|
|
ดอยอ่างขาง เป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งมีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่หาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง โดยมีชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง จีนฮ่อ และไทยใหญ่ นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม ฯลฯ พืชผักเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ เช่น แคร์รอท ผักสลัดต่างๆ สวนสมุนไพร แปลงดอกไม้ เช่น คาร์เนชั่น กุหลาย แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ โรงบรรจุผลไม้เพื่อส่งจำหน่ายและสหกรณ์ของโครงการ ซึ่งจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล |
โรงแรมในบริเวณดอยอ่างขาง
|
Amari Nature Resort |
|
โรงแรมในเครืออมารี 5 ดาว, เป็นบังกะโล มี 2 แบบ: Garden View and Moutian View.
จากจุดร้านอาหารของ รร. สามารถชมทิวทัศน์ภูเขาและหมู่บ้านชาวเขาได้ชัดเจน มีสวนไม้ดอกไม้ประดับ ต้นเมเปิ้ล ดวกบ้วย ฯลฯ |
ความเห็นที่
1 โพสเมื่อ :
2008-09-23 11:41:23 โดย :
แนน
|
ประเทศไทยนับว่าโชคดีเพราะมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทางประวัติศาสตร์ เช่น อยุธยา สุโขทัย ลพบุรี เชียงใหม่ หรือแม้แต่กรุงเพทฯ เรามีป่าไม้ธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติ เชตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่เต็มไปด้วยรบบนิเวศน์วิทยา ในโลกของะรรมชาติ ที่ควรศึกษาทั้งความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และความเป็นอยู่ของธรรมชาติ
การท่องเที่ยวเมืองไทยไม่เคยหยุดนิ่ง เรามีท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยเฉพาะในโครงการหลวง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยุ่ในเขตภาคเหนือ
โครงการหลวงทั้งหมด 38 แห่งล้วนเกิดขึ้นตามแนวคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงต้องการให้วิถึชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาในพื้นที่ดีขึ้น ด้วยการสร้างเกษตรแผนใหม่ ทดแทนการปลูกฝิ่น และตัดไม้ทำลายป่า
มุลนิธิโครงการหลวงได้เข้าไปปรับปรุงพื้นที่ในหลายโครงการให้สวยงาม พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ชาวเขามีอาชีพมีรายได้ก่อนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
นักท่องเที่ยวไม่ได้เพียงผลผลิดที่กลั่นกรองจากธรรมชาติเท่านั้น หากศึกษาด้วยตัวเองสักนิด จะรู้จักคุณค่าสิ่งของนั้นๆ และคุณคือคนไทยคนหนึ่งจะรักษ์และหวงแหนมัน
----------------------------------------------------------------------------------------------
หากสังเกตุผมจะใช้คำว่า "รักษ์" ไม่ใช่ "รัก" มันคือการใช้แทนการหวงแหน+การเรียนรุ้ +อนุรักษ์
ในบอร์ดนี้ผมจะขอบรรยายความประทับใจส่วนตัวปนเข้าไปด้วย....ไม่ว่าจะเป็นที่ ดอยอ่างขาง ดอยอินทนนท์ บ้านวัดจันทร์ ขุนวาง ฯลฯ
|
ความเห็นที่
2 โพสเมื่อ :
2008-09-23 11:43:10 โดย :
แนน
|
ประวัติโครงการหลวง
---------------------
จากการ เสด็จแปรพระราชฐานมายัง
พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศนจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเยี่ยมเยือนทุกข์สุขของราษฎรในภาคเหนือทุกปีพระบาทสมเด็จ
ีพระเจ้าอยู่หัวฯทรงตระหนักถึงความทุกข์ยากของราษฎร
ชาวไทยภูเขาที่ยังนิยมปลูกฝิ่นเพื่อหารายได้ยังชีพพระองค
์ทรงรับทราบถึงปัญหาดังกล่าวที่จะเป็นอันตรายต่อประเทศ
ชาติ
สืบเนื่องมาจากความทุกข์ยากของราษฎร และการขาดแคลนที่ดินทำกินขาดความรู้ในด้านการเกษตร ตามที่ตลาดต้องการขาดความรู้ในการป้องกันรักษาที่ดินให้ เสื่อมโทรมอีกทั้งยังไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินให้ดีอยู่เสมอ ตลอดจนยังขาดเส้นทางคมนาคม ที่จะสามารถส่งผลผลิตสู่ตลาดและยังด้อยความรู้ในด้าน
การตลาด จากที่กล่าวมากนี้ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า การทำไร่เลื่อนลอยเพื่อหาที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ เราจึงต้อง
สูญเสีย ป่าไม้และทรัพยากรไปเป็นจำนวนมาก
ในปี พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงได้ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค
์จัดตั้ง “โครงการหลวง” ขึ้น เพื่อช่วยประสานงานกับหน่วยราชการต่างๆ เพื่อเร่งรัดดำเนินการ แก้ไข ปัญหาชาวเขาอย่างรีบด่วนโดยมี มจ.ภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระราชดำริ และนำมาปฏิบัติ โดยดำรงตำแหน่ง องค์อำนวยการโครงการฯ ซึ่งมีชื่อเรียกโครงการนี้ในสมัยเริ่มงานครั้งแรกว่า “โครงการหลวงพัฒนาชาวเขา” หรือ “โครงการหลวงพัฒนาภาคเหนือ ” ส่วนคณะผู้ทำงานจากหน่วยงานต่างๆ ที่อาสาสมัครออกไปทำการส่งเสริมช่วยเหลือชาวไทยภูเขาในวันหยุดราชการ
