แนะนำสถานที่ปั่นจักรยาน
เกาะรัตนโกสินทร์
กรุงเทพมหานครได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทยในปี พ.ศ. 2325
โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระราชดำริว่า
บริเวณที่ตั้งของกรุงธนบุรีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
แม้มีลักษณะเป็นดอนแต่ก็เป็นท้องคุ้ง น้ำเซาะตลิ่งพังอยู่เสมอไม่คงทนถาวร
ในขณะที่ทางฝั่งกรุงเทพฯ มีชัยภูมิดีกว่า คือ มีลักษณะเป็นแหลม
มีพื้นที่เพิ่มอยู่เสมอ มีลำน้ำเป็นขอบเขตกว่าครึ่ง
หากมีข้าศึกมาประชิดพระนครก็สามารถป้องกันได้โดยง่าย
ด้วยเหตุนี้จึงมีพระราชดำริให้สร้าง
เมืองหลวงขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
อันถือเป็นการเริ่มต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นที่มาของเกาะรัตน
โกสินทร์ในเวลาต่อมา ขอบเขตของเกาะรัตนโกสินทร์ ขอบเขตของเกาะรัตนโกสินทร์ถูกกำหนดโดยแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลเข้ามาเป็นกำแพงกั้นพระนครอยู่ด้านหนึ่ง
และคลอง อีก 3 สายที่รายล้อม แบ่งพระนครออกเป็นชั้น ๆ 3 ชั้น
โดยคลองชั้นในสุดที่ขีดคั่นส่วนที่เป็นเพชรแท้เอาไว้เป็น เขตกรุงเทพฯ
ชั้นในสุดก็คือคลองคูเมืองเดิม อันเป็นคลองที่ขุดขึ้นเป็นคูเมืองในสมัยกรุงธนบุรี
มีปากคลองด้านหนึ่งอยู่ที่ปาก คลองตลาด และอีกด้านหนึ่งที่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ
คลองรอบกรุง เป็นคลองที่ขุดขึ้นเป็นคูเมืองกรุงเทพฯ อย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 2326
คลองนี้เริ่มต้นขึ้นที่ป้อมพระสุเมรุ เรียก คลองบางลำภู
และไปสิ้นสุดที่บริเวณวัดเลียบ เรียก คลองโอ่งอ่าง
ตลอดรายทางของคลองแห่งนี้มีการสร้างป้อม ปราการและกำแพงเมืองขึ้น 14 แห่ง
ในปัจจุบันยังคงเหลือป้อมปราการอยู่เพียง 2 แห่ง คือ ป้อมพระสุเมรุ บางลำพู และ
ป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้าฯ
คลองผดุงกรุงเกษม ขุดขึ้นเพื่อขยายพื้นที่กรุงเทพฯ
ออกไปให้กว้างขวางขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 และเป็นคลองคูเมืองชั้น นอกสุด
เริ่มต้นตั้งแต่เทเวศร์ด้านหนึ่งและไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่งที่บริเวณใกล้
ๆ โรงแรมริเวอร์ซิตี้ ท่าน้ำสี่ พระยา
ด้วยลักษณะการแบ่งพื้นที่โดยคลองดังกล่าวแล้ว เกาะรัตนโกสินทร์จึงมีลักษณะเป็นเมือง
3 ชั้น และมีความหมายโดยนัย ได้เป็น 2 กรณี คือ
เกาะรัตนโกสินทร์ที่หมายเฉพาะส่วนชั้นในสุด อันเป็นเพชรแท้บนยอดเรือนแหวน
หรือที่เรียกว่า "หัวแหวน" เป็นที่ตั้งของวัดวาอาราม ปราสาทราชวัง
และสิ่งก่อสร้างโบราณต่าง ๆ ภายในขีดคั่นของคลองคูเมืองเดิม หรือส่วนทั้งหมด
อันได้แก่พื้นที่ภายในบริเวณขีดคั่นของคลองทั้ง 3 แห่งนั่นเอง
เส้นทางจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์
ในปัจจุบันพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะส่วนในสุด
ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ส่วนราชการ ในวันเสาร์กลางคืนและเช้าวัน อาทิตย์ รถยนต์มีน้อย
การจราจรไม่พลุกพล่าน จักรยานสามารถใช้ถนนได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
จึงเป็นโอกาสอันดีที่ผู้รัก
จักรยานจะนำรถของตนมาขี่ชมการประดับไฟฟ้าส่องสว่างโบราณสถานอันสวยงามในตอนกลางคืน
และชมกรุงรัตน โกสินทร์อันสงบเงียบในช่วงเช้า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
จึงสำรวจและจัดทำเส้นทางจักรยานรอบเกาะรัตน โกสินทร์ขึ้น
โดยเส้นทางดังกล่าวมีหลักอยู่ 3 ประการ คือ
