ลอยกระทง
เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ
งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11
ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก
น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ
ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง
ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน
เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง |
|
การลอยกระทงตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ
สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว
และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล
ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า
"แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า
โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ
ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย
เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที
ตราบเท่ากัลปาวสาน"
ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์
มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม
ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์
ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า
"ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ
แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง
พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน
และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่
ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง
8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก
ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4
บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด
คนทำก็นับร้อย
คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง
เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง"
ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง
มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด
ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ
โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่
กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง
และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย
ส่วนการลอยโคม
ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน
ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ
ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ
ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุดที่ปากโคม
ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว
เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคมบนท้องฟ้า
พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว
เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า
พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม
ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม
คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม
ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา
ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ
หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย
“Loi Krathong”
is
traditionally performed on the full moon night of
the twelfth lunar month, which usually falls on some
day in November. The floating of a ‘Krathong’ – a
banana–leaf cup – is intended to float away ill
fortune as well as to express apologies to Khongkha
or Ganga, the River Goddess. Some believe that the
ritual is meant to worship the Buddha’s footprint on
the bank of the Narmada River, while others say that
it is to pay respect to Phra Uppakhut, one of the
Lord Buddha’s great disciples.
The Loi
Krathong Festival is celebrated nationwide in
Thailand, especially where there are rivers, canals
or sources of water, with different unique
characteristics.
This year,
the Tourism Authority of Thailand (TAT) has joint
with Educational Institution and Thai Baot
Association to present the Electric Float Procession
from Taksin Bridge to Rama VIII Bridge and the 12
lighten up buildings and historical sites along Chao
Praya River during Loi Krathong Festival.
|
As for the public, people usually make
banana-leaf cups to float them onto the
river although there exist some uniquely
different aspects in certain communities.
For example, the
Yi Peng Festival
in Chiang Mai, during which balloon-like
‘Khom Loi’ lanterns including the ‘Khom Fai’
– a fire lantern – and ‘Khom Khwan’ – a
smoke lantern – are flown into the sky as a
symbol of worship to Phrathat Chulamani in
heaven. Making a Khom Loi will need a lot of
artistic skills as well as scientific
techniques, just like the ones used in
making a balloon. Tracing paper or Sa paper
is used to make air bags of various shapes.
It is believed that flying a Khom Loi is
like flying grief and ill fortune away from
ourselves or our home. |
In Tak province, the
Loi Krathong Sai Festival
is celebrated, which reflects the unity of the local
people. Groups of people gather at the river banks,
each bringing along thousands of Krathong made from
coconut shells with dried wicks made from coconut
flesh anointed with oil or ash for their inflammable
as well as durable quality. There, they sing and
dance with merriment.
The span of the Ping River that passes by the
provincial city of Tak is not deeper than one’s
waist, with underwater sand bars curving into
different shapes, forcing the current to meander.
When the lit Krathongs are floated onto the right
current, one after another, they would meander along
and make a beautiful and twinkling curving line, or
Sai in Thai, amid the darkness of the night.
The famous
Loi Krathong and Candle Festival
in Sukhothai province features a procession
of offerings, including Phanom Mak – the
betel offering – and Phanom Dok Mai – the
floral offering – carried by beautiful
girls, as well as banana-leaf floats
accompanied by the so-called Nang Nopphamat
beauty queens. |
|
The Phanom Mak and Phanom Dok Mai offerings are for
the homage paying rite at King Ramkhamhaeng the
Great’s monument in the heart of the ancient city of
Sukhothai. After that, people as well as visitors
gather and float the Krathongs together on ponds,
known as Traphang, inside the ancient city. The
bright candle light from the floated Krathongs and
the cool breeze of November together lends a
pleasant atmosphere for all participants.
Besides the well-known Loi Krathong Festival, there
is another tradition that is based on a similar
belief but is celebrated on the full moon night of
the eleventh lunar month. Known as the
Illuminated
Boat Procession,
the celebration takes place in the Northeastern
provinces of Thailand that is located on the Mekong
River. Illuminated boats of approximately 10 – 12
metres long are made from banana stalks or bamboo by
villagers. The boats contain sweets, the so-called
Khao Tom Mat – stuffed fried sticky rice – and
objects to be donated inside, while decorated with
flowers, incense sticks, candles, lamps and tinder
outside. At present, the boats are created into
various shapes such as important places or mythical
creatures, which lend a bright and breathtaking
sight when the boats illuminated by thousands of
lamps are floated onto the river.