หรือวันอาทิตย์ จะเรียกงานนี้ว่า “โครงการเกษตรหลวงในพระบรมราชานุเคราะห์” และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อให้เหมาะสมอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2523 เป็น “โครงการหลวง”
โครงการหลวง มีงานหลักเพื่อสนองพระราชดำริ 4 ขั้นตอน คือ งานวิจัย งานส่งเสริม งานพัฒนาที่ดิน งานพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคม กรมพัฒนาที่ดินได้เข้ามาร่วมอย่างจริงจัง
ในปี 2519 โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้เสด็จ พระราชดำเนินไปที่บ้านทุ่งเรา
อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ และทรงมีพระราชดำริ “พื้นที่นี้สมควรที่จะเข้าทำการพัฒนาและจัดที่ดินให้ราษฎรและชาวเขาเข้าทำกินเป็นหลัก แหล่งถาวร”โดยขอให้หน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน กรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมดำเนินงาน พัฒนาที่ดินซึ่งรับผิดชอบงานพัฒนาที่ดิน จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่จาก กองบริรักษ์ที่ดิน กองสำรวจดิน กองสำรวจดิน กองจำแนกที่ดิน ทั้งนี้โดยใช้งบประมาณจากกองบริรักษ์ที่ดินเป็นบางส่วน และรับเงินสมทบจากโครงการอีกจำนวนหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2522 กรมพัฒนาที่ดิน ได้มีงบประมาณเพื่อดำเนินการ โครงการหลวงพัฒนาที่ดิน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โครงการพัฒนาที่ดินชาวเขาเป็นของโครงการเอง โดย มจ. ภีศเดช รัชนี องค์อำนวยการโครงการหลวง ได้ทำหนังสือถึงสำนักงบประมาณ ขอให้สนับสนุนโครงการหลวง โดยจัดงบประมาณให้แก่โครงการหลวงพัฒนาที่ดิน เป็นการเฉพาะดังนั้นโครงการจึงเริ่มได้รับงบประมาณ และเครื่องจักรกลจากรัฐบาลมาเพื่อปฏิบัติงานสนองพระราชดำริให้ลุล่วงไปด้วยดี
ในปี พ.ศ. 2527 โครงการหลวงพัฒนาที่ดิน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ฝ่ายปฏิบัติการโครงการหลวง ภาคเหนือ” สังกัดสำนักงาน พัฒนาที่ดินเขต 6 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยมีลักษณะการดำเนินงานเรียกว่า “ขอจัดพัฒนาที่ดิน” ในเขตพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมหรือป่าที่ถูกทำลาย เนื่องจากที่ดินบนภูเขาเป็นของรัฐบาล แต่กรมป่าไม้มีหน้าที่ดูแลรักษาเพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าและบุกรุกที่ทำกิน โดยมีกฎหมายเกี่ยวกับกรมป่าไม้ต่าง ๆ คุ้มครองอยู่ดังนั้นจึงต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ เพื่อให้ได้รับอนุญาตให้เข้าไปดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการเกษตร และจัดที่อยู่อาศัยให้แก่ชาวไทยภูเขาและชาวไทยพื้นราบด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 กรมพัฒนาที่ดินได้มีคำสั่งยกฐานะฝ่ายปฏิบัติการโครงการหลวง สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ขึ้นเป็น “สำนักงานพัฒนาที่ดินที่สูง” และในปี พ.ศ. 2546 ได้เปลี่ยนเป็น “ศูนย์ปฏิบัติการโครงการหลวงภาคเหนือ” เพื่อมุ่งเน้นการปฏิบัติงานพัฒนาพื้นที่สูงในเขตพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ของมูลนิธโครงการหลวง เป็นต้นมา
และในวันที่ 10 กันยายน 2547 ผู้ร่วมปฏิบัติงานโครงการหลวงหลายหน่วยงานมีความเห็นว่าชื่อ “ศูนย์ปฏิบัติการโครงการหลวงภาคเหนือ” ไม่ได้สื่อภารกิจที่ชัดเจนและง่ายต่อการเข้าใจ จึงได้ขออนุมัติกรมพัฒนาที่ดินเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาทีดินโครงการหลวง” โดยใช้ตัวย่อว่า “ศพล.”
|
ความเห็นที่
3 โพสเมื่อ :
2008-09-23 11:45:57 โดย :
แนน
|
เริมเข้าเรื่องเลยแล้วกัน.....
ดอยอ่างขาง เป็นโครงการที่ผมเองประทับใจมากตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อนที่ได้ไปเยือนครั้งแรก เหนือสุดประเทศไทยติดชายแดนพม่า ผมได้พักที่อมารีในครั้งแรก...และเลือกที่จะพักในโครงการหลวงในครั้งที่2
พืชผักผลไม้เมืองหนาว ได้ปลูกไว้เป็นแปลงๆ ตลอดเส้นทางที่รถสามาถวิ่งผ่านได้ แต่ผลไม้แต่ละชนิดจะออกตามฤดูกาล ดังนั้นอาจผิดหวังไปบ้างหากไม่ได้ชมผลหรือดอกไม้บางชนิด เช่น บ้วย สาลี่ สตอเบอร์รี่ ดอกซากูระ ฯลฯ
---------------------------------------
ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่ตรงปากทางเข้าสถานี เป็นโรงแรมขนาด 76 ห้อง เป็นของโครงการหลวง+โรงแรมอมารี ห้องพักเป็นเรือนไม้สักมีห้องเดี่ยว ห้องคู่ แบบ Garden View และ Mountain View (ไม่มีแอร์) บรรยากาศหรู
