลงใต้ผ่านอำเภอท่ายาง ถึงสี่แยกเขื่อนเพชร ระยะทางราว 20 กิโลเมตร แยกขวาเข้าไปตามเส้นทางไปเขื่อนเพชร ตามทางลาดยางลึกเข้าไปอีกประมาณ 38 กิโลเมตร ผ่านบ้างช่อง ผ่านเข้าสู่บริเวณเขตเขื่อนดินแก่งกระจานเลียบตามถนนลาดยางขอบอ่าง จากตัวเขื่อนอีกประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ โดยรถโดยสารรับจ้างบริเวณที่จอดรถ โดยสารประจำทางบริเวณใกล้โรงภาพยนต์เพชรบุรีรามา อันเป็นจุดลงรถจากกรุงเทพฯ ถึงบริเวณบ้านแก่งกระจาน สุดทางเดินรถสายแก่งกระจาน แล้วต่อรถจักรยานยนต์รับจ้างอีกราว 4 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยาน
     หาที่นี่พักใกล้ ๆ นี่เลย 
 


----------------------------------------------------------------

วัดไผ่ล้อม จ.ปทุมธานี 


เป็นแหล่งที่นกปากห่าง  ทำรังวางไข่ นอกจากนี้ยังพบนกกะเต็นหัวดำนกเต้าลมดง  นกเค้าจุด บางครั้งอาจพบนกกระทุง  และนกกุลา  ในช่วงฤดูย้ายถิ่น แหล่งที่พบนกปากห่างอาศัย อยู่มากอีกแห่งหนึ่ง คือ ที่สวนนกท่าเสด็จ หรือที่เรียกกันติดปากว่าบ้านลุงจอม อยู่ที่บ้านท่าเสด็จ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอาจได้พบนกกุลาหรือนกช้อน หอยขาวได้ด้วยเช่นกัน 

การเดินทาง
              ใช้เส้นทางถนนสายปทุมธานี-สามโคก เลยที่ว่าการอำเภอสามโคกถึงวัดสามัคคียาราม แล้วลงเรือข้ามฟากไปวัด ไผ่ล้อม หรือจะนั่งรถสองแถวสายไปวัดไผ่ล้อมจากหัวถนนติวานนท์ (ทางหลวงหมายเลข 306) ถึงสามแยก เลี้ยว ขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 346 ประมาณ 1 กิโลเมตร ทางซ้ายมือมีทางราดยางเข้าสู่วัดเสด็จและวัดไผ่ล้อม ระยะทาง 15 กิโลเมตร ไปลงที่หน้าวัดไผ่ล้อม 

----------------------------------------------------------------
 

อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์

              มีการพบนกในราว 296 ชนิด อาศัยหากินในพื้นที่อุทยาน ฯ โดยเฉพาะบริเวณทุ่งสามร้อยยอด ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น นกกาบบัว  นกกระสาแดง  เป็ดหางแหลม  นกอินทรีปีกลาย นอกจากนี้บริเวณที่ทำการฯ ก็สามารถพบนกจาบคาหัวส ีส้ม นกกะรางหัวขวาน  เหยี่ยวนกออก  และหากขับรถไปตามเส้นทางวงรอบอุทยานฯ จะผ่านนากุ้ง หาดชายเลน อาจหยุดดูนกชายเลนไป เรื่อย ๆ ได้ 

การเดินทาง
              จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถึงสี่แยกปราณบุรีแล้วเลี้ยวซ้าย ไปตามถนนสายปากน้ำปราณบุรี ประมาณ 4 กิโลเมตร จะเห็นป้ายบอกทางไปอุทยานฯ ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. ซึ่งเป็นถนนราดยางอีก ประมาณ 31 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการฯ อีกเส้นทางหนึ่งคือ จากทางหลวงหมายเลข 4 เมื่อถึงหลักกิโลเมตรที่ 276.5 (บ้านสำโหรง) ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนน รพช. อีก 14 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถทัวร์ หรือรถไฟ ลงรถที่ อ.ปราณบุรี จากนั้นขึ้นรถรับจ้างไปที่ทำการฯ ในบริเวณที่ทำการฯ เขาแดง มีบ้านพัก 3 หลัง และร้านอาหาร เช่นเดียวกับที่บริเวณหาดแหลมศาลา ควรจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ติดต่อที่ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. (02) 561-4292 ต่อ 724-5 แนะนำที่พัก

----------------------------------------------------------------

 