"ประเพณีลอยกระทง"
ตรงกับ วันเพ็ญ (วันขึ้น 15 ค่ำ) เดือน 12 (ตามปฏิทินทางจันทรคติ)
ซึ่งอยู่ประมาณเดือนพฤศจิกายน
ประเพณีนี้กระทำขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ และขอขมาพระแม่คงคา
แต่ในบางที่เชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท
ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที บ้างก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์
หรือพระมหาสาวก ในประเทศไทยมีการจัด
ประเพณีลอยกระทงทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ
ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
สำหรับในปีนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาและสมาคมเรือไทยจัดขบวนเรือประดับไฟฟ้าและทำการประดับตกแต่งไฟ
ณ อาคารโบราณสถาน ริมแม่นำเจ้าพระยา รวม 12
แห่งเพื่อเป็นการสร้างสีสันให้กับสายน้ำในช่วงลอยกระทง
ในส่วนของกรุงเทพมหานคร (กทม.)
ได้จัดกิจกรรมจำลองบรรยากาศพระราชพิธีจองเปรียง สดชุด และลอยโคม
ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่มีการถือปฏิบัติ
มาตั้งแต่ช่วงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ โดยพระมหากษัตริย์เสด็จทอด (ลอย)
เรือพระที่นั่งจำลองขนาดเล็ก ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นสำหรับใช้ใส่ตะครันเทียน
เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นจะมีการจุดดอกไม้ไฟประเภทต่าง ๆ
ทั้งบนฝั่งและในน้ำ นอกจากนี้ยังมีการแสดงทางวัฒนธรรม
การประกวดนางนพมาศ การประกวดหนูน้อยนพมาศ
|
|
กรุงเทพมหานคร
|
เทศกาลสีสันแห่งสายน้ำมหกรรมลอยกระทง
วันที่ 24 พ.ย. 2555 - 28 พ.ย. 2555
สถานที่
เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ ,
บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา
ตั้งแต่สะพานพระพุทธยอดฟ้า ถึงสะพานกรุงธน
กิจกรรมภายในงาน
กิจกรรม Hi-light ในวันพิธีเปิด วันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ชมขบวนเรือประดับไฟฟ้า
การจุดพลุประกอบแสงเสียงสื่อผสม
การประดับไฟเคลื่อนไหว
บริเวณสะพานพระพุทธยอดฟ้า
สะพานพระราม 8 สะพานพระปิ่นเกล้า
และการประดับตกแต่งไฟ
ส่องสว่าง ๒ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
กิจกรรมส่งเสริมร่วมบรรยากาศประเพณีลอยกระทง
การแสดงทางวัฒนธรรมและการแสดงร่วมสมัย ได้แก่
การแสดงนาฏยกรรมแสงเงา คณะ “คิดบวกสิปป์”
การร้องเพลงประสานเสียงจากวง “สวนพลู”
การแสดงกลองร่วมสมัยจากคณะ “องศาศิลป์”
โดยคุณตั๊ก นภัสกร มิตรเอม เป็นต้น
ติดต่อ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โทร.1672 |
|
|
|
|
|
แนะนำ ที่พัก ริมแม่น้ำเจ้าพระเจ้าพระยา กรุงเทพ
.......................................................
สุโขทัย
"ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ"
เป็นประเพณีบูชาด้วยประทีปที่มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
ตามที่ปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึกพ่อขุนราม คำแหงหลักที่ 1
มีข้อความกล่าวถึง การเผาเทียน เล่นไฟ
ว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดของอาณาจักรสุโขทัย เมื่อกว่า 700
ปีก่อน ซึ่งได้คลี่คลายมาเป็นประเพณีลอยกระทง เผาเทียน
เล่นไฟในปัจจุบัน โดยมีการแสดงแสง-เสียง จำลองบรรยากาศงานเผาเทียน
เล่นไฟสมัยสุโขทัย ให้ผู้คนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศได้ชื่นชม
ททท.