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Chiangmai/hotel/ang-khang/index.html
ดอยอ่างขาง เป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งมีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่หาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง โดยมีชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง จีนฮ่อ และไทยใหญ่ นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม ฯลฯ พืชผักเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ เช่น แคร์รอท ผักสลัดต่างๆ สวนสมุนไพร แปลงดอกไม้ เช่น คาร์เนชั่น กุหลาย แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ โรงบรรจุผลไม้เพื่อส่งจำหน่ายและสหกรณ์ของโครงการ ซึ่งจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล
ดอยอ่างขาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือ 137 กม. แยกซ้ายเข้าไปอีก 25 กม. ดอยอ่างขางเป็นเทือกดอยสูงติดกับสันเขาพรมแดนประเทศพม่า จุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไปเยือนดอยอ่างขางคือการไปเที่ยวชมดอกไม้เมืองหนาวภายโครงการฯ สถานีเกษตรดอยอ่างขางได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่นและหยุดการทำลายป่า ดอยอ่างขางมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบในหุบเขาลักษณะเหมือนท้องกะทะหรือเหมือนอ่าง อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,400 เมตร ภายในโครงการมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาก เช่น แปลงปลูกไม้ดอกไม้ประดับกลางแจ้ง แปลงปลูกไม้ในร่ม แปลงทดลองกุหลาบ แปลงปลูกผัก แปลงปลูกผักในร่ม สวนท้อ สวนบ๊วย ป่าซากุระ ป่าเมเปิ้ล พระตำหนักอ่างขาง
การเดินทาง
จากเชียงใหม่ ใช้เส้นทางสาย 107 เชียงใหม่-ฝาง เป็นเส้นทางผ่านแม่ริม แม่แตง เชียงดาว ทางแยกเข้าดอยอ่างขางมี 2 เส้นทาง คือ แยกซ้ายที่ กม.79 เป็นเส้นทางใหม่ที่ไม่ชันมากแต่ทางจะเปลี่ยวหน่อย ระยะทางจากแยกทางหลวงสาย 107 ไปจนถึงอ่างขางมีระยะทางประมาณ 50 กม. อีกเส้นทางคือแยกที่ กม.137 มีระยะทางถึงอ่างขางประมาณ 25 กม. เป็นเส้นทางที่สั้นแต่ชันมาก รถเก๋งและรถทุกชนิดขึ้นได้ถ้าคนขับมีฝีมือ ถ้าไม่แน่ใจให้จอดรถไว้ที่วัดที่ปากทาง กม.137 หรือจอดรถไว้ที่บริเวณลานจอดรถเอกชนมีรั้วมิดชิด สถานที่รับจอดรถอยู่ตรงข้ามกับปากทางเข้าดอยอ่างขาง ค่ารถจอดคันละ 50 บาท แล้วนั่งรถสองแถวขึ้นไป หรือเหมารถขึ้นไป
--------------------------------------
รูปภาพมีเยอะมาก คลิกดูนี่นะค่ะ
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Chiangmai/data/pic_doi-angkhang.htm
|
ความเห็นที่
4 โพสเมื่อ :
2008-09-23 11:50:51 โดย :
แนน
|
เส้นทางรอบโครงการฯดอยอ่างขาง ต้องตื่นแต่เช้ามืดเพื่อชมทะเลหมอกในโครงการ และไม่ผิดหวังเลยค่ะ
|
ความเห็นที่
5 โพสเมื่อ :
2008-09-23 11:52:03 โดย :
แนน
|
ดอกซากูระ หรือนางพญาเสือโคร่ง อยู่หน้าโครงการและสวน 80
|
ความเห็นที่
6 โพสเมื่อ :
2008-09-23 11:53:10 โดย :
แนน
|
สตอร์เบอรี่ในแปลง
|
ความเห็นที่
7 โพสเมื่อ :
2008-09-23 11:54:34 โดย :
แนน
|
บ้วยและดอก....ซึ่งก็มีเห้นอยู่ริมทาง
-----------------------------------------------
ภาพนี้ถ่ายข้างที่พักอมารี....ไม่ใช่ในโครงการ
|
ความเห็นที่
8 โพสเมื่อ :
2008-09-23 12:00:56 โดย :
แนน
|
ต้นบ้วย ในโครงการฯ
|
ความเห็นที่
9 โพสเมื่อ :
2008-09-23 12:14:58 โดย :
แนน
|
ใบเมเปิ้ล
ข้างโรงแรมอมารี
|
ความเห็นที่
10 โพสเมื่อ :
2008-09-23 12:20:52 โดย :
แนน
|
ดอก anne boleyn
|
ความเห็นที่
11 โพสเมื่อ :
2008-09-23 12:22:09 โดย :
แนน
|
หมู่บ้านนอแล
ชายแดนไทย-พม่า เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื่อสายพม่า มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือพุทธ
ภูเขาด้านหลัง คือ ประเทศพม่า
|
ความเห็นที่
12 โพสเมื่อ :
2008-09-23 12:23:36 โดย :
แนน
|
ชาวเขาที่บ้านนอแล (ปะหล่อง)
|
ความเห็นที่
13 โพสเมื่อ :
2008-09-23 12:25:44 โดย :
แนน
|
สุดชายแดนไทย-พม่า
|
ความเห็นที่
14 โพสเมื่อ :
2008-10-07 16:05:23 โดย :
poster
|
ภายในโครงการหลวงเกษตรดอยอ่างขาง
โครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่หาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง โดยมีชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง จีนฮ่อ และไทยใหญ่ นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม ฯลฯ พืชผักเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ เช่น แคร์รอท ผักสลัดต่างๆ สวนสมุนไพร แปลงดอกไม้ เช่น คาร์เนชั่น กุหลาย แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ โรงบรรจุผลไม้เพื่อส่งจำหน่ายและสหกรณ์ของโครงการ ซึ่งจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล
|
ความเห็นที่
15 โพสเมื่อ :
2008-10-07 16:12:41 โดย :
poster
|
ประวัติ อ่างขาง เป็นชื่อตำบลๆหนึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ติดกับเขตแดนพม่า คือ ห่างกันเพียง 5 กิโลเมตรเท่านั้น สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร อยู่ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
อ่างขาง ภาษาทางเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยม ลักษณะของดอยอ่างขางนั้น เป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขายาวๆ ล้อมรอบไปด้วยเขาสูงทุกด้าน ตรงกลางของอ่างขาง เดิมเป็นเขาสูงดังเช่นที่เห็นทั่วไป ในบริเวณใกล้เคียง แต่เนื่องจากเป็นเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อยๆละลายเป็นโพรงแล้ว ยุบตัวลงกลายเป็นหลุม ในอดีต ดอยอ่างขางเคยมีหมู่บ้านชาวเขา ทั้งม้ง,เย้าและมูเซอ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และพื้นที่สามารถปลูกฝิ่นได้งาม เนื่องจากดินมีโครงสร้างที่เหมาะสมลักษณะอากาศ และภูมิประเทศก็เอื้ออำนวย ดอยอ่างขางมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี โดยเฉพาะตอนกลางคืน จะหนาวเย็นจัดที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ประกอบกับมีการทำไร่เลื่อนลอยชาวไทยภูเขา ในที่สุดก่อให้เกิดผลกระทบขึ้น เมื่อป่าไม้บนภูเขาเหลือน้อยฝนตกลงมา น้ำฝนก็ชะหน้าดินไหลลงสู่หุบเขาดิน ไม่สามารถอุ้มน้ำเอาไว้ได้ ทำให้ธาตุอาหารในดินลดน้อยลง เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินหมดไป ชาวไทยภูเขาก็หาพื้นที่ทำไร่ใหม่ต่อไป ซึ่งได้ส่งผลให้ดอยอ่างขาง มีสภาพเป็นดอยหัวโล้น มาเป็นระยะเวลาอันยาวนานจากอดีต
|
ความเห็นที่
16 โพสเมื่อ :
2008-10-07 16:13:30 โดย :
poster
|
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
จากการเสด็จพระราชดำเนินของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ไปเยี่ยมพสกนิกรและชาวไทยภูเขาหลายหมู่บ้าน ทรงทอดพระเนตรเห็นว่า ชาวเขาส่วนใหญ่ปลูกฝิ่นแต่ยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศโดยรวมของประเทศชาติ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติในอนาคตได้ ดอยอ่างขางก็เกิดปัญหาดังกล่าวที่จำเป็นต้องเข้ามาดำเนินการแก้ไขด้วยเช่นกัน
ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นจำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดิน และไร่จากชาวเขา ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง จากนั้นก็ทรงมอบหมายให้หม่อมเจ้าภีศเดชรัชนี ดำเนินการใช้เป็นสถานีทดลอง ปลูกไม้เมืองหนาว ให้เป็นตัวอย่างแก่ชาวเขา เพื่อชาวเขาจะได้นำวิธีการไปใช้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังที่ ทรงพระราชทานไว้ว่า “ให้ช่วยเขาช่วยตัวเอง”
งานพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเขา และพัฒนาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ได้เริ่มต้นขึ้นด้วย โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขาตั้งแต่เมื่อ ได้โปรดเกล้าฯจัดตั้ง โครงการหลวงเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อปีพ.ศ. 2512 การดำเนินงานของดอยอ่างขาง ก็ได้พัฒนาเป็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางกลางปีพ.ศ. 2514 ไต้หวันได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาสภาพพื้นที ่และความเหมาะสมในการปลูกไม้ผลเมืองหนาว หลังจากนั้นก็ได้ส่งเชื้อเห็ดหอม และพันธุ์พืชถวายโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อให้ทรงนำมาใช้ประโยชน ์ตามพระราชประสงค์ในโครงการหลวง โดยเฉพาะการเพาะเห็ดหอมนั้น เมื่อนำมาเพาะกับไม้ก่อ ซึ่งเป็นไม้ท้องถิ่นของภาคเหนือก็จะได้ผลผลิตเห็ดหอมสดๆ ส่งออกตลาดได้เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันสถานี เกษตร หลวง อ่าง ขาง ได้ ทดลอง ปลูก ไม้ ผล เมือง หนาว โดย เริ่ม จาก การ ปลูก แอปเปิ้ล และ พันธุ์ ไม้ อื่น ๆ ตาม มา
----------------------------
ตลาดหมู่บ้านขอบด้ง
|
ความเห็นที่
17 โพสเมื่อ :
2008-10-07 16:14:20 โดย :
poster
|
