แก้ไข

เทศกาลประเพณี, นครศรีธรรมราช

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

พระบรมธาตุเจดีย์เป็นเสมือนตัวแทนขององค์พระพุทธเจ้า ซึ่งชาวนครฯ เชื่อมั่นว่ามีบุญญาภินิหารหาที่เปรียบมิได้ ทั้งนี้เพราะว่าภายในพระเจดีย์ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ ในปีหนึ่งๆ พุทธศาสนิกชนจะบูชาองค์พระธาตุเจดีย์ด้วยการจัดขบวนแห่พระบฎขึ้นห่มองค์เจดีย์เพื่อความเป็นสิริมงคลอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในการดำรงชีพทุกด้าน ประเพณีนี้จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ซึ่งจะทำกันในวันมาฆบูชา คือในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 และในวันวิสาขบูชา คือในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6

 

ประเพณีเทศกาลเดือนสิบ

 

เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่มากของชาวภาคใต้และนครศรีธรรมราช งานประเพณีนี้เริ่มในวันแรม 1 ค่ำถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกๆ ปี ประเพณีเทศกาลเดือนสิบ เป็นงานบุญเพื่อแสดงความกตัญญูต่อบุพการีซึ่งล่วงลับไปแล้ว ตามความเชื่อทางพุทธศาสนาว่าผู้ล่วงลับไปแล้วมีบาปมากจะตกนรกและกลายเป็น "เปตชน" หรือเปรต จะถูกปล่อยตัวจากนรกเพื่อให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องและลูกหลานของตนในเมืองมนุษย์ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ และให้กลับลงไปอยู่ในนรกดังเดิมก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จึงพยายามหาอาหารต่าง ๆ ไปทำบุญตามวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เริ่มในวันแรม 13 ค่ำ ซึ่งเป็น "วันจ่าย" หมายถึง วันออกจับจ่ายซื้อของที่จำเป็นในการจัดตกแต่ง "หมรับ" (สำรับ) ในวันแรม 14 ค่ำ คือวัน "ยกหมรับ" หมายถึง การยก "หมรับ" ไปวัดหรือวันรับตายายและวันที่ผู้ล่วงลับจะต้องกลับลงไปอยู่ในนรกตามเดิม คือวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่า "วันบังสุกุล" หรือวันส่งตายาย สำหรับหมรับในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาจากการจัดหมรับแบบดั้งเดิม เป็นการตกแต่งให้สวยงามมากขึ้น โดยมีองค์ประกอบครบถ้วนตามแบบโบราณและจัดให้มีการแข่งขันการจัดหมรับขึ้นอีกด้วย โดยจะมีพิธีขบวนแห่แหนกันอย่างสวยงามตลอดแนวถนนราชดำเนินในวันแรม 14 ค่ำ เดือนสิบ

 

ประเพณีชักพระ หรือ ลากพระ

 

อิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียได้กระจายสู่แนวคิดของชาวนครศรีธรรมราชสืบต่อกันมา ถือว่าเป็นการแสดงความยินดีที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ จึงอัญเชิญขึ้นประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนเหตุผลแท้จริงของชาวนครฯ ในการปฎิบัติคือเป็นการอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรออกแห่แหนหลังจากอยู่ในพรรษาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อเป็นการผ่อนคลายความจำเจและประกวดประชันความเลื่อมใสศรัทธากัน จะทำกันในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยก่อนหน้านั้นประมาณ 7 วัน จะมีการตีกลอง รัวกรับเรียกว่า "คุมพระ" และตกแต่งบุษบกสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร (พระลาก) การลากพระนิยมทำกันในวันออกพรรษาเพียงวันเดียวโดยลากออกจากวัดตอนเช้าไปชุมนุมกันที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ และลากกลับวัดในวันรุ่งขึ้น

 

กีฬาชนวัว

 

ถือเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้อย่างหนึ่ง และเป็นกีฬาท้องถิ่นอันสืบทอดมาเป็นเวลานานของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวิธีการอย่างละเอียดและมีขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกโคตัวผู้พันธุ์ดี ลักษณะดี สายเลือดดี เพื่อเลี้ยงและฝึกฝนอย่างใกล้ชิด การชนโค จะจัดให้มีขึ้นทุกสัปดาห์โดยหมุนเวียนกันไปตามอำเภอต่างๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวจังหวัดมากนัก ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอปากพนัง อำเภอฉวางและอำเภอทุ่งสง

 

ที่พักแนะนำ