เชิญร่วมงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ณ
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จ.สุโขทัย
วันที่ 26 พ.ย. 2555 - 28
พ.ย. 2555
สถานที่ ณ
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมือง จังหวัดสุโขทัย
รายละเอียด
พิธีรับรุ่งอรุณแห่งความสุข การประกวดนางนพมาศ โคมชักโคมแขวน การแสดงพลุ ตะไล ไฟพะเนียง
การแสดงแสง เสียงศิลปวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดสุโขทัย
การจัดกิจกรรมชุมชนโบราณ ตลาดโบราณ การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงทางวัฒนธรรมไทย
กิจกรรมขบวนเรือในตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กิจกรรมขวัญข้าว
วันเล่นไฟ การจำลองวิถีชีวิตสมัยสุโขทัย การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งและหางเครื่อง
การแสดงและจัดจำหน่ายสินค้าสหกรณ์และ OTOP
กำหนดการ งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี ๒๕๕๕ ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ททท. ภาคเหนือเขต 3 ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว
ร่วมงานประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย “ประเพณีลอยกระทง
เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย”
ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
เพื่อสงเสริมการเดินทางท่องเที่ยว
และอนุรักษ์ไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของไทย
และในปีมหามงคลที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา
|
|
ท่านจะได้พบกับบรรยากาศแบบสุโขทัยโบราณ โดยเน้นความขลึมขลัง
ใช้แสงสว่างภายในงานจากการจุดตะเกียง และโคมปักบนกระบอกไม้ไผ่
เท่านั้น สมกับที่มีการกล่าวไว้ในจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 2
บรรทัดที่ 28-23 ว่า “เสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ
ใครจักมักเลื้อน ใครจักมักหัว เมืองสุโขทัยนี้มี 4 ปากประตูหลวง
เที้ยรคนย่อมเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียน ท่านเล่นไฟ
เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก”
รวมถึงกิจกรรมและการแสดงมากมาย อาทิ
ขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน
กิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข การประกวดโคมชัก-โคมแขวน
การแสดงแสงสีเสียงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุโขทัย
ต้นกำเนิดประเพณีการลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ กิจกรรมการเผาเทียน
เล่นไฟ หรือดอกไม้ไฟนานาชนิดหลายรูปแบบ
ซึ่งจัดอย่างยิ่งใหญ่อลังการ ในปีนี้ผู้เข้าร่วมเดินขบวน
เจ้าหน้าที่ และพ่อค้าแม่ค้า
จะแต่งตัวด้วยชุดแต่งกายแบบสุโขทัยโบราณ
และขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวแต่งกายชุดไทยเข้าร่วมงาน
เพื่อให้ได้บรรยากาศแบบสุโขทัยโบราณ “งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน
เล่นไฟ” มีกำหนดจัดงาน ในระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายน 2550 ณ
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสอง ในวันที่
24 พฤศจิกายน 2550 ตามประเพณี
|
|
|
ส่วนงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ
จังหวัดสุโขทัย จัดให้มีขบวนแห่พนมหมาก พนมดอกไม้
ขบวนแห่กระทง และมีขบวนต่างๆ โดยมีนางนพมาศนั่งมากับกระทง และมีสาวๆ
ที่ถือพนมหมาก พนมดอกไม้ นั่งร่วมอยู่ด้วย พนมหมาก
และพนมดอกไม้นี้นำไปสักการะพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ
อนุสาวรีย์ของพระองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในใจกลางเมืองเก่าสุโขทัย
เมื่อการบวงสรวงพ่อขุนเสร็จแล้ว
ผู้คนและนักท่องเที่ยวจะทยอยเข้ามาในเขตเมืองเก่า
แล้วการลอยกระทงตามตระพังต่างๆ ก็เริ่มขึ้น
แสงไฟจากการลอยกระทงก็จะสว่างไสวท่ามกลางบรรยากาศเย็นสบาย
จึงเป็นที่พึงใจแก่ผู้เข้าร่วมงานอย่างยิ่ง |
|
ส่วนงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ
จังหวัดสุโขทัย จัดให้มีขบวนแห่พนมหมาก พนมดอกไม้
ขบวนแห่กระทง และมีขบวนต่างๆ โดยมีนางนพมาศนั่งมากับกระทง และมีสาวๆ