วันนี้ดอยอ่างขางมีสีสันของสภาพพื้นท ี่ที่ได้รับการพัฒนาด้วยการ ใช้พื้นที่อย่างเหมาะสมบางส่วน ที่เคยโล่งเตียนอันเป็นผลมาจากการ ถูกทำลายในอดีต ก็ได้กลับกลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ในส่วนพื้นที่ที่เคยเป็นป่าก็ได้รับการฟื้นฟู ทั้งด้วยการปลูกป่าด้วยไม้โตเร็ว และปล่อยทิ้งพื้นที่ที่เคยเป็นป่าให้เกิดเป็นป่าใหม่ โดยวิธีธรรมชาติ
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ใช้เป็นสถานที่ทดลองค้นคว้าวิจัยพืชผลเมืองหนาว ที่สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อนำผลการทดลองค้นคว้า และวิจัยไปส่งเสริมให้ชาวไทยภูเขา ในพื้นที่ไปปลูก เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นเพื่อ ชาวเขาจะได้ตั้งหลักแหล่งที่อยู่ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และต้นน้ำลำธาร
ดอยอ่างขางนับได้ว่าเป็นพื้นที่“ที่สูง”เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศแหล่งหนึ่ง และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีแนวพระราชดำริให้การพัฒนาต่างๆในพื้นที่ จะต้องสอดคล้อง กับการอนุรักษ์พื้นที่นั้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก บนภูเขา เพื่อทดน้ำมาใช้ในการเกษตรกรรม หรือการปลูกป่าฟื้นฟูป่าธรรมชาติ
------------------------------
ภาพ ทะเลหมอกและบรรยากาศยามเช้าตรู่
|
ความเห็นที่
18 โพสเมื่อ :
2008-10-07 16:15:27 โดย :
poster
|
ตั้งแต่เดือนตุลาคม–กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นจัด และดอกไม้ดอกนานาชนิดออกดออกสวยงามสะพรั่งไปทั้งดอย
เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเที่ยวชมดอกไม้และพันธุ์พืชเมืองหนาว
----------------------
ภาพถ่ายช่วงเดือน พ.ย. ปี 2549
|
ความเห็นที่
19 โพสเมื่อ :
2008-10-07 16:16:08 โดย :
poster
|
บ้านคุ้มคึกคักที่สุด มีร้านอาหาร และที่พักบริการด้วย บ้านคุ้มอยู่บริเวณด้านหน้าสถานี ดอยอ่างขางเหมาะสำหรับการเที่ยวชมธรรมชาติและวีถึชีวติชาวเขา
-------------------------
ภาพตลาดยามดึก บ้านคุ้ม
|
ความเห็นที่
20 โพสเมื่อ :
2008-10-12 22:30:06 โดย :
น้ำหวาน
|
อากาศดีมาก ๆ อยากไปอีกสักครั้ง
|
ความเห็นที่
21 โพสเมื่อ :
2008-10-16 04:21:04 โดย :
เจ้าหญิงจัมมัย
|
สุดยอดอยากไปมั๊ก
|
ความเห็นที่
22 โพสเมื่อ :
2008-10-20 14:34:00 โดย :
คนกันเอง
|
ตกดึก ผมเองเดินไปหาอาหารทานที่หมู่บ้านขอบด้ง
อาหารส่วนใหญ่เป็นอาหารพื้นเมือง อาหารจีน หมูป่า
ไม่ค่อยอร่อย แต่พอทานได้ รสชาติจะต่างๆไปหน่อย
|
ความเห็นที่
23 โพสเมื่อ :
2008-10-20 14:36:44 โดย :
คนกันเอง
|
อาหารดีขึ้นมาหน่อยก็พอมี เช่น ที่ร้านอ่างขางวิลล่า แต่หากมาในวันเทศกาลคงต้องจองกันก่อน เพราะทัวร์มักจองก่อนเรา ก็เลยไม่ได้ทานที่นี่
|
ความเห็นที่
24 โพสเมื่อ :
2008-10-20 14:39:15 โดย :
คนกันเอง
|
หรือร้านแผงลอย
ซี่โครงหมู่ตุ๋น มันเผา ผลอะโวคาโด ก็พอรองท้องได้
|
ความเห็นที่
25 โพสเมื่อ :
2008-10-20 14:42:03 โดย :
คนกันเอง
|
ยอมตื่นเช้าตรู่สักหน่อย แล้วจะได้พบอะไรดีๆ อีกเยอะ
เช่น อากาศ น้ำค้างแข็ง ผู้คนไม่มากนัก พอที่จะให้เราขับรถเข้าชม โครงการหลวงก่อนใครๆ
|
ความเห็นที่
26 โพสเมื่อ :
2008-10-20 14:42:52 โดย :
คนกันเอง
|
ดอกบ๊วย
|
ความเห็นที่
27 โพสเมื่อ :
2008-10-20 14:44:24 โดย :
คนกันเอง
|
หมู่บ้านชาวเขาที่อยู่ติดกับโครงการหลวง
|
ความเห็นที่
28 โพสเมื่อ :
2008-10-20 14:48:02 โดย :
คนกันเอง
|
ไร่สตอเบอร์รี่ ข้างทางระหว่างไปบ้านขอบด้ง
|
ความเห็นที่
29 โพสเมื่อ :
2008-10-20 14:51:47 โดย :
คนกันเอง
|
หมู่บ้านชาวเขา
เราจะมองเห็นชุ้มเพาะปลูกพืชผลเมืองหนาวอยู่ไกลๆ
ผลผลิตเหล่านี้จะป้อนสู่โครงการหลวงอีกที
|
ความเห็นที่
30 โพสเมื่อ :
2008-10-20 14:53:53 โดย :
คนกันเอง
|
ขอจอดรถและลุยหน่อย ละทีนี้
บ้านชาวเขา
|
ความเห็นที่
31 โพสเมื่อ :
2008-10-20 14:58:34 โดย :
คนกันเอง
|
แถมให้อีกหน่อย
เรียกว่าเป็นหมู่บ้านชาวเขาที่เดินทางได้สะดวก จอดรถเดินลงเขา ถึงเลย...
เดี๋ยวจะมาดูว่าพวกเขาปลูกและขายอะไรกันบ้าง
|
ความเห็นที่
32 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:00:20 โดย :
คนกันเอง
|
ไร่สตอร์เบอร์รี่ เด็ดจากไร่และช่างกิโลขายกันเลย
|
ความเห็นที่
33 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:02:26 โดย :
คนกันเอง
|
นั่นก็ไร่สตอร์เบอร์รี่ นี่ก็สตอร์เบอร์รี่ เต็มไหล่เขาสลับกับบ้านไม้ไผ่ของชาวเขาไปสุดสายตา
|
ความเห็นที่
34 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:07:31 โดย :
คนกันเอง
|
ดอกสตรอเบอรี่
--------------------
เกล็ดความรู้