ประการแรก ใช้ถนนปรกติให้มากที่สุด เพื่อยืนยันแนวคิดที่ว่า
จักรยานก็มีสิทธิในการใช้ถนนเช่นเดียวกับยาน พาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ทุกชนิด
ประการที่ 2 หลบเลี่ยงพื้นที่ที่มีการจราจรพลุกพล่านให้มากที่สุด
เพื่อความเพลิดเพลินในการขี่จักรยานชมเกาะรัตน โกสินทร์ ประการที่ 3
แวะชมสถานที่สำคัญให้มากที่สุด
เส้นทางจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์อาจเริ่มต้นจากจุดใดก็ได้ บนเส้นทางสายนี้
ขอเพียงอยู่บนเส้นทาง ผู้ใช้จักรยานก็
จะมีความมั่นใจในการใช้จักรยานมากขึ้นและได้ชมสถานที่ที่น่าสนใจได้อย่างครบถ้วน
ในที่นี้ขอใช้ถนนราชดำเนิน นอกบริเวณหน้า ททท. เป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทาง
เส้นทางช่วงที่ 1 ททท.ราชดำเนิน-ลานพลับพลาเจษฎาบดินทร์ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร
เริ่มจากอาคารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถนนราชดำเนินนอก ใช้เส้นทางคู่ขนาน
ตรงไปสะพานผ่านฟ้าลีลาศเมื่อ ถึงสี่แยกไฟแดงหยุดรอสัญญาณเหมือนรถยนต์ทั่วไป
ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดเมื่ออยู่บนถนนสาธารณะ ทาง ซ้ายมือคือ
ตึกเก่าของกระทรวงคมนาคม ที่เกาะกลางถนนจะมองเห็นต้นมะขามเรียงรายร่มรื่น เป็นระยะ
ๆ ตลอดเส้นทาง
เมื่อเคลื่อนที่ตามสัญญานไฟแล้วก็เลี้ยวขวาขึ้นสะพานผ่านฟ้าลีลาศเข้าถนนราชดำเนินกลาง
จุดนี้ควรระวังเป็นพิเศษ
เนื่องจากมีรถยนต์พลุกพล่านและต้องแล่นตัดเส้นทางจราจรเป็นรูปกากบาท
หากขี่กันเป็นขบวนต้องมีการเกาะกลุ่ม โดย เฉพาะในจุดอันตรายเพื่อเคลื่อนที่ไปพร้อม
ๆ กัน เมื่อมองไปรอบตัวสะพานผ่านฟ้าลีลาศจะเห็นสิ่งสำคัญ ๆ ของเกาะรัตน
โกสินทร์มากมาย จุดแรกที่หยุดคือ ลานพลับพลาเจษฎาบดินทร์
จากจุดนี้เองจะเห็นโลหะปราสาท ตั้งตระหง่านมีฉากหลัง เป็น พระบรมรูปรัชกาลที่ 3
ด้านซ้ายเป็นป้อมมหากาฬและกำแพงพระนคร ริมป้อมเป็นคลองรอบกรุง ไกลออกไปเป็นภูเขา
ทอง หากเป็นช่วงเวลากลางคืนก็จะสวยงาม เพราะมีการประดับไฟส่องสว่าง
เส้นทางช่วงที่ 2 ลานพลับพลาฯ-เสาชิงช้า ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
จากลานพลับพลาเจษฎาบดินทร์
ใช้เส้นทางไปทางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนดินสอขี่ไปบนเส้น
ทางเดินรถมวลชน เมื่อไปได้ช่วงหนึ่งก็จะเข้าสู่ย่านเสาชิงช้า ซ้ายมือคือ
ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ศูนย์กลางการบริหาร งานส่วนท้องถิ่นของชาว กทม.
ถัดมาทางขวามือเป็น เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ศูนย์กลางของผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ใน
ประเทศไทย เมื่อไปถึงสามแยก เป็นจุดที่ควรระวังเป็นพิเศษ ต้องหยุดรอสัญญาณจราจร
แล้วแยกเข้าสู่ลานเสาชิงช้า
จากลานเสาชิงช้า ด้านหนึ่งคือถนนบำรุงเมือง ถนนสายเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ ในอดีต
เสาชิงช้า และวัดสุทัศน์เทพวรา รามฯ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และลานคนเมือง ซึ่งทาง
กทม. ได้ประดับไฟที่บริเวณจุดนี้ด้วยเช่นกัน
เส้นทางช่วงที่ 3 เสาชิงช้า-วัดโพธิ์
ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
ออกจากเสาชิงช้า
ขี่เลียบกำแพงวัดสุทัศน์ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่สถนนตีทอง ตรงไปถึงสามแยกเข้าถนนราชบพิธ
ซึ่งต้องระวัง รถทางแยก เมื่อเข้าถนนราชบพิธจะร่มรื่นด้วยต้นไม้และเงียบสงบ
จากนั้นขี่ตรงไปข้ามสี่แยกตัดถนนเฟื่องนคร ผ่านไปหน้า วัดราชบพิธฯ