อุทยานนกน้ำทะเลน้อย พัทลุง

 หาดทรายริมฝั่งทะเลสาปน้ำจืด เหมาะกับการปิคนิคเพลินๆ  โชคดีๆ อาจได้เห็นฝูงปลาโลมาหัวบาตรโปรแกรมเที่ยว การไปพัก และแล(ดู)นก ที่อุทยานนกน้ำทะเลน้อย อ.ควนขนุนเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาปน้ำจืด โดยการกำกับดูแลของกรมอุทยานฯ จึงอุดมไปด้วยสัตว์ป่า นกน้ำทั้งอยู่ประจำและอพยพไปมากว่า 187 ชนิด ทั้งยังเป็นพื้นที่หลากพรรณพืชน้ำ ตลอดช่วงปีสามารถพบเห็นชีวิตนกในบึงทั้ง นกกระแตแต้แว้ด นกนางนวลแกรบเคราขาว นกกาน้ำเล็ก ฯลฯ อาศัยกินอยู่หลับนอน นอกจากนี้ทัศนียภาพของห้วงน้ำ บัว สีชมพูบานสะพรั่ง สนใจอยากสัมผัสธรรมชาติใกล้ชิด ติดต่อใช้บริการ หอดูนก เรือนพักอิงน้ำ และเช่าเรือชมนกได้ที่สำนักงานอุทยานฯบรรยากาศทิวสนร่มรื่น

การเดินทาง
         สะดวกทั้งรถโดยสารบขส. และรถไฟ ถึงกลางเมือง ด้านทิศตะวันออกของสถานีรถไฟ มีเขาหินปูนตั้งสูงเด่นเห็นแต่ไกล ตรงปลายเขา มีโพรงทะลุลอดคือ  สัญลักษณ์ "เขาอกทะลุ" สอดส่ายมองหารถโดยสาร 2 แถว สีฟ้าพาตะเลง ออกพ้นเมืองมุ่งหน้า ต.ลำปำ  ระยะทาง 8 ก.ม. ถึงที่หมาย หาดแสนสุขลำปำ เป็นที่พักหย่อนใจสบายตา แนะนำที่พักจังหวักใกล้ๆ  

----------------------------------------------------------------

 

ป่าโกงกางและชายทะเลหน้าเมืองกระบี่ จ.กระบี่ 

          การดูนกที่นี่จะใช้เรือเป็นพาหนะ จะพบนกกะเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล (Brown-winged Kingfisher) นกแต้วแล้วป่าโกงกาง (Mangrove Pitta) นกโกงกางหัวโต (Mangrove Whistler) นกกะเต็นแดง (Ruddy Kingfisher) นกหัวขวานใหญ่สีเทา (Great Slaty Woodpecker) และนกกินปลีคอสีทองแดง (Copper-throated Sunbird) ถัดเข้าไปจะเป็นคลองเล็ก ๆ ที่พบนกเด่นที่สุด คือ นกฟินฟุท (Masked Finfoot) ช่วงเดือนพฤษภาคม เวลาใกล้ขึ้น 15 ค่ำ หรือแรม 15 ค่ำ จะเป็นช่วงที่ดี เพราะน้ำจะลงมาก นกต่าง ๆ จะออกมากินกุ้ง หอยตามริมตลิ่ง เวลาที่พบนกมาก ๆ คือ ช่วงเช้าและเย็น 

การเดินทาง 
                เรือที่จะพาไปดูนกของบังไต๋เป็นที่รู้จกักันดีของนักดูนก   แนะนำที่พัก

----------------------------------------------------------------

 

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม หรือ เขานอจู้จี้ จ.กระบี่

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น มีป่าชั้นรองและป่าดั้งเดิมป่ารอบ ๆ เขานอจู้จี้นี้เป็นป่าที่ราบต่ำแห่งสุดท้ายอันเป็น ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกแต้วแล้วท้องดำ ที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ รวมทั้งนกชนิดอื่น ๆ อีกไม่ต่ำกว่า 307 ชนิด เช่น นกแซวสวรรค์  นกเงือกดำ  นกปรอดดำปีกขาว  นกแต้วแล้วยักษ์ นกเปล้าหน้าแดง  นกจู๋เต้นลาย ไก่ฟ้าหน้าเขียว และนกพญาปากกว้างท้องแดง  เป็นต้น 

การเดินทาง
               ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านแยกที่จะเข้าตัวเมืองกระบี่ลงไปทางจังหวัดตรังประมาณ 32 กิโลเมตร ก่อนถึง อำเภอคลองท่อม เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4038 เพียงเล็กน้อยจะเห็นป้ายบอกทางเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าเขาประ-บางคราม แยกไปตามป้ายบอกทางเป็นระยะ ๆ ราว 17 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านบางเตียว อันเป็นที่ตั้งของ ที่ทำการเขตฯ รวมทั้งสำนักงานโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าที่ราบต่ำเขานอจู้จี้ ที่สามารถสอบถามข้อมูลได้ แนะนำที่พัก