ต้นสตรอเบอรี่จะเริ่มแทงช่อดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงและช่วงแสงของวันสั้นเข้า คือ ประมาณหนึ่งเดือนหลังจากปลูก เมื่อดอกบานมรการผสมเกสรแล้วประมาณหนึ่งเดือน ผลจะเริ่มทยอยแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ โดยผลสุกมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคมและจะวายประมาณปลายเดือนเมษายน
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร doae.go.th
|
ความเห็นที่
35 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:09:22 โดย :
คนกันเอง
|
ผลสตรอเบอรี่
การเก็บผลผลิตควรเก็บช่วงที่มีอากาศเย็น คือ ตอนเช้ามืดในสภาพอากาศแห้ง เมื่อเก็บแล้วไม่ควรให้ผลถูกแสงแดด เนื่องจากผลสตรอเบอรี่มีอัตราการหายใจสูง เมื่อถูกแสงแดดจะทำให้ผลเน่าเร็ว ในต้นหนึ่งๆจะมีผลสุกแตกต่างกัน ควรเลือกเก็บผลที่มีความแก่ตามที่กำหนดไว้เท่านั้น เก็บทุก 1 - 2 วัน โดยใช้ส่วนเล็บหัวแม่มือและนิ้วชี้เด็ดออกจากขั้ว หรือใช้กรรไกรชนิดที่ตัดขั้วผลและหนีบส่วนขั้วผลได้ด้วย ทำให้ผลสามารถติดมากับกรรไกรได้ นับว่าเป็นวิธีที่ทำให้ผลและต้นสตรอเบอรี่ไม่ชอกช้ำ ภาชนะที่ใช้บรรจุสตรอเบอรี่ขณะเก็บผลในแปลง ควรใช้ภาชนะทรงตื้นมีขนาดที่พอเหมาะ สามารถคัดเลือกคุณภาพของผลได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนภาชนะ เพื่อให้มีการจับต้องผลให้น้อยครั้งที่สุด และไม่ควรบรรจุผลสตรอเบอรี่มากเกินไป เพราะจะเกิดการกดทับทำให้ผลช้ำได้ ถึงแม้ว่าสตรอเบอรี่จะเป็นผลไม้ชนิดบ่มไม่สุก แต่สตรอเบอรี่สามารถมีสีแดงเพิ่มขึ้นได้หลังจากเก็บเกี่ยว ดังนั้นสตรอเบอรี่ที่เก็บเกี่ยวในขณะที่ผลยังไม่แดงทั้งผลจึงสามารถแดงพอดีเมื่อถึงตลาดปลายทาง การเก็บเกี่ยวผลสตรอเบอร่ที่มีผิวสีแดง 100 เปอร์เซนต์ จะทำให้การเกิดช้ำและมีเชื้อราเข้าทำลายระหว่างการขนส่งได้ง่าย การเก็บเกี่ยวผลิตเกษตรกรจะต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาด ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของตลาดว่าจะเป็นตลาดเพื่อโรงงานแปรรูปหรือตลาดเพื่อการบริโภคสด
|
ความเห็นที่
36 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:14:11 โดย :
คนกันเอง
|
ข้อกำหนดเชิงคุณภาพของสตรอเบอรี่เพื่อตลาดบริโภคสด
ผลสตรอเบอรี่ต้องสะอาด มีสีสด ความแน่นเนื้อและความหวานสูง ผิวเป็นมัน รูปทรงของผลเป็นปกติ ไม่บิดเบี้ยว การเรียงตัวของเมล็ดเป็นระเบียบ มีกลิ่นหอม และมีกลีบเลี้ยงติดมาด้วย กลีบเลี้ยงมีสีเขียวไม่แห้ง
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของผลมากกว่า 2.5 เซนติเมตร
ผลไม่มีรอยแผล เน่า ช้ำ หรือเชื้อรา
ควรเก็บเกี่ยวผลที่มีสีแดงอย่างน้อย 60 เปอร์เซนต์ แต่ไม่เกิน 80 เปอร์เซนต์
ผลสตรอเบอรี่ที่อยู่ในภาชนะบรรจุเดียวกัน ควรมีสีและขนาดสม่ำเสมอกัน
มูลนิธิโครงการหลวงได้จัดมาตรฐานของผลสตรอเบอรี่โดยใช้ขนาดของผลเป็นเกณฑ์ ดังนี้
มาตรฐานของผลสตรอเบอรี่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของผล (ซม.)
เกรดพิเศษ มากกว่า 3.75 เซนติเมตร
เกรด 1 3.25 - 3.75 เซนติเมตร
เกรด 2 2.80 - 3.25 เซนติเมตร
เกรด 3 2.50 - 2.80 เซนติเมตร
|
ความเห็นที่
37 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:16:33 โดย :
คนกันเอง
|
ใช่ว่ามีแต่สตรอเบอรี่
กะหล่ำปลี ก็มี ชาวเขาจะเตรียมไว้ในกระบะ จะมีพ่อค้ามารับซื้อต่อ
|
ความเห็นที่
38 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:21:24 โดย :
คนกันเอง
|
เสร็จการะกิจการเกษตร ลุยหมู่บ้านชาวเขาต่อดีกว่า
บรรยากาศเย็นเยือก ลมโชยมาไม่ขาดสายจากจุดที่ผมยืนอยู่ เห็นเมฆลอยต่ำกลางหุบเขา คลาสิคดีแท้
|
ความเห็นที่
39 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:24:37 โดย :
คนกันเอง
|
ซ้ายก็ภูเขา
ขวาก็ภูเขา
|
ความเห็นที่
40 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:28:46 โดย :
คนกันเอง
|
ความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย
ล้อมรั้วด้วยไม้ไผ่ แต่ดูเหมือนว่าชาวเขาแถวนี้คงไม่ตกข่าวสาร (บนหลังคาบ้าน มีเสาทีวีได้ด้วย)
|
ความเห็นที่
41 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:30:54 โดย :
คนกันเอง
|
ลูกหมูป่า
เห็นไกลๆ นึกว่าลูกหมาซะอีก
|
ความเห็นที่
42 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:33:56 โดย :
คนกันเอง
|
เดินผ่านมาพอดี
ขอหนึ่ง shot
|
ความเห็นที่
43 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:38:36 โดย :
คนกันเอง
|
เด็กชาวเขา
ขอร่วมแจม 1 shot
|
ความเห็นที่
44 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:40:23 โดย :
คนกันเอง
|
แหมกำลังกินถั่วเพลินเลย
ขอ 1 shot
|