แล้วแล่นตรงต่อไปจนถึงสามแยกตัดถนนอัษฎางค์ เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานช้างโรงสี
ข้ามคลองคูเมืองเดิมเข้าถนน กัลยาณไมตรี สองข้างทางเป็นตึกสวย
ซ้ายเมืองเป็นกรมแผนที่ทหาร ขวามือคือกระทรวงกลาโหม แล้วตรงไปจนถึงสามแยก
ตัดถนนสนามไชย เลี้ยวขวาขึ้นบาทวิถี เลียบหน้ากระทรวงกลาโหม
ผ่านปืนใหญ่ที่ตั้งหน้ากระทรวง ซึ่งหนึ่งในนี้คือนาง พญาตานี
ปืนใหญ่ที่สวยที่สุดด้วย จอดพักที่ศาลหลักเมือง และ วัดพระแก้ว
แล้วขี่ย้อนกลับผ่านสวนสราญรมย์ และไปกลับ รถตามวงเวียนหน้ากรมการรักษาดินแดน
เลี้ยวซ้ายเลียบวัดโพธิ์ ผ่านท่าเตียน แล้วเลาะไปชมวัดอรุณฯ ที่ท่าสุพรรณ จากนั้น
เลี้ยวซ้ายไปหยุดพักที่วัดโพธิ์
ภายในลานวัดโพธิ์นี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีการประดับไฟฟ้าสวยงามสว่างไสว พระมหาเจดีย์
4 องค์ของวัดโพธิ์สวยงามประทับใจยิ่งนัก
เส้นทางช่วงที่ 4 วัดโพธิ์-ป้อมพระสุเมรุ ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
จากวัดโพธิ์
อ้อมกลับมาทางด้านถนนสนามไชย แล้ววนกลับตามเส้นทางเดิม
พอถึงสามแยกท่าเตียนจะเลี้ยวขวาเข้าสู่ ถนนมหาราช
จากนั้นแล่นไปตามถนนมหาราชชิดบาทวิถีเลาะเลียบกำแพง พระบรมมหาราชวัง ท่าราชวรดิษ
ท่าช้าง ท่าพระ ท่าพระจันทร์
เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนประชาธิปไตยที่ร่มรื่นด้วยต้นประดู่
ด้านหนึ่งเป็นกำแพงเก่าของวังหน้า ถึงหัวมุม สนามหลวง เลี้ยวซ้ายเลียบผ่านหน้า
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบกับต้นมะขามสนามหลวงอีกครั้ง
แล่นต่อไปผ่านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งขาติ พระนคร หรืออดีตวังหน้า
เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนราชินี ผ่านหน้าโรงละคร แห่งชาติ วัดพระแก้ววังหน้า
แล้วเลี้ยวขวาลอดใต้สะพานพระปิ่นเกล้าฯ เข้าสู่ถนนพระอาทิตย์ แล่นตรงไปจนถึงป้อมพระ
สุเมรุ จุดที่ต้องระวังอีกจุดคือทางโค้งก่อนเข้าสู่ป้อม รถยนต์อาจแล่นออกมาเร็ว
ให้ดูคนข้างหน้าให้ดี พอถึงป้อมพระสุเมรุจะ เลี้ยวซ้ายเขาไปทางด้านหลังของตัวป้อม
เส้นทางช่วงที่ 5 ป้อมพระสุเมรุ-ททท. ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร
จากป้อมพระสุเมรุ
แล่นตามถนนพระสุเมรุจนถึงสี่แยกบางลำภู ตรงสี่แยกเป็นจุดอันตรายอีกแห่งหนึ่ง
เพราะจักรยานที่ ชิดซ้ายจะเลี้ยวขวา เมื่อพ้นแยกบางลำภู รถจะน้อย
ทำให้ขี่จักรยานได้สบายขึ้น จากบางลำภูขี่ตรงไปจนถึงหน้าโรงพักชนะ สงคราม
เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้าวสาร
บริเวณนี้หากเป็นเวลากลางคืนจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศออกมานั่งดื่ม และรับ
ประทานอาหาร เดินเล่นหรือซื้อของที่วางขายอยู่ บรรยากาศคึกคักน่าสนุกสนานมาก
ออกจากถนนข้าวสาร จะกลับไปถนนสิบ สามห้าง
และกลับออกสู่ถนนราชดำเนินกลางอีกครั้งหนึ่ง โดยแล่นบนบาทวิถี
แล่นข้ามสะพานผ่านฟ้าฯ ไปเข้าถนนคู่ขนานริม ซ้ายสุดตามถนนราชดำเนินนอก
ไปเลี้ยวขวากลับรถมาสิ้นสุดการเดินทางที่ ททท. อีกครั้งหนึ่ง
เกาะเมืองอยุธยา
มูลนิธิพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว
จัดกิจกรรมท่องเที่ยวด้วยจักรยานรูปแบบใหม่ที่เกาะเมืองกรุง ศรีอยุธยา
โดยมีจักรยานให้เช่าท่องเที่ยวพร้อมแผนที่และคู่มือเดินทางด้วยตนเอง
และสามารถตอบคำถามที่เกี่ยวกับ เมืองอยุธยาได้อย่างละเอียด
เพื่อให้การเดินทางท่องเที่ยวครั้งนี้ได้รับทั้งความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