----------------------------------------------------------------

 
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง

           
เป็นแหล่งดูนกชายเลนที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ นกย้ายถิ่นจะเริ่มมากันในฤดูหนาว คือ ตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึงเมษายน ที่สำคัญก็คือ นกหัวโตกินปู  ซึ่งมักพบในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมนกทะเลขาเขียว ลายจุด  และนกชายเลนกระหม่อมแดง  บน เกาะลิบงยังมีนกที่น่าสนใจอีก เช่น นกเค้าป่าหลังจุด  นกจาบคาคอสีฟ้า  นกแต้วแล้วป่าโกงกาง  และนกเปล้าคอสีม่วง จุดเฝ้าดูนกดีที่สุดคือ บริเวณหาดตูบ หรือจะดูที่แหลมจูโหย หรือนั่งเรือไปหาดพานช้างก็ได้ ถ้าให้ดี ควรอยู่ในช่วง 8 ค่ำ เพราะน้ำจะขึ้นช้าลงช้า มีเวลาให้รอดูนกได้นาน ส่วนพวกนกป่าก็หาดูได้ตามเส้นทางหลังที่ทำ การเขตฯ 

การเดินทาง
                การเดินทางสู่หมู่เกาะแถบทะเลตรังมีช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ตั้งแต่เดือนธันวาคม-เมษายน ติดต่อขอข้อมูล หรือที่พักบนเกาะลิบงได้ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ตู้ ปณ.5 ปทจ.กันตัง จังหวัดตรัง 92110 โทร. (075) 251-932 โดยเดินทางจากอำเภอเมือง ไปอำเภอกันตังตามทางหลวงหมายเลข 403 แนะนำที่พัก

----------------------------------------------------------------

 

อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล  

นับเป็นแหล่งดูนกที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในภาคใต้เป็นดงดิบและมีป่าที่ราบต่ำอยู่บ้างไม่มากนัก นกที่น่าสนใจ ของทะเลบัน คือ นกเงือกหัวแรด นกชนหิน  นกกางเขนน้ำ หลังแดง นกแต้วแล้วลาย  นกหัวขวานหลังสีส้ม  นกปลีกล้วยปากยาว  เป็นต้น 

การเดินทาง
               ช่วงที่เหมาะสำหรับเดินทาง คือ ช่วงเดือนธันวาคมถึงเมษายน การเดินทางจากตัวเมืองสตูลใช้ทางหลวง หมายเลข 406 ระยะทาง 19 กิโลเมตร ถึงสามแยกควนสตอเลี้ยวขวา เข้าทางหลวงหมายเลข 4184 ไปอีก 20 กิโลเมตร หากไปจากอำเภอหาดใหญ่ให้ย้อนขึ้นไปทางอำเภอรัตภูมิ และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 406 ระยะทาง 80 กิโลเมตร ถึงสามแยกควนสตอแล้วเลี้ยวซ้าย สอบถามโดยตรงได้ที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล 91160 

    ----------------------------------------------------------------

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 

สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า และป่าเต็งรัง รวมทั้ง เต็งรังผสมป่าสนเขา ธรรมชาติ สภาพเช่นนี้ทำให้มีการพบนกได้ไม่ต่ำกว่า 360 ชนิด นกท ี่น่าสนใจก็เห็นจะเป็นนกอ้ายงั่ว  เป็ดก่า นกขมิ้นปากเรียว ซึ่งทำรังวางไข่ที่ป่า แห่งนี้ ไก่ฟ้าหลังขาว และไก่ฟ้าพญาลอ  นกหัวขวานชนิด ต่าง ๆ เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ  ซึ่งก็เป็นนกประจำถิ่นที่ป่านี้ด้วยเช่นกัน นกที่ อาศัยอยู่ตามพื้นดินชนิดที่น่า สนใจก็มีนกกระทาทุ่ง นกแต้วแล้วหูยาว และนกโกโรโกโส บริเวณที่เหมาะสำหรับดูนกอีกแห่ง คือ ทุ่งกะมัง ทุ่งหญ้ากว้างใหญ่เขียวขจีล้อม รอบด้วยภูเขา 

การเดินทาง
             จากจังหวัดชัยภูมิใช้ทางหลวงหมายเลข 201 (ชัยภูมิ-ชุมแพ) อยู่บนเส้นทางที่จะเข้าเขื่อนจุฬาภรณ์ทางหลวง หมายเลข 2055 ระหว่างกิโลเมตรที่ 24-25 ทางด้านซ้ายมือ พื้นที่ครอบคลุมเขตป่าของอำเภอคอนสาร เกษตร สมบูรณ์ และหนองบัวแดง การเข้าไปดูนกควรขออนุญาตจากหัวหน้าเขตฯ ที่หน้าประตูทางเข้าก่อน เนื่องจากเป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ไม่ได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ ที่พักแนะนำ

 

 
ท่องเที่ยว