ที่ถือพนมหมาก พนมดอกไม้ นั่งร่วมอยู่ด้วย พนมหมาก
และพนมดอกไม้นี้นำไปสักการะพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ
อนุสาวรีย์ของพระองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในใจกลางเมืองเก่าสุโขทัย
เมื่อการบวงสรวงพ่อขุนเสร็จแล้ว
ผู้คนและนักท่องเที่ยวจะทยอยเข้ามาในเขตเมืองเก่า
แล้วการลอยกระทงตามตระพังต่างๆ ก็เริ่มขึ้น
แสงไฟจากการลอยกระทงก็จะสว่างไสวท่ามกลางบรรยากาศเย็นสบาย
จึงเป็นที่พึงใจแก่ผู้เข้าร่วมงานอย่างยิ่ง
นอกจากประเพณีที่รู้จักกันในชื่อของประเพณีลอยกระทงแล้ว
ในภาคอีสานของไทย โดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง
ยังมีการจัดงานประเพณีที่สืบเนื่องมาจากความเขื่อเดียวกันนี้
แต่จัดในช่วงวันเพ็ญ (15 ค่ำ) เดือน 11 เรียกกันว่า
ประเพณีไหลเรือไฟ
โดยหมู่บ้านต่าง ๆ จะแข่งกันทำเรือไฟ
ซึ่งทำด้วยท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 10 – 12 เมตร
ภายในเรือบรรจุขนม ข้าวต้มมัด หรือสิ่งของที่ต้องการบริจาคทาน
ด้านนอกเรือประดับด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้
ซึ่งในปัจจุบันมีการประดิษฐ์เรือไฟเป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปสถานที่สำคัญ
หรือสัตว์ในหิมพานต์ เมื่อถึงช่วงเวลาปล่อยเรือไฟลงในแม่น้ำ
ท้องน้ำจึงสวยงามสว่างไสวด้วยแสงตะเกียงนับหมื่น ๆ ดวง
นับเป็นภาพที่ประทับใจอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีโอกาสได้เห็น
แนะนำ ที่พักสุโขทัย
.......................................................
เชียงใหม่
"ประเพณียี่เป็ง"
เป็นงานประเพณี อันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา
ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล "ยี่เป็ง"
หรือวันเพ็ญเดือนยี่ของชาวล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ของภาคกลาง
อันเป็นช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว อากาศปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส
ธรรมเนียมปฎิบัติของชาวล้านนาอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำก็คือ
การจุดประทีปโคมลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีคติความเชื่อว่า
เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬ ามณี บนสรวงสวรรค์
หรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ หรือสะเดาะเคราะห์
ให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ขอเชิญชวนท่านมาย้อนเวลาสัมผัสมนต์เสน่ห์เมืองเหนือล้านนาในอดีต
ในงานเทศกาลยี่เป็ง หอมฮีต ฮอยลอยกระทง
ที่มีการจัดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมแบบพื้นเมืองของชาวเหนือที่หลากหลาย
และทรงคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เช่น กิจกรรมการแสดง
"มหกรรมคีตล้านนา..สู่สากล" และ กิจกรรมการสาธิต
"ลอยกระทงย้อนเวลา..หาวิถีล้านนาไทย"
งานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่
วันที่ 27 พ.ย. 2555 - 29
พ.ย. 2555
สถานที่
ถนนช้างคลาน ย่านไนท์บาซาร์ อำเภอเมือง,อำเภอแม่โจ้
จังหวัดเชียงใหม่
กิจกรรมภายในงาน
๑
ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่
วันที่ ๒๗-๒๙ พ.ย. ๒๕๕๕
วันที่ ๒๗ พ.ย. ๒๕๕๕
ขบวนแห่โคมยี่เป็งจากข่วงประตูท่าแพ-ถนนท่าแพ-ถนนช้างคลาน
วันที่ ๒๘ พ.ย. ๒๕๕๕
ขบวนแห่กระทงเล็ก (กระทงลอยน้ำ)
จากข่วงประตูท่าแพถึงเทศบาลนครเชียงใหม่ (เจดีย์ขาว)
วันที่ ๒๙ พ.ย. ๒๕๕๕
ขบวนแห่กระทงใหญ่ จากข่วงประตูท่าแพถึงเทศบาลนครเชียงใหม่
(เจดีย์ขาว)
๒. งานบุญกฐินล้านนา วันที่ ๒๔ พ.ย. ๒๕๕๕ ณ
ธุดงคสถานล้านนา อ.สันทราย
จ.เชียงใหม่ เวลา ๑๗.๐๐-๒๐.๓๐ น. กิจกรรมประกอบด้วย
การปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ
และปล่อยโคมถวายเป็นพุทธบูชา ณ ธุดงคสถานล้านนา
ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ธุดงคสถานล้านนา โทร. ๐ ๕๓๓๕ ๓๑๗๔
๓. Yee Peng
International
(กิจกรรมปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ
และปล่อยโคมถวายเป็นพุทธบูชา ณ ธุดงคสถานล้านนา วันที่ ๓๐ พ.ย.