ควบคู่ไปกับ ความรู้ ผู้สนใจสามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ
ไปใช้บริการนี้ได้โดยสะดวกที่สำนักงานจักรยานท่องเที่ยวของมูลนิธิฯ
ศาลากลางหลังเก่าใจกลางเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา หรือติดต่อล่วงหน้าที่
มูลนิธิพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว โทร. (02) 694-1222 ต่อ 1360-2 หรือ
ททท. สำนักงานอยุธยา โทร. (035) 245607-7
อุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย
นอกจากจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับนักเดินป่าชมธรรมชาติแล้ว ยังเป็น
สถานที่ที่เหมาะสำหรับผู้รักการขี่จักรยาน โดยเฉพาะจักรยานเสือภูเขา
ซึ่งในบางพื้นที่ที่รถยนต์ไม่สามารถเข้าไป ถึงได้
แต่จักรยานก็สามารถบุกลุยเข้าไปได้ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดแรงในการเดินอีกด้วย
ก่อให้เกิดความแปลก ใหม่ในการท่องเที่ยวอุทยานฯ
ไม่เพียงแต่ในอุทยานแห่งชาติทางบกเท่านั้นที่นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสความงาม
ของธรรมชาติได้โดยจักรยาน ยังรวมถึงอุทยานแห่งชาติทางทะเลอีกด้วย
แต่นักท่องเที่ยวคงต้องวางแผนในการ
เดินทางเพิ่มขึ้นและจักรยานก็ควรเป็นขนาดกระทัดรัด สะดวกในการขนย้ายเป็นพิเศษ
เพราะต้องมีการขนถ่ายโดย ทางเรือ แต่ก็ทำให้ได้รสชาติใหม่ ๆ
ในการท่องเที่ยวอีกแบบหนึ่ง อุทยานแห่งชาติส่วนใหญ่มีความพร้อมสำหรับนักท่องเที่ยว
เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น บ้านพัก พื้นที่กางเต็นท์พักแรม
มีเต็นท์ให้เช่า มีห้องน้ำ และร้านอาหารบริการ
นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อขออนุญาตได้ที่ สำนักงานอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่ง
หรือติดต่อศูนย์บริการของกรมป่าไม้ที่กรุงเทพ โทร. (02) 579-7223, 579-5734
อุทยานประวัติศาสตร์
อุทยานประวัติศาสตร์
เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้ที่รักการท่องเที่ยวโดยจักรยาน
เป็นโอกาสที่จะได้
สัมผัสความงดงามและความยิ่งใหญ่ของประวัติศาตร์ไทยโดยไม่เสียเวลามากนัก
ทั้งนี้การขี่จักรยานชมพื้นที่ทาง
ประวัติศาสตร์ไม่ได้เพิ่งเริ่มขึ้นเมื่อมีการตื่นตัวของกระแสการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
แต่ได้มีมานานแล้ว โดยมีกิจการ เล็ก ๆ บริเวณใกล้ทางเข้าอุทยานฯ
เช่นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย หรืออุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ให้บริการเช่าจักรยานหลายประเภท สะดวกสำหรับผู้ที่ไม่ได้นำจักรยานไปเอง
ราคาอยู่ระหว่าง 20-50 บาท แต่ทั้งนี้การนำจักรยานเข้าไปขี่ในอุทยานประวัติศาสตร์
นักท่องเที่ยวควรขออนุญาตกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ก่อน
จังหวัดนครนายก
เส้นทางนี้อยู่ในภูมิประเทศทางตอนเหนือของจังหวัดนครนายก เขตตำบลสาริกา
ติดต่อกับตำบลหินตั้ง และ ตำบลหุบเมย
มีสภาพที่ยังคงความเป็นธรรมชาติมีเส้นทางที่ตัดเลียบเชิงเขา ลำธาร ป่าไม้ สวนผลไม้
ทุ่งนา และ หมู่บ้าน
เหมาะที่จะนำจักรยานเสือภูเขามาทดลองขี่เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศของชนบทในพื้นที่แถบนี้
จุดเริ่มต้นอยู่ตรงบริเวณหน้าอุทยานวังตะไคร้ ไปทางน้ำตกนางรองประมาณ 800 เมตร
ทางขวามือจะเป็น ถนนลูกรัง สายนางรอง-ท่าด่าน บรรยากาศเป็นสวนผลไม้ประเภท ส้มโอ
มะม่วง ฯลฯ ผ่านลำธาร 2 สาย ซึ่งเป็นต้น กำเนิดของแม่น้ำนครนายก คือ
สายที่มาจากน้ำตกนางรอง ชาวบ้านเรียกว่า "คลองนางรอง" และสายที่มาจากน้ำตก เหวนรก
หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "คลองท่าด่าน" เมื่อสุดถนนสายนี้ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนใหญ่
(นครนายก-ท่า ด่าน) ประมาณ 3 กิโลเมตร
ทางซ้ายมือจะเป็นถนนดินแดงตัดขึ้นเชิงเขาบริเวณบ้านหุบเมย เลี้ยวขวาเลียบถนนดิน
แดงขนานไปกับคลองส่งน้ำจากท่าด่าน ตลอดระยะทาง 6 กิโลเมตร
สภาพบรรยากาศด้านซ้ายมือเป็นป่าเขา ด้าน ขวามือเป็นบ้านพักอาศัยปลูกอยู่ประปราย
มองเห็นทุ่งนาอยู่เบื้องล่างและเทือกเขาใหญ่อยู่ไกลโพ้นเป็นภาพที่งดงาม ทีเดียว
เมื่อสุดถนนจึงเลี้ยวขวาวิ่งตัดลงตามถนนลูกรังผ่านทุ่งนาจึงถึงถนนใหญ่
(นครนายก-ท่าด่าน) ที่ชาวบ้านเรียก ว่า "สี่แยกวังยาว"
ตัดข้ามถนนใหญ่ตรงไปตามถนนดินแดง ประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงแม่น้ำนครนายก ซึ่งใน
ช่วงเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม น้ำจะแห้ง
สามารถยกรถจักรยานเดินข้ามไปอีกฝั่งได้อย่างสบาย ๆ ความกว้าง
ของแม่น้ำในช่วงนี้ประมาณ 30 เมตร (ในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
ปริมาณน้ำจะมีมากและเชี่ยวกราก ไม่สามารถ เดินข้ามได้ต้องใช้เส้นทางอื่น)
เมื่อข้ามฝั่งแล้วให้ขี่ตรงออกถนนใหญ่ (นครนายก-นางรอง) เลี้ยวขวาไปประมาณ 3
กิโลเมตร จะถึงแยกสาริกา-นางรอง ให้เลี้ยวขวาไปทางนางรองประมาณ 5 กิโลเมตร
ก็กลับมายังจุดเริ่มต้น รวมระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร
เส้นทางนี้ไม่จัดอยู่ในประเภทโหด แต่ก็จะช่วยให้ท่านได้เหงื่อ และความ
เพลิดเพลินกับกิจกรรมเป็นอย่างดี
ปั่นจักรยาน
.. อุ้มผาง
หากออกจากเมืองตากไปทางฝั่งตะวันตกผ่านเลยอำเภอแม่สอดไปทางทิศใต้อีก
164 กิโลเมตร
ก็จะเป็นที่ตั้งของอำเภอซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศและเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดตาก
คืออำเภออุ้มผาง
อำเภอซึ่งเคยขึ้นกับจังหวัดอุทัยธานี
และจังหวัดกำแพงเพชรมาก่อนที่จะขึ้นกับจังหวัดตากเมื่อปี
พ . ศ . 2502
ด้วยเป็นอำเภอที่ห่างไกล
และการเดินทางที่ค่อนข้างลำบาก
เมื่อหลายปีที่ผ่านมา
แม้ปัจจุบันการเดินทางยังคงต้องใช้เวลาประมาณ
4 ชั่วโมง
แดนดินแห่งนี้จึงไม่เป็นที่สนใจจากนักเดินทางผู้ถวิลหาธรรมชาติที่พิสุทธิ์มากนัก
นั้นอาจเป็นเพราะ
1,219
โค้งบนเทือกเขาถนนธงชัยที่สลับซ้อน
และมีจุดสูงสุดของถนนเส้นนี้
1,345
เมตรจากน้ำทะเลปานกลาง
จนเป็นที่มาของถนนลอยฟ้า
แล้วไม่กี่ปีย้อนหลังเมื่อได้มีการเผยแพร่
น้ำตกที่ใหญ่
่ที่สุดในประเทศแล้วยังติดอัน
ดับต้นของเอเซียอาคเนค์นามว่า
"ทีลอซู" ซึ่งเป็นน้ำตกที่ซ้อนเร้นอยู่ในราวป่าที่ยิ่งใหญ่ของอำเภออุ้มผางให้คนภายนอกได้รู้จัก
เมืองนี้ก็เป็นที่ถวิล
หาของ ใครต่อใคร
ที่ต้องการเข้ามาสัมผัส
ด้วยอำเภออุ้มผางมีพื้นที่ราบเพียงแค่
3 %
ของพื้นที่ทั้งหมด
ส่วนมากจะเป็นเทือกเขาสูง
และอุดมไปด้วยผืนป่าที่สมบูรณ์
์จึงได้ถูกประกาศให้เป็นเขต
ป่าอนุรักษ์ โอบล้อมแดนดินนี้อยู่
คือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางซึ่งถือได้ว่าเป็นป่าต้นน้ำแม่กลอง
สายน้ำที่นำไปสู่น้ำตกทีลอเล
สถานที่ท่องเที่ยวที่ซึ่งนับได้ว่าเป็นที่นิยมไม่น้อยไปกว่าน้ำตกทีลอซู
และด้วยสายน้ำแม่กลองช่วงดังกล่าวมีเกาะแก่งกลางลำน้ำอยู่หลายๆ
แก่งก่อนถึงตัวน้ำตกทีลอเลจึงได้มีกิจกรรม
ล่องแก่งที่ผู้รักการผจญภัยนิยมมาท้าทายกับความเร้าใจอยู่มิขาดสาย
เส้นทางจักรยาน นอกจากการเข้าไปชมน้ำตกทีลอซู
ล่องแก่ง