ความเห็นที่
45 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:45:08 โดย :
คนกันเอง
|
ก่อนออกจากหมู่บ้านชาว
เหลือบไปเห็นตัวอะไรไหวในดิน
อ้อ...ตัวตุ่น นั่นเอง
|
ความเห็นที่
46 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:49:18 โดย :
คนกันเอง
|
มาถึงหมู่บ้านนอแล แล้วต้องแวะเยี่ยมแคมป์ทหาร สุดชายแดนไทย-พม่า
|
ความเห็นที่
47 โพสเมื่อ :
2008-10-20 15:53:18 โดย :
คนกันเอง
|
ฐานปฏิบัติการ นอแล
อยู่ในเขต หมู่บ้านนอแล (เผ่าปะหล่อง)
หมู่ 14 ต.ม่อนปิ่น อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
พิกัด NC 046045
ประมาณเส้นรุ้งที่ 19015'-19057' เหนือ
เส้นแวงที่ 99001'
สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,375 เมตร
|
ความเห็นที่
48 โพสเมื่อ :
2008-10-20 16:01:24 โดย :
คนกันเอง
|
ฐานปฏิบัตการต้องแยกกันตามยอดเขา เพื่อเห็นข้าศึกฝ่านตรงข้ามได้ชัดเจน หากมีเหตุการณ์ไม่ชอบมาพากล
|
ความเห็นที่
49 โพสเมื่อ :
2008-10-20 16:04:49 โดย :
คนกันเอง
|
ทางขึ้นจุดชมวิวของฐานปฏิบัตการนอแล
(รถขึ้นได้)
|
ความเห็นที่
50 โพสเมื่อ :
2008-10-20 16:09:10 โดย :
คนกันเอง
|
บ้านชาวเขาปะหล่อง ใกล้ศูนย์ปฏิบัติการ
ลักษณะเป็นไม้ ชันเดียว เก็บฟืนไว้เป็นเชื้อเพลิงและผิงยามหนาว
|
ความเห็นที่
51 โพสเมื่อ :
2008-10-20 16:13:09 โดย :
คนกันเอง
|
จากบ้านนอแล ผมเลือกที่จะกลับอีกเส้นผ่านหมู่บ้านจีนฮ่อ
ระหว่างทางมี โจ๊กหมู มาม่า เห็ดหอม ซาลาเปา
รู้เลยว่าน่าจะใกล้ถึงหมู่บ้านจีนแล้ว
|
ความเห็นที่
52 โพสเมื่อ :
2008-10-20 16:15:05 โดย :
คนกันเอง
|
บ้านเรือน ความเป็นอยู่ แตกต่างจากชาวเขาปะหล่องที่เราพบมาก่อนหน้านี้
|
ความเห็นที่
53 โพสเมื่อ :
2008-10-20 16:22:56 โดย :
คนกันเอง
|
หมู่บ้านจีนฮ่อ
สภาพความเป็นอยู่จะดีกว่า ชาวเขาอื่นๆ
บางหลังมีทีวี รถกระบะ และสิ่งอำนวยความสะดวก
|
ความเห็นที่
54 โพสเมื่อ :
2008-10-20 16:28:13 โดย :
คนกันเอง
|
ท้อจากต้น ริมทาง
ปลูกกันเยอะแถวนี้
|
ความเห็นที่
55 โพสเมื่อ :
2008-10-20 16:32:11 โดย :
คนกันเอง
|
ร้านค้าจำหน่ายผลผลิตท้องถิ่น
ท้อ บ๊วย ฝรั่ง อะโวคาโอ ฯลฯ
|
ความเห็นที่
56 โพสเมื่อ :
2008-10-20 16:34:29 โดย :
คนกันเอง
|
ร้านข้าวซอยยูนนาน ซาลาเปาก็มี ในหมู่บ้าน
|
ความเห็นที่
57 โพสเมื่อ :
2008-10-20 16:39:23 โดย :
คนกันเอง
|
หากเลยมาจากหมู่บ้านจีนฮ่อ ไม่ไกลนัก จะมีจุดชมวิวผาแดง
เป็นจุดชมวิวชายแดนไทย-พม่า ที่สวยมากจุดหนึ่ง
ผมขอพัก ทริปดอยอ่างขางไว้เพียงเท่านี้ก่อน...หากมีเวลาแล้วจะมาบรรยาต่อ...
|
ความเห็นที่
58 โพสเมื่อ :
2008-10-24 12:25:44 โดย :
น้องเทียน
|
ดีมากๆเลยค่ะ อยากไปเที่ยวบ้างจัง
|
ความเห็นที่
59 โพสเมื่อ :
2008-11-09 20:05:37 โดย :
ลำปางหนาวมาก
|
มีที่ตั้งเต๊นท์อะปล่าวครับ
ถ้าไปกันเองมีรถโดยสารไปส่งถึงที่มั้ยครับ
|
ความเห็นที่
60 โพสเมื่อ :
2008-11-09 21:55:02 โดย :
Neo
|
มี ผมเห็นนักท่องเที่ยวกางกันตามไหล่เขา
สถานที่นี้ ถึงก่อน amari angkang resort นิดเดียว
|
ความเห็นที่
61 โพสเมื่อ :
2009-01-19 19:14:58 โดย :
ron_1227@hotmail.com
|
|
ความเห็นที่
62 โพสเมื่อ :
2009-03-10 14:37:47 โดย :
หญิง
|
เป็นสถานที่ที่น่าศึกษามากค่ะ
|
ความเห็นที่
63 โพสเมื่อ :
2009-03-29 16:13:57 โดย :
ป๊อป
|
ไปมาเเล้ว
หนาวมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
วิวสวยสุดดดดดด
อย่าลืมมาเที่ยวนะ
โดยเฉพาะหน้าหนาว
|
ความเห็นที่
67 โพสเมื่อ :
2009-05-31 21:03:58 โดย :
มารวี
|
ชอบคะธรรมชาติสวยคะ
|
ความเห็นที่
68 โพสเมื่อ :
2009-06-24 10:45:40 โดย :
sara
|
|
ความเห็นที่
69 โพสเมื่อ :
2009-06-26 10:50:42 โดย :
บังนิท คนนนท์
|
ไปกันทุกปีครับ
อากาศดี เดี่ยวนี้ถนน หนทางก็ดีแล้ว
มีทางขึ้น ได้ สองทาง บ้านอรุโณทัย ที่อ้อมหน่อย แต่เปลี่ยว
ลองเปลี่ยนดูบ้างก้ได้นะ ไม่ชันมาก
ควรพัก อย่างน้อย 1คืน อ่างขางรีสอร์ท บ้านเล่าติง ก็ได้
ช่วงปีใหม่ สิ้น ปี คนเยอะครับ ควรไปกันเนิ้นๆ
อย่าได้ เบียดเสียดกันไป ที่พัก ไม่เพียงพอ
บ้านนอแล ซื้อ ขนมไปฝากเด็ก ฝากทหาร บ้าง
ที่สำคัญเที่ยวเมืองไทย เงินตราไม่ไหล่ออกนอก
ดูแล ธรรมชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยว
ทั้งผู้ประกอบการ และ นักท่องเที่ยว
ต้อง ดูแล สิ่งแวดล้อม อย่าให้ใครมาทำลาย
|
ความเห็นที่
70 โพสเมื่อ :
2009-07-28 09:00:06 โดย :
ใบหมอก
|
สวยมากค่ะอยากไป
|
ความเห็นที่
71 โพสเมื่อ :
2009-08-04 00:33:54 โดย :
กบ
|
ยังไม่เคยไปเลยอ่ะ อยากไปจัง
|
ความเห็นที่
72 โพสเมื่อ :
2009-08-18 13:26:26 โดย :
p
|
อยากไปจัง..