๒๕๕๕ ณ ธุดงคสถาล้านนา ค่าลงทะเบียน ๘๐ USD (ราคาพิเศษ ๖๕ USD
สำหรับผู้ที่สมัครภายในวันที่
๓๐ ก.ย. นี้) ลงทะเบียนได้ที่ www.yeepenglanna.net
มีบริการรถรับส่ง
อาหารขันโตก ของที่ระลึก และการปล่อยโคมถวายเป็นพุทธบูชา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ธุดงคสถานล้านนา โทร. ๐ ๕๓๓๕ ๓๑๗๔
ติดต่อ
ททท. สำนักงานเชียงใหม่ โทร. ๐ ๕๓๒๕
๙๓๖๕, ๐ ๕๓๒๕ ๒๕๕๗ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โทร. ๑๖๗๒ |
การประกวดกระทงฝีมือ ขบวนแห่เทศกาลโคมยี่เป็ง
การประกวดเทพียี่เป็งและเทพีน้อยลอยสักการ การแสดง แสง สี เสียง กลางนํ้า
แข่งขันถ่อแพ/ดำนํ้า/พายกาละมัง การประกวดดอกไม้ไฟประเภทสวยงาม
พิธีบวงสรวงเจดีย์ขาว ขอขมาแม่น้ำปิง การประกวดแข่งขันโคมลอย
การประกวดกระทงเล็ก การประกวดซุ้มประตูป่า การแสดงจุดพลุไฟ
การประกวดกระทงลอยนํ้า
โรงแรมเชียงใหม่
.......................................................
ตาก
"ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง"
เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวจังหวัดตาก มีเอกลักษณ์เฉพาะ
แตกต่างจากที่อื่น ๆ คือ
การใช้กะลามะพร้าวเป็นองค์ประกอบหลักของกระทง
ด้วยเหตุที่ชาวจังหวัดตากนิยมประทาน "เมี่ยง" เป็นอาหารว่าง
และผลิตเป็นสินค้าพื้นเมืองที่สำคัญ
ทำให้ต้องใช้เนื้อมะพร้าวเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นไส้เมี่ยง
และมีกะลาเป็นส่วนที่เหลือใช้ ครั้นเมื่อถึงเทศกาลลอยกระทง
ชาวบ้านก็จะนำกะลามะพร้าวมาประดิษฐ์เป็นกระทง
แล้วจุดไฟปล่อยให้ ลอยไหลเป็นสายไปตามความคดโค้งของร่องน้ำปิง
กลายเป็นสายประทีปนับพันดวงทอดยาวไปในลำน้ำ
นับเป็นภาพตระการตาหาชมได้ยากยิ่ง
|
|
|
|
ประเพณีบูชาสายน้ำในประเพณีลอยกระทงของชุมชนลุ่มน้ำปิง - วัง
แห่งเมืองตาก ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างจากท้องถิ่นอื่นๆ
และเป็นที่รู้จักกันดีในนาม
"ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง" นั้น
วันที่ 24
- 29
พ.ย. 2555
สถานที่จัดงาน
บริเวณริมสายธารลานกระทงสายเชิงสะพานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์
200 ปี
กิจกรรม
- ชมการลอยประทีป ๑๐๐๐ ดวง ชมกระทงนำ
กระทงกะลา กระทงปิดท้าย
ของกระทงทุกสายที่ส่งเข้าประกวด
- การแข่งขันศิลปหัตถกรรม ณ อาคาหอกิตติคุณ
- ชมสินค้า “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์”
- การแข่งขันการลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง
ชิงถ้วยพระราชทาน
- การแข่งขันการลอยกระทงสายของชุมชนต่างๆ
และการแสดงบนเวที
ติดต่อ
ททท. สำนักงานตาก โทร. ๐ ๕๕๕๑ ๔๓๔๑-๓
และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โทร. ๑๖๗๒
แนะนำ ที่พัก ตาก |
|
.......................................................