กับสายน้ำท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามแล้ว
กิจกรรมปั่นจักรยานก็คงจะเป็นอีกกิจกรรมที่น่าสนใจ
ด้วยสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
ที่มีในอุ้มผางทุกที่นั้นสามารถใช้จักรยานเข้าไปได้เกือบทุกๆ
ที่
และบางครั้งการเดินทางด้วยจักรยานอาจจะดีกว่าวิธีอื่นอีกด้วย
และระยะทางของเส้นทางแต่ละเส้นนั้นก็ไม่ไกลมากนัก
แต่ด้วยอุ้มผางมีพื้นที่ราบเพียงแค่
3 %
ของพื้นที่ทั้งหมด
ดังนั้นเส้นทางบางช่วงจะเป็นทางลาดชันมากพอสมควร
ดังนั้นนักปั่นจะต้องมีทักษะการควบคุมรถบ้าง
อุ้มผาง -
อุ้มผางคี
ไปชมวิถีชีวิตชาวกระเหรี่ยงระยะทางประมาณ
20 กิโลเมตร
เส้นทางจะเป็นทางปูนซีเมนต์และลูกรังอัดแน่น
ในช่วงแรกประมาณ
10 กิโลเมตร
ถ้าเป็นหน้าฝนจะลื่น
ช่วงปลายทางก่อนถึงหมู่บ้านจะเป็นเนินสูงให้ขึ้น
และลงอยู่บ้าง
อุ้มผาง - ทีลอจ่อ
( ชั้นบน )
ไปชมน้ำตกทีลอจ่อก่อนทิ้งดิ่งลงแม่น้ำแม่กลอง
ระยะทางประมาณ
5
กิโลเมตรเส้นทางจะเป็นทางลาดยาง
3 กิโลเมตร
จากนั้นจะเป็นทางเข้าไปอีกประมาณ
1.5 กิโลเมตร
เดินเท้าเข้าชมน้ำตกชั้นบนอีกประมาณ
500 เมตร อุ้มผาง - หัวหมด
- ปะหละทะ
ไปชมวิวบนดอยหัวหมดและวิถีชีวิตชาวกระเหรี่ยง
เส้นทางเส้นนี้เป็นทางลาดยางตลอด
ปั่นได้เรื่อยๆ
ชื่นชมธรรมชาติที่สวยงาม
ระยะทางประมาณ
25 กิโลเมตร
จักรยานเสือภูเขา
เชียงใหม่
เป็นกิจกรรมที่ทำได้ทั้งในเมืองและนอกเมือง
ได้ทั้งความสุนทรียภาพและสุขภาพที่แข็งแรง
เส้นทางมีหลายแห่งให้เลือก
เช่น
รอบคูเมือง,
ดอยสุเทพ-ขุนช่างเขียน-ห้วยตึงเฒ่า,
ห้วยน้ำดัง,
ห้วยน้ำรู,
แม่แตง
เป็นต้น
บริษัทที่ทำทัวร์จักรยานได้แก่
เชียงใหม่กรีนทัวร์
โทร. 0 5324 7374
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เส้นทางจักรยานปาย-น้ำพุร้อนท่าปาย เป็นเส้นทางจักรยานง่าย ๆ สบาย ๆ
สำหรับการขี่จักรยานในเมืองปาย ด้วยระยะทางเพียงไม่เกิน 10 กิโลเมตร การเดินทาง ควรออกจากเมืองปายตอนเช้าเริ่มจากที่พัก ตรวจสภาพจักรยานก่อนออกเดินทางให้เรียบร้อย
ตรวจสอบเส้นทางกับแผนที่ เริ่มเดินทางโดยขี่ไปที่สี่แยกกลางเมือง
เลี้ยวซ้ายผ่านหน้าโรงเรียนปายวิทยาคาม ข้าม สะพานข้ามแม่น้ำปาย
จะแวะชมแม่น้ำปายซักพักก็ได้ จากสะพานไป เส้นทางเริ่มขึ้นเนินชันไปเรื่อย ๆ
แต่ถนนยังคง เป็นถนนคอนกรีตอย่างดี ขี่ต่อไปอีกนิดจะพบทางแยกขึ้นอ่างเก็บน้ำแม่เย็น
เส้นทางตรงนี้ไปจะมองเห็นทุ่งนาขั้นบัน ไดเป็นฉากหลังสวยงามมาก
จากปากทางอ่างเก็บน้ำไปจะพบทางแยก ให้เลี้ยวขวา แล้วพบทางเข้าวัดแม่เย็น
ซึ่งตั้งเด่นเป็นสง่าบนยอดเขา ทางเข้าด้านซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายเข้าไปเลย
คราวนี้ต้องออกแรงกันมากหน่อย ไต่ขึ้นเขาสูงชันลูกเตี้ย ๆ จากบนวัด
สามารถชมวิวที่ราบลุ่มเมืองปายที่สวยงามได้
จากปากทาง เส้นทางจะนำต่อเข้าสู่หมู่บ้านแม่ฮี้
แต่มีทางแยกจะเข้าหรือไม่เข้าหมู่บ้านก็ได้ เพราะทางจะไป บรรจบกันเอง จากหมู่บ้าน
เส้นทางยังคงเป็นทางลาดยาง ผ่านท้องทุ่งไร่นาที่สวยงาม จนกระทั่งไปพบหมู่บ้านอีก
แห่งหนึ่ง คือหมู่บ้านโป่งไหม้ ที่แห่งนี้มีช้างให้ขี่ท่องเที่ยวในป่า
ถ้ามีเวลาจะลองไปขี่ช้างดูก็จะดีไม่น้อย เป็นเส้น ทางที่สวยงามมาก
ราคาขี่ช้างจะคิดเพียงแค่ 200 บาทเท่านั้น
จากที่ขึ้นช้างกลางหมู่บ้านอีกหน่อยเดียวก็ถึงปาก ทางเข้าน้ำพุร้อนท่าปาย
มีป้ายบอกทางชัดเจน
น้ำพุร้อนท่าปาย เป็นบ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติจำนวน 3-5 บ่อ โดยบ่อใหญ่เป็นสามบ่อติดกัน
พื้นที่บริเวณนี้ได้รับ การประกาศให้เป็นเขตวนอุทยาน สภาพธรรมชาติโดยรอบสวยงามมาก