|
ความเห็นที่
73 โพสเมื่อ :
2009-08-19 17:00:29 โดย :
จีจี้
|
อยากไปมั้งจัง ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไปให้ได้
|
ความเห็นที่
74 โพสเมื่อ :
2009-09-03 20:56:02 โดย :
ประสิทธิ์
|
สวยมากเลยอากาศดีมากยากไปอีกสักครั้งหนึ่ง
|
ความเห็นที่
75 โพสเมื่อ :
2009-09-06 13:24:30 โดย :
รัก
|
ไปมาแล้วค่ะ ชอบมากเลย เมืองไทยของเราน่าอยู่ อุดมสมบูรณ์ที่สุด ภูมิใจมากๆค่ะที่เกิดเป็นคนไทย
รักเมืองไทย
|
ความเห็นที่
76 โพสเมื่อ :
2009-09-17 11:44:44 โดย :
เกต
|
อยากไปจังเลย
|
ความเห็นที่
77 โพสเมื่อ :
2009-09-17 11:48:51 โดย :
เกต
|
ปีนี้จะไปให้ได้จ้า
|
ความเห็นที่
78 โพสเมื่อ :
2009-09-30 12:49:52 โดย :
008
|
สวยจังค่ะ ขอบคุณที่เอื้อเฝื้อข้อมูลและรูปภาพ ถ้ามีโอกาสอยากไปเที่ยวสักครั้งจัง
|
ความเห็นที่
79 โพสเมื่อ :
2009-10-03 07:47:30 โดย :
รัตน์
|
ยากไปอีกครั้งนึ่งบรรยายกาศดีมากๆๆเลย
|
ความเห็นที่
80 โพสเมื่อ :
2009-10-03 07:58:17 โดย :
มณีรัตน์
|
สวยจังนะ
|
ความเห็นที่
81 โพสเมื่อ :
2009-10-05 09:46:25 โดย :
pook
|
ทริปหน้า...ไปแน่
|
ความเห็นที่
82 โพสเมื่อ :
2009-10-26 10:54:18 โดย :
แนน
|
ไป 2 เที่ยวไม่ถึงซะที หนาวนี้แน่นอนอยากไปมากกกกกกกกกกกก.........................อิอิ
|
ความเห็นที่
83 โพสเมื่อ :
2009-11-05 20:54:13 โดย :
lovelove
|
LOVE IT!!!อิอิ
|
ความเห็นที่
84 โพสเมื่อ :
2009-11-14 16:42:13 โดย :
ณัฐชมธร อภิรมย์
|
ภาพสวยดีค่ะ
น่าไปเที่ยวมาก
อยากไปจรืงๆน้า...(แต่ยังไม่มีตังค์)
หิๆ
|
ความเห็นที่
85 โพสเมื่อ :
2009-12-01 10:40:04 โดย :
อิจฉาจัง
|
อยากไปบ้างจังเลย
|
ความเห็นที่
86 โพสเมื่อ :
2009-12-19 22:02:49 โดย :
แวววาว
|
ไปมาแล้วค่ะ เมื่อวันเฉลิมที่ผ่านมา หนาวมากๆๆๆ พูดออกมาเป็นไอเย็น โดยเฉพาะตอนกลางคืนหนาวจัดมากๆ เป็นประสบการณ์ที่เยี่ยมครั้งหนึ่งในชีวิตในเมืองไทยค่ะ นึกไม่ถึงเลยว่าเมืองไทยจะหนาวได้ขนาดนี้
|
ความเห็นที่
87 โพสเมื่อ :
2010-04-13 18:04:50 โดย :
พัด
|
อยากไปบ้างแต่ตังไม่มีเซ็งอ่ะ
|
ความเห็นที่
88 โพสเมื่อ :
2010-06-03 09:38:53 โดย :
YaYah
|
เคยไปครั้งหนึ่งค่ะเมื่อปีที่ผ่านมา ประทับใจมากๆเลย พบความสวยงามที่เป็นธรรมชาติ และได้สัมผัสอากาศหนาวเย็น ปีนี้ถ้ามีโอกาสจะไปแอ๋วอีกครั้ง
|
ความเห็นที่
89 โพสเมื่อ :
2010-07-10 20:08:35 โดย :
mu7
|
เห็นว่าหนาวสุดๆ แบบว่าอยากไปนะ ปีใหม่นี้เตรียมลุยอ่างขางแน่นอน
|
ความเห็นที่
90 โพสเมื่อ :
2010-07-16 15:24:22 โดย :
pin
|
|
ความเห็นที่
91 โพสเมื่อ :
2010-08-10 04:04:51 โดย :
สิน.นาซ่า
|
น่าลุย เบื่อทะเลพัทยา อยากไปนอนกลางวันบนดอย
|
ความเห็นที่
92 โพสเมื่อ :
2010-08-16 04:29:39 โดย :
Nutt
|
สุดยอดมาครับที่อ่างขาง
เช่นกันครับเบื่อทะเล
พอได้ไปเที่ยวภูเขารู้สึกถึงความแตกต่างที่น่าทึ่งครับ
|
ความเห็นที่
93 โพสเมื่อ :
2010-08-17 15:04:30 โดย :
dream
|
555ดีครับ
|
ความเห็นที่
94 โพสเมื่อ :
2010-08-31 15:55:48 โดย :
amp
|
มีใครจะไปช่วง กันยายนบ้างอะ เผื่อจะได้เจอกัน ใครมีข้อมูลบอกหน่อยจิ ว่าไม่ได้ขับรถไปเอง จะไปในแต่ละที่มันไกลกันไหม ไปยังไง
|
ความเห็นที่
95 โพสเมื่อ :
2010-08-31 17:45:21 โดย :
คนกันเอง
|
เดือนกันยายน หน้าฝน ระวังทางสไลด์ แต่ก็จะได้พบกับความเขียวชะอุ่มไปอีกแบบ แต่ละที่ก็ไกลกันอยู่เน้อ
|
ความเห็นที่
96 โพสเมื่อ :
2010-09-15 15:02:48 โดย :
mook
|
สวยจังครับ
|
ความเห็นที่
97 โพสเมื่อ :
2010-10-30 15:14:53 โดย :
ริสา
|
จะไปธันวานี้ใครมีอะไร!!!!แนะนำบ้าง
|
ความเห็นที่
98 โพสเมื่อ :
2010-11-12 06:52:44 โดย :
ริสา
|
ยังไม่มีใครตอบเลยใจร้ายจังช่วยแนะนำด้วย
|
ความเห็นที่
100 โพสเมื่อ :
2010-12-20 14:22:01 โดย :
นัท
|
ขอบคุณค่ะ ที่มีภาพสวยๆมาฝาก
|
|
|
|
|