พระนครศรีอยุธยา
ลอยกระทงตามประทีป (ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ)
ในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุว่ามี
"พระราชพิธีชักโคม ลอยพระประทีป"
ซึ่งได้ว่างเว้นไปในคราวเสียกรุง เหลือแต่เพียงประเพณีของราษฎร
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการรื้อฟื้น และจำลองพระราชพิธีดังกล่าว
เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับบรรยากาศของราชสำนัก
ซึ่งนับเป็นงานลอยกระทงที่ยิ่งใหญ่งานหนึ่งของประเทศ
ประเพณีลอยกระทงตามประทีป ศูนย์ศิลปชีพบางไทร
วันที่ 24 พ.ย. 2555 - 28
พ.ย. 2555
สถานที่จัดงาน ณ
ศูนย์ศิลปชีพบางไทร ต.ช้างใหญ่ จ. พระนครศรีอยุธยา
กิจกรรม
การประกวดกระทงและนางนพมาศ/หนูน้อยนพมาศ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
ตลอดจนเพลิดเพลินใจไปกับการแสดงศิลปวัฒนธรรม
และร่วมย้อนยุคไปกับบทเพลงสุนทราภรณ์ในบรรยากาศริมฝั่ง
แม่น้ำเจ้าพระยา อิ่มอร่อยกับอาหารเลิศรส
เลือกซื้อสินค้าหัตถกรรมจากฝีมือ
ช่างในศูนย์ศิลปาชีพฯ ชมการจุดพลุ การปล่อยโคม และกิจกรรมอื่นๆ
อีกมากมาย
Loi Krathong Festival at Bangsai Royal Arts and Crafts Center
Come and join us at Bangsai Royal Arts and Crafts Center from
November 23-24,2007 and enjoy the dalightful and historic events
arranged for the Loi Krathong Tam Pratheep Festival. You'll be awed
by the light and sound of the launching of traditional kathongs, a
perfoemance that recalls tha ancient Ayuttaya Era. Enjoy the Miss
Noppamas Contests and concerts by famous singers and bands, and be
sure to visit the local and Bangsai Royal Arts and Cratfs products
fairs.
ติดต่อ
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ , ททท.
สำนักงานพระนครศรีอยุธยา โทร. ๐ ๓๕๒๔ ๖๐๗๖-๗
และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โทร. ๑๖๗๒
ลอยกระทงสี่มุมเมือง พระนครศรีอยุธยา
วันที่ 24 พ.ย. 2555
สถานที่จัดงาน ณ
บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา บริเวณ4มุมเมืองได้แก่
โบราณสถานป้อมเพชร หน้าพระราชวังจันทรเกษม เชิงสะพานปรีดีธำรง
และเจดีย์ศรีสุริโยทัย
กิจกรรม
ลอยกระทง 4มุมเมืองที่ พระนครศรีอยุธยา
เทศกาลพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
จัดงาน"ประเพณีกระทงกรุงเก่าประจำปี 2555"
ในวันที่ 24 พย 2555 ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
บริเวณ4มุมเมืองได้แก่ โบราณสถานป้อมเพชร หน้าพระราชวังจันทรเกษม
เชิงสะพานปรีดีธำรง และเจดีย์ศรีสุริโยทัย
โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆมากมาย อาทิ ชมการประกวดนางนพมาศ
หนูน้อยนพมาศ นางนพมาศช้างและนางนพมาศนานาชาติ
การแสดงดนตรีต่างๆและการละเล่นของเด็กไทย การประกวดขบวนแห่กระทง
ทหรสพและ ไปร่วมสัมผัสประสบการณ์ใหม่ในพิธีอาบเพ็ญในช่วงเที่ยงคืน
เป็นต้น
Loi Krathong in Phra Nakhon Si Ayuttaya
In addition to the main event held at Phra Nakhon Si Ayuttaya, the
World Heritage Site on November 24,2007 there are many other
magnificent Loi Krathong activities arranged at four main locations
across the city including Phom Phet ( Phet Fortress), Pridi Thamrong
Bride, Chantharakasem Palace and at the Queen Si Suriyothai
Memorial. Join us and enjoy fun-filled activities, including: a Miss
Noppamas Contest, a Jurnior Noppamas Contest, an International
Noppamas Contest, bigband concert,folk and string band performances,
krathong parade, fireworks, etc .
ติดต่อ
เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 035-252-168
....................................................... |
|