มีที่อาบน้ำแร่เล็ก ๆ ที่ถูกสุขลักษณะ แยก ห้องหญิงชาย
นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการได้โดยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของวนอุทยานฯ
เมื่อขี่จักรยานไปถึงที่นี่ แล้วจะแวะอาบน้ำแร่หรือใช้เป็นที่พักผ่อนปิคนิค
รับประทานอาหารกลางวันด้วยก็ดี
สถานที่พัก
อ.ปาย
มีที่พักประเภทเกสท์เฮาส์มากมาย หลายระดับราคาให้เลือก
ลักษณะเป็นบ้านไม้ดูเข้ากับสภาพ ธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
และยังมีบริการให้เช่าจักรยานคิดเป็นรายวันอีกด้วย
เส้นทางขี่จักรยานที่น่าสนใจอื่น ๆ ในเขต อ.ปาย
ปาย-น้ำตกหมอแปง 7 กิโลเมตร
ปาย-น้ำตกแม่เย็น 10 กิโลเมตร
ปาย-น้ำตกม่วงสร้อย 8 กิโลเมตร
ปาย-น้ำตกแพมกลาง 9 กิโลเมตร
ปาย-ลีซอปางแปก 15 กิโลเมตร
ปาย-ลีซอไทรงาม 11 กิโลเมตร
เส้นทางแม่ฮ่องสอน-ในสอย
เป็นเส้นทางหลายลักษณะ ทั้งทางถนนลาดยาง ทางดินลูกรัง ทางขึ้นเขาลงเขาและทางลุยน้ำ
การเดินทางควร จะเริ่มต้นออกจากเมืองแม่ฮ่องสอนในตอนเช้าไปชมวัดไทยใหญ่ในเมือง
อาจเริ่มจากวัดหัวเวียง แวะนมัสการพระ เจ้าพาราละแข่งเพื่อเป็นสิริมงคล
จากนั้นแวะไปนมัสการพระธาตุจองคำ ที่วัดจองคำ วัดจองกลาง แล้วเลี้ยวขึ้นไป
จนถึงยอดดอยกองมู แวะนมัสการพระธาตุดอยกองมู แล้วจึงเริ่มต้นออกจากเมือง
โดยใช้เส้นทางสายแม่ฮ่องสอน-ปาย เส้นทางนี้เป็นเส้นทางหลวง
มีรถยนต์วิ่งร่วมเส้นทางด้วยจึงต้องขับขี่เสือภูเขาด้วยความระมัดระวัง
จากเมืองแม่ฮ่องสอนไป 2 กม. คือ บ้านทุ่งกองมู ปากทางเข้าหมู่บ้านอยู่ด้านซ้าย
มีป้อมยามเป็นที่สังเกตุได้ พอ ถึงตรงนี้ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไป ขี่ต่อไปเรื่อย ๆ
ถึงทางแยกให้เลี้ยวเลาะเลียบไปตามลำน้ำปาย แล้วเส้นทางจะเปลี่ยนเป็น ทางดินลูกรัง
ลัดเลาะเข้าไปในสวนของหมู่บ้าน ไปจนถึงสะพานแขวน
เป็นจุดชมวิวแม่ปายที่สวยงามมากของเมือง แม่ฮ่องสอน
จากสะพานแขวน เส้นทางจะตัดผ่านไปยังหมู่บ้านสบสอย และขึ้นสู่เส้นทางลาดยาง
จากที่ตรงนี้เลี้ยวซ้าย ตรง ต่อไปหรือจะเลี้ยวขวาเข้าไปชมหมู่บ้านสบสอยก่อนก็ได้
จากนั้นเส้นทางลาดยางก็จะนำขึ้นเขาลงเขา สภาพสองข้าง ทางเป็นทุ่งนา
กว้างใหญ่สลับกับขั้นบันได
หมู่บ้านต่อไปคือหมู่บ้านในสอยเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ และจากหมู่บ้านไป
เส้นทางจะเปลี่ยนเป็นทางลูกรังขึ้น เขาจนไปข้ามฝายเล็ก ๆ ที่กั้นลำห้วยในสอย ตรงนี้
ถ้าน้ำเยอะ ๆ อาจต้องแบกจักรยานข้ามกันไป จากนั้นเส้นทางจะ
ไปถึงทางแยกให้เลี้ยวขวาเข้าสู่หมู่บ้านปะด่อง หรือกะเหรี่ยงคอยาว
ก่อนเข้าสู่หมู่บ้านจะมีป้อมยามของทหารที่ ควบคุมอยู่
ควรจอดจักรยานไปแจ้งความประสงค์ให้เรียบร้อยเสียก่อน
จากเมืองแม่ฮ่องสอนตอนเช้ากว่าจะไปถึงหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวก็พอดีเที่ยง
ถ้ามีรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อไปด้วย นั้น หากออกจากเมืองแม่ฮ่องสอนพร้อม ๆ กัน
รถยนต์จะต้องอ้อมทางไป เพราะไม่สามารถแล่นตัดเส้นทางสายบ้าน ทุ่งกองมู-สบสอยได้
รถยนต์จะแล่นมาถึงหมู่บ้านในสอยก่อนประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้าจะให้ดีควรจะมอบหมายให้รถ
ยนต์แวะซื้อหาอาหารกลางวันห่อไปด้วย และน่าจะซื้อขนมอร่อย ๆ ในเมืองไปแจกเด็ก ๆ
ที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว ด้วย
ที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว คุณจะใช้เวลาสักกี่ชั่วโมงก็ได้
จากที่นี่ขากลับจะขี่จักรยานหรือจะขึ้นรถกลับก็ได้ ระยะทางโดยประมาณ 20 กม.
แม่ฮ่องสอน-บ้านทุ่งกองมู 3 กม. บ้านทุ่งกองมู-บ้านแม่สอย 3 กม.
บ้านสบสอย-บ้านในสอย 10 กม. บ้านในสอย-บ้านกะเหรี่ยงคอยาว 4 กม.
เส้นทางปาย-น้ำพุร้อนท่าปาย
เส้นทางจักรยานปาย-น้ำพุร้อนท่าปาย
เป็นเส้นทางจักรยานง่าย
ๆ สบาย ๆ
สำหรับการขี่จักรยานในเมืองปาย
ด้วยระยะทางเพียงไม่เกิน
10
กิโลเมตรการเดินทาง
ควรออกจากเมืองปายตอนเช้าเริ่มจากที่พัก
ตรวจสภาพจักรยานก่อนออกเดินทางให้เรียบร้อย
ตรวจสอบเส้นทางกับแผนที่
เริ่มเดินทางโดยขี่ไปที่สี่แยกกลางเมือง
เลี้ยวซ้ายผ่านหน้าโรงเรียนปายวิทยาคาม
ข้าม
สะพานข้ามแม่น้ำปาย
จะแวะชมแม่น้ำปายซักพักก็ได้
จากสะพานไป
เส้นทางเริ่มขึ้นเนินชันไปเรื่อย
ๆ
แต่ถนนยังคง
เป็นถนนคอนกรีตอย่างดี
ขี่ต่อไปอีกนิดจะพบทางแยกขึ้นอ่างเก็บน้ำแม่เย็น
เส้นทางตรงนี้ไปจะมองเห็นทุ่งนาขั้นบัน
ไดเป็นฉากหลังสวยงามมาก
จากปากทาง
เส้นทางจะนำต่อเข้าสู่หมู่บ้านแม่ฮี้
แต่มีทางแยกจะเข้าหรือไม่เข้าหมู่บ้านก็ได้
เพราะทางจะไป
บรรจบกันเอง
จากหมู่บ้าน
เส้นทางยังคงเป็นทางลาดยาง
ผ่านท้องทุ่งไร่นาที่สวยงาม
จนกระทั่งไปพบหมู่บ้านอีก
แห่งหนึ่ง
คือหมู่บ้านโป่งไหม้
ที่แห่งนี้มีช้างให้ขี่ท่องเที่ยวในป่า
ถ้ามีเวลาจะลองไปขี่ช้างดูก็จะดีไม่น้อย
เป็นเส้น
ทางที่สวยงามมาก
ราคาขี่ช้างจะคิดเพียงแค่
200
บาทเท่านั้น
จากที่ขึ้นช้างกลางหมู่บ้านอีกหน่อยเดียวก็ถึงปาก
ทางเข้าน้ำพุร้อนท่าปาย
มีป้ายบอกทางชัดเจน
น้ำพุร้อนท่าปาย
เป็นบ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติจำนวน
3-5 บ่อ
โดยบ่อใหญ่เป็นสามบ่อติดกัน
พื้นที่บริเวณนี้ได้รับ
การประกาศให้เป็นเขตวนอุทยาน
สภาพธรรมชาติโดยรอบสวยงามมาก
มีที่อาบน้ำแร่เล็ก
ๆ
ที่ถูกสุขลักษณะ
แยก
ห้องหญิงชาย
นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการได้โดยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของวนอุทยานฯ
เมื่อขี่จักรยานไปถึงที่นี่
แล้วจะแวะอาบน้ำแร่หรือใช้เป็นที่พักผ่อนปิคนิค
รับประทานอาหารกลางวันด้วยก็ดี
สถานที่พัก
อ.ปาย ยังมีบริการให้เช่าจักรยานคิดเป็นรายวันอีกด้